การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง

Power System Protection

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายเกี่ยวกับหลักการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
    1.2 เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
    1.3 เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายคุณลักษณะของรีเลย์ป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
    1.4 เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายการแบ่งโซนการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
    1.5 เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายการประสานการทำงานของรีเลย์ป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
    1.6 เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายการป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า บัส หม้อแปลง
    1.7 เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายการป้องกันสายส่ง และสายป้อน
    1.8 เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายการใช้เทคโนโลยีในการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
    1.9 เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง  
เพื่อให้ นักศึกษา มีความรู้และมีทักษะ เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจ  และทักษะ การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย ประยุกต์ใช้งานในการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับสาเหตุและสถิติของการเกิดฟอลท์ หลักการของการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง เซอร์กิตอินเตอร์รับเตอร์  ตัดตอนอัตโนมัติ ฟิวส์ หม้อแปลงกระแสและหม้อแปลงแรงดัน หลักการ โครงสร้างและคุณลักษณะของรีเลย์ระบบป้องกัน รีเลย์กระแสเกินและแรงดันเกิน  รีเลย์ผลต่าง  รีเลย์รู้ทิศทาง  รีเลย์วัดระยะทาง การแบ่งโซนของระบบป้องกัน การประสานการทำงานของรีเลย์  การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ ไฟฟ้า บัส หม้อแปลง สายส่ง และสายป้อน  
1
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในและรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
    1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม.
˜ 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
™ 1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
    1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
มีการทำข้อตกลงและกฎเกณฑ์ในการแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การปฏิบัติตนในระหว่างการศึกษา การมอบหมายแบบฝึกหัด การศึกษาวิชาการและงานวิจัยในสื่อ Online พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน การศึกษากฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานและจรรยาบรรณที่สัมพันธ์กับรายละเอียดเนื้อหาที่สอนตามความที่จำเป็น การมอบหมายการทำงานเป็นกลุ่มในรูปแบบระดมความคิดหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อสร้างพื้นฐานนิสัยการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นๆ การสอดแทรกตัวอย่างประกอบในการนำเทคโนโลยีไปใช้ร่วมกับสังคมและศิลปวัฒนธรรม เช่น บ้าน วัด และสาธารณสถานต่างๆได้อย่างเหมาะสม
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมที่มอบหมาย
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ความตั้งใจและความสนใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
˜ 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
™ 2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
     2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสอนโดยการมอบหมายการศึกษาตัวอย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือสิ่งที่เรียน โดยให้ผู้เรียนทำการสรุปประเด็นสำคัญและนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน การเสนอแนวคิดในการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้กับสภาพแวดล้อมที่สมมติ/สภาพภูมิศาสตร์/สภาพแวดล้อมใกล้เคียง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากโครงการที่นาเสนอ
2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน และการตอบคำถาม
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กับนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังนี้
˜ 3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
™ 3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ใช้การสอนแบบมอบหมายงานศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้น พร้อมให้แสดงข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถาม การยกตัวอย่างข้อปัญหาและให้ประมวลความรู้ที่มีในการปรับใช้เพื่อการแก้ประเด็นปัญหา
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
3.3.2 การเรียบเรียงขั้นตอนและการเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่าง ๆ
3.3.3 การนำเสนอรายงานการค้นคว้า
3.3.4 การทดสอบ/การซักถามระหว่างเรียน/การซักถามระหว่างการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน การมีความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
™ 4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
™ 4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
™ 4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม/การมอบหมายงานค้นคว้าและการนำเสนอ การกำหนดโจทย์ตัวอย่างและให้ระดมสมองเพื่อหาข้อสรุปและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม การสอดแทรกและยกตัวอย่างการประพฤติปฏิบัติที่ดีของนักศึกษาที่ผ่านการฝึกประสบการณ์ครู
การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น โดยสังเกตจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ความตั้งใจในการนำเสนอผลงาน การประสานความช่วยเหลือจากผู้อื่น
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้
˜ 5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
™ 5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
    5.1.3 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การยกตัวอย่างข้อปัญหาจากที่พบในเหตุการณ์จำลองแบบรูปต่างรวมถึงการแก้ไขปัญหาหน้างานระหว่างการมอบหมายเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยนำทักษะทางวิชาการ คำนวณ ความเป็นเหตุเป็นผล ความเหมาะสมต่อสภาพงานพร้อมทั้งให้แสดงความเห็นประกอบ
การประเมินผลจากความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การนำเสนอผลงาน ความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหา การมีจรรยาบรรณและมารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ความสามารถในการถ่ายทอดหรือแนะนำผู้อื่น
การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
 ™  6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
      6.1.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
การมอบหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมและงานของหลักสูตรทั้งในและนอกเวลาเรียน การมอบหมายงานค้นคว้าและทดลองเพื่อหาข้อสรุปของปัญหา การระดมกลุ่มเพื่อปฏิบัติงานที่มอบหมาย
มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ผลการทำงานในภาคปฏิบัติและ/หรือกิจกรรมที่เข้าร่วม การนำความรู้และทักษะไปใช้ในการแก้ปัญหาภายนอกของผู้เรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์บุคคล และความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม. 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 1.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม 1.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
1 TEDEE116 การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 / 1.3 - ตรวจสอบความเหมือน/แตกต่างของเนื้อหาและรายละเอียดของรายงานกับนักศึกษาคนอื่นๆ - ตรวจสอบขั้นตอนการแก้ไขปัญหาว่าสอดคล้องกับหลักการทางวิชาการหรือหลักการตามข้อกำหนดของวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง - พฤติกรรมการตรงต่อเวลา ได้แก่ การเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา เป็นต้น - พฤติกรรมการปฏิบัติตัวทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน ได้แก่ การมีสัมมาคารวะและนอบน้อม การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น - ประเมินผลการนำสิ่งที่เรียนไปใช้หรือสอดแทรกในงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 2.1 / 2.2 / 3.1 / 3.2 / 6.1 / 6.2 - การทดสอบแบบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์รายบุคคล - การบรรยายเนื้อหาในรายงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย - ความชัดเจนและความถูกต้องตามหลักการที่ใช้อ้างอิงในการแสดงความคิดเห็นหรือในรายละเอียดของผลงาน - พิจารณาเนื้อหาการนำข้อมูลการศึกษาหรือค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านวิศวกรรมแสงสว่างมาใช้เพื่อการทำงานหรือไม่ - สังเกตการณ์นำเทคโนโลยีหรืองานวิจัยไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับงานที่ได้รับมอบหมาย หรืองานช่วยเหลือมหาวิทยาลัยในการปฏิบัติจริง - พิจารณาการนำความรู้/ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในงานที่มอบหมาย - พิจารณาและสังเกตจากงานที่มอบหมายว่าได้มีการนำเอาความรู้ด้านเช่น เทคนิคการคำนวณ เป็นต้น มาใช้มาก-น้อยเพียงใด - พิจารณารายละเอียดของงานที่มอบหมาย/การบ้าน และอื่นๆ ว่ามีการอธิบายหรือแสดงขั้นตอนการหาผลที่ชัดเจนหรือไม่ - พิจารณาการนำเสนอ การตอบข้อซักถาม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า - การปฏิบัติงานชุดทดลอง และหน้างาน ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 5.2 - ปริมาณข้อมูลการนำเสนองานและแนวคิดในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ โจทย์ปัญหาในห้องเรียน การบ้าน งานมอบหมาย เป็นต้น - จำนวนการสอบถามข้อสงสัยในข้อมูลที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
หนังสือ การป้องกันระบบไฟฟ้า ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประสิทธฺ์ พิทยพัฒน์
หนังสือ การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง ผู้แต่ง ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช
วีดีโอ การเรียนการสอน วิชา การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลังและรีเลย์
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. กีรติ ชยะกุลคีรี
ผ่านระบบ Online https://www.youtube.com/watch?v=5Jg-Yrd-aI0
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ผ่านกิจกรรมในการนำแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 แบบสอบถามประสิทธิผลรายวิชาโดยผู้เรียน
1.2 แบบประเมินความเห็นการแสดงออกทักษะของเพื่อนในชั้นเรียนในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ภายนอกห้องเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  แบบประเมินการสังเกตการณ์และการสอนของอาจารย์ โดยผู้บริหารหลักสูตร และ/หรือตัวแทนอาจารย์ประจำหลักสูตร และ/หรือ กรรมการประเมินผลการสอน
2.2  การสำรวจโดยแบบประเมินผู้สอนอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเทอม โดยผู้เรียน
2.3 แบบประเมินการจัดการเรียนการสอนในระบบทะเบียนกลาง
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการสรุปข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานแนวทางการปรับปรุงใน มคอ.5
ดำเนินการทั้งในระหว่างศึกษาและภายนอกห้องตามมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชานี้
4.1. แบบประเมินความเห็นการแสดงออกทักษะของผู้เรียนภายหลังการเรียนการสอนในชั้นเรียน
4.2. การประเมินความสอดคล้องระหว่างแนวทางการวัดและประเมิลผล มาตรฐานการเรียนรู้ และคำอธิบายรายวิชา
4.3 แบบสอบถาม/การสัมภาษณ์ คณาอาจารย์และผู้เกี่ยวข้องตามมาตรฐานการเรียนรู้ และผลลัพธ์ที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาของผู้เรียนที่แสดงออก
ผู้สอนสรุปผลข้อมูลทั้งหมดเพื่อรายงานอาจารย์ประจำหลักสูตร/ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงใน แบบ มคอ.7