ความแข็งแรงของวัสดุ 1

Strength of Materials 1

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของแรงและความเค้นความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด ความเค้นในคาน แรงเฉือนและโมเมนต์ดัด การโก่งตัวของคานโดยวิธีการรวมผลและวิธีการอินติเกรตสองชั้น แรงบิด หน่วยความเค้นประสม เห็นคุณค่าของวิชาความแข็งแรงของวัสดุเพื่อประยุกต์กับการทํางานจริงได
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเป็นการเตรียมความพร้อมในการนําความรู้ความเข้าใจในกําลังของวัสดุและโครงสร้าง เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของแรงและความเค้น ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด ความเค้นในคาน แรงเฉือนและโมเมนต์ดัด การโก่งตัวของคานโดยวิธีการรวมผลและวิธีการอินติเกรตสองชั้น แรงบิด หน่วยความเค้นประสม
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียน - นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียน นอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.1.3 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกรดังนี้ 1.1.5.1 ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ 1.1.5.2 ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ
1.1.5.3 ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 1.1.5.4 ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน 1.1.5.5 ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง 1.1.5.6 ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง 1.1.5.7 ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ 1.1.5.8 ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร 1.1.5.9 ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง 1.1.5.10 ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง 1.1.5.11 ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น 1.1.5.12 ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว 1.1.5.13 ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว 1.1.5.14 ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น 1.1.5.15 ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
 
1.2.1 ลงชื่อเข้าเรียนทุกครั้ง 1.2.2 แจ้งกติกา ข้อตกลง มารยาทในการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก 1.2.3 มอบหมายเอกสารอ่านประกอบ ภาพ วีดีทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนเพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์ 1.2.4 มอบหมายแบบฝึกหัด รายงาน กำหนดวันส่ง การนำเสนอผลงาน ติดตามผล 1.2.5 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การกระทำผิดจรรยาบรรณวิศวกร อภิปรายกลุ่ม
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
สามารถเข้าใจพฤติกรรมการโก่งเดาะของเสา เกณฑ์การวิบัติของวัสดุ สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียดและประยุกต์การใช้ทฤษฎีพลังงานความเครียด และคำนวณการดัดของคานหน้าตัดไม่สมมาตร เห็นคุณค่าของวิชาความแข็งแรงของวัสดุเพื่อประยุกต์กับการทำงานจริงได้
บรรยาย อภิปราย การวิเคราะห์กรณีศึกษา และนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2 ประเมินจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโจทย์ ปัญหาที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2 อภิปรายกลุ่ม 3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา การวิเคราะห์กำลังของโครงสร้างและวัสดุ 3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติกรรม
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวัดผลตามจุดประสงค์การสอน 3.3.2 วัดผลจากการประเมินการวิเคราะห์กรณีศึกษา 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคล เช่น การใช้ทฤษฎีที่เรียนมาแก้ปัญหาโจทย์ที่นักศึกษาสนใจต้องการทราบคำตอบ และมีวิธีตรวจสอบความถูกต้อง
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการค้นคว้า หาข้อมูล คิดคำนวณ เชิงตัวเลข 5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการโจทย์ปัญหา 5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Facebook การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา ChatRoom ทักษะในการแสดงความคิดเห็น และยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นทางสังคมออนไลน์ 5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทำแบบฝึกหัด และตรวจสอบความถูกต้อง 5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1.1 1.1.2 1.1.3 1.1.4 1.1.5 2.1 3.1 4.1.1 4.1.2 4.1.3 5.1.1 5.1.2 5.1.3 5.1.4 5.1.5 5.1.6
1 ENGCV101 ความแข็งแรงของวัสดุ 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 - 1.5, 2.1 - 3.5, 4.1 – 5.4, 6.1 – 7.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 17 10% 25% 10% 35%
2 1.1 – 7.3 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาค การศึกษา 10%
3 1.1 – 7.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาค การศึกษา 10%
รศ.ดร.เดช พุทธเจริญทอง (2541). กลศาสตร์ของแข็งชั้นสูง, บริษัทพิมพ์ดีจำกัด Andrew Pytel Ferdinand L.Singer (1987). Strength of Materials, 4 th ed.,Harper&Row, New York Arther P.Boresi, Richard J. Schmidt and Omar M. Sidebotton (1993). Advanced Mechanics of Materials, 5 th ed., John Wiley&Sons Ferdinand P.Beer, Russel E. Johnston (1992). Mechanics of Materials, 2 nd ed., McGraw-Hill Hibbeler R.C. (1997). Mechanics of Materials, 3 rd ed., Prentice Hall, New Jersey James M.Gere, Stephen P. Timoshenko. Mechanics of Materials, 4 th ed., PWS A. Pytel & F.L.Singer, Strength of Materials, 4th ed. J.M. Gere & S.P.Timoshenko, Mechanics of Materials
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดม สมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มา จากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ