กลศาสตร์วัสดุ

Mechanics of Materials

เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจหลักการของแรงและความเค้น ความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครียด ความเค้นในคาน แผนภาพแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด การแอ่นของคาน การบิด การโก่งของเสา วงกลมของโมร์ ความเค้นผสม และหลักการการเสียหาย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ          ในหลักการเบื้องต้นของวิชากลศาสตร์วัสดุ  เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับแรงและความเค้น ความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครียด ความเค้นในคาน แผนภาพแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด การแอ่นของคาน การบิด การโก่งของเสา วงกลมของโมร์และความเค้นผสม หลักการการเสียหาย
Study of forces and stresses, relationship between stresses and strains, stresses in beams, shear force and bending moment diagrams, deflection of beams, torsion, buckling of columns, Mohr’s circle and combined stresses, failure criterion.
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ อย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดหรือได้ตกลงกันไว้ และ ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบ โดยเริ่มตั้งแต่การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การทางานกลุ่มและการส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยฯ
1.2.2 ปลูกฝังเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ ตลอดจนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบุคคล สังคม และสิ่งแวดล้อม หากกระทาการโดยขาดจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
1.3.1 การขานชื่อ  การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน 
1.3.2 การปฏิบัติงานที่มอบหมายตามกรอบเวลาที่กำหนด และการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.4 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายประกอบสื่อประสมเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญในทางทฤษฎีของรายวิชาสถิตยศาสตร์ ซึ่งจะมีการใช้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมพื้นฐาน
2.2.2 ฝึกใช้เครื่องมือและประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
2.2.3 ฝึกทำโจทย์ตัวอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับงานจริง และให้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
2.3.1 การทดสอบย่อย สอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากผลการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 กรณีศึกษาการประยุกต์ความรู้ด้านสถิตศาสตร์ในงานทางวิศวกรรมเครื่องกล
3.2.2 ให้นักศึกษาอภิปรายกลุ่ม หรือศึกษาค้นคว้า ตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3.1 การทดสอบย่อย สอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
3.3.2 ประเมินจากผลการอภิปรายกลุ่มศึกษาค้นคว้า ตามที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 ให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างกิจกรมมการเรียนการสอน
4.2.3 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และสามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้
4.3.1 ประเมินจากผลการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย           
4.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็น และการตอบคำถามระหว่างกิจกรรมการเรียน หรือการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.3 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 มอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติมด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ
5.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษา โดยใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม
5.3.1 ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 ENGME105 กลศาสตร์วัสดุ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ข้อที่ 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 2.1.4, 3.1.1, 3.1.2 และ 3.1.3 และ 5.5 1. ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 2. สอบกลางภาค 3. ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 4. สอบปลายภาค 1. ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 (ประเมินในสัปดาห์ที่ 4) 2. สอบกลางภาค (ประเมินในสัปดาห์ที่ 9) 3. ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 (ประเมินในสัปดาห์ที่ 12) 4. สอบปลายภาค (ประเมินในสัปดาห์ที่ 17) 1. ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 (15 %) 2. สอบกลางภาค (25 %) 3. ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 (15 %) 4. สอบปลายภาค (25 %)
2 ผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ข้อที่ 1.1.1, 2.1.3, 2.1.4, 3.1.3, 3.1.4, 4.1.1, 4.1.2, 5.1.1, 5.1.2 และ 5.1.3 . ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 ผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ข้อที่ 1.1.1 และ 1.1.2 1. ให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน 2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา 3. สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.   กลศาสตร์ของวัสดุ                             รศ.มนตรี  พิรุณเกษตร
2.   Mechanics of Materials                     S.P. Timoshenko and Jame M. Gere 
3.   Mechanics of Materials                     A.C. Ugural
4.   Strength of Materials                       Andrew Pytel  and Ferdinand L. Singer
5.   เอกสารประกอบการสอนวิชากลศาสตร์วัสดุ กุลทรัพย์  ผ่องศรีสุข
สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ วิชากลศาสตร์วัสดุ
ไม่มี
ประเมินจากผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ประเมินจากแบบประเมินผู้สอน แบบประเมินรายวิชา และการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ