การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

Soilless Culture

1. รู้ความหมาย ความสำคัญของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
2. รู้ลักษณะองค์ประกอบทางธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
3. เข้าใจ และปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินได้
4. เข้าใจและมีทักษะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพและอายุการเก็บเกี่ยวของพืชไม่ใช้ดิน
5. เข้าใจและมีทักษะการจัดการเพื่อการผลิตพืชโดยไม่ใช้ดินในเชิงธุรกิจ
6. เห็นความสำคัญของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
การวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการวิเคราะห์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความหมาย ประวัติ ความสำคัญการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน  ระบบการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช  สารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกพืช  การจัดการเพื่อการผลิตพืชโดยไม่ใช้ดิน   แนวคิดการผลิตพืชโดยไม่ใช้ดินในเชิงธุรกิจ 
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง โดยอาจารย์จะแจ้งวันเวลาให้นักศึกษาทราบ
1.1.1 มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ข้อ 1.1.3 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 1.1.1  1.1.2  และ 1.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง
- ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมีกิจกรรมนักศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
- ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
- เพิ่มการสอนนอกชั้นเรียนโดยให้ศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจและหาข้อมูลเชิงประจักษ์ของการดูแลรักษาเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชในทางการเกษตร รวมทั้งการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินตามความเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
- ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในสถานการณ์ที่สาขาวิชาฯและคณะจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาและการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์ โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
2.1.1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 2.1.1 และ 2.1.3 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 2.1.2 เป็นความรับผิดชอบรอง
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น รวมทั้งการสอนแบบ e-Learning และการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องเกี่ยวการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ที่ต้องสร้างความเข้าใจ เป็นต้น ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าวขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียนและการสอบวัดความรู้ โดยมีการสอบย่อย (Quiz) ตั้งคำถามปากเปล่า และสอบเป็นทางการ 2 ครั้ง (สอบกลางภาคและสอบปลายภาค)
- ทำรายงานรายบุคคลและหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- การทำรายงานกรณีศึกษาเกี่ยวกับการมาตรฐานพืชและนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นกลุ่ม
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
3.1.1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ข้อ 3.1.1 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 3.1.2 เป็นความรับผิดชอบรอง
-  ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
-ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
 
4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1.1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3. สามารถทางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ข้อ 4.1.4 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 4.1.1 4.1.2 และ 4.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
4.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 สลับหมุนเวียนนักศึกษาในกลุ่มเป็นหัวหน้ากลุ่ม และมอบหมายงานให้หัวหน้ากลุ่มเพื่อแบ่งงาน ควบคุม และติดตามผล จนกระทั่งผลงานบรรลุตามเป้าหมาย
4.3 วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- การสังเกตและประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายกลุ่ม ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินการทำงานร่วมกัน มารยาททางสังคมที่ดี การทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมโดยมีการบันทึกผลการประเมินของผู้เรียน
- การสังเกตและประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามของผู้เรียน
5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.1. สามารถเลือกใช้วิธีการ และเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 5.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 5.1.1 และ 5.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลรวมทั้งการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ให้นักศึกษาสืบค้นการข้อมูลและอุปกรณ์พื้นฐานการปลูกพืชไร้ดิน และ ระบบต่างๆของการปลูกพืชไม่ใช้ดินและส่งรายงานผลการค้นคว้า หรือการเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
- ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
 
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG134 การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 5.3 การทดสอบย่อย (Quiz) อย่างน้อย 5 ครั้ง 1-5 15
2 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 5.3 การสอบกลางภาค 8 25%
3 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 4.1 4.3 งานบทปฏิบัติงาน 4-16 20%
4 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 4.1 4.3 5.1 5.2 5.3 รายงานกลุ่มนำเสนอผลการทำบทปฏิบัติการ 16 5%
5 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 5.3 สอบปลายภาค 17 25%
6 1.3 4.1 4.2 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-15 5%
7 1.3 4.1 4.2 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความ 1-15 3%
8 3 4.1 4.2 4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 15 2%
ผักไฮโดรโพนิกส์. 2553. แนวทางการผลิตและลงทุนผักไฮโดรโพนิกส์เพื่อทำเงิน. สมนึก พุ่มไฉยา. บริษัทนาคา อินเตอร์มีเดีย จำกัด. 121 หน้า
จิระเดช แจ่มสว่าง. 2547. การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี. 2-7.อ้างใน คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 2547. เอกสารประกอบการฝึกอบรมการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการปลูกผักระบบไม่ใช้ดินและภายในโรงเรือน รุ่นที่ 1,13 กุมภาพันธ์ 2547. กรุงเทพมหานคร
ชมรมการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. 2547. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.kmitl.ac.th/hydro/index.html.
[25 สิงหาคม 2547].
ถวัลย์ พัฒนเสถียรพงศ์. 2534. ปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. กรุงเทพมหานคร : พรานนกการพิมพ์.
ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ และนายจุรงค์ จันทร์สี่ทิศ. 2544. “การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน”. KU Electronic Magazine. 2 (9)
เลิศฤทธิ์ ทรัพย์เฉลิม. 2546. การศึกษาการผลิตด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์เชิงการค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. ปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
ศุภชัย รตโนภาส. 2541. รายงานการวิจัย ศักยภาพการปลูกผักที่บริโภคสดในระบบไฮไดรโพนิกส์. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สุรพล มนัสเสรี. 2544. ปัญหาการวิจัย ศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของพืชผักและผลผลิตในระบบการปลูกแบบไร้ดินเปรียบเทียบกับการปลูกผักตามปกติเมื่อใช้วัสดุคลุมดิน. อ้างใน “พืชไฮโดรโพนิกส์” 2547. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.rb.ac.th/ org/research/rajabhat/riska/29104.htm. [2547, กรกฎาคม 25].
ไม่มี
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมใน และนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
มีการประเมินจากนักศึกษาโดยการผ่านทางฝ่ายวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ. กำหนดเมื่อสอนจบภาคการศึกษา นอกจากนี้สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  และมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของสาขาวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและ   กลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป