การบัญชีชั้นกลาง 2

Intermediate Accounting 2

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี วิธีการต่างๆ ทางบัญชีเกี่ยวกับหนี้สินทั้งหนี้สินหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน และวิธีการจัดทำงบการเงินที่เกี่ยวข้อง
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และวิธีต่างๆ ทางการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ ของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด และวิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน รวมถึงกำไรสะสมกำไรต่อหุ้น และงบกระแสเงินสด
1.3 เพื่อให้นักศึกษา สามารถศึกษาค้นคว้า การจัดทำบัญชี ของกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดได้
1.4 เพื่อฝึกหัดการนำแนวคิด หลักการและวิธีการบัญชี ตามมาตรฐานรายงานทางการเงินในปัจจุบัน ไปใช้ในทางปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหนี้สินและส่วนของเจ้าของได้อย่างถูกต้อง
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบัญชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ความ เข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและในชีวิตประจำวันได้
2.2 เพื่อพัฒนาความสามารถนักศึกษา ในการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
2.3 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและวิธีการบัญชีทางด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของโดยละเอียดประกอบด้วย การจำแนกประเภทหนี้สิน การรับรู้และการวัดมูลค่าหนี้สิน การตีราคา การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของประกอบด้วย การบัญชีเกี่ยวกับการจัดตั้งกิจการและการดำเนินงาน การแบ่งกำไรขาดทุน การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเลิกกิจการและการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน รวมถึงกำไรสะสมกำไรต่อหุ้นและงบกระแสเงินสด
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในสื่อเช่น Line, Messenger
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ ห้องพักอาจารย์ ตึก BLA ชั้น 4 ห้องพักอาจารย์สาขาการบัญชี
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
1.1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
1.2.2 ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.3 เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน
1.2.4 การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2.1.1 มีความรู้และเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการและวิธีการทางการบัญชี แนวคิดหลักการและวิธีการบัญชีทางด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของโดยละเอียดประกอบด้วย การจำแนกประเภทหนี้สิน การรับรู้และการวัดมูลค่าหนี้สิน การตีราคา การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของประกอบด้วย การบัญชีเกี่ยวกับการจัดตั้งกิจการและการดำเนินงาน การแบ่งกำไรขาดทุน การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเลิกกิจการและการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน รวมทั้งกำไรสะสม กำไรต่อหุ้นและงบกระแสเงินสด
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม - มีความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆโดยวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ -ทักษะการจัดทำและการนำเสนองบแสดงฐานะการเงิน เกี่ยวกับหนี้สิน ทักษะวิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสด
2.2.1 ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหาวิชา เช่นการบรรยาย ยกตัวอย่างการคำนวณและการบันทึกบัญชี และการถาม-ตอบในชั้นเรียน
2.2.2 มอบหมายแบบฝึกหัดแก้โจทย์ปัญหาแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
2.3.1 ประเมินผลจากการส่งแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย
2.3.2 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการเงินและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาการตัดสินใจ
3.1.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
3.2.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3.2.2 จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3.2.3 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
3.3.1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3.3.3 ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อย โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
4.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางบัญชี โดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.2.3 ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ
4.3.1 ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม
4.3.3 ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5.2.3 ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
5.2.4 มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.1 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5.3.2 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3.
1 BACAC121 การบัญชีชั้นกลาง 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1, 2, 3 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 4,5 สอบปลายภาค 3,4,5 8 11,14 17 25% 15% 25% 15%
2 1,2,3,4,5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การส่งแบบฝึกหัด การทำโจทย์ปัญหา และการถาม – ตอบ ตลอดภาคการศึกษา 20%
เอกสารประกอบการสอน การบัญชีชั้นกลาง 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สินีนาฏ วงค์เทียนชัย
มาตรฐานการบัญชี, มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1, 7, 8 , 33, 37, 107, ฯลฯ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 102, กฎหมายบริษัทจำกัด, พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด,
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เวปไซต์ ต่อไปนี้ - www.Fab.or.th เว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี - www.nukbunchee.com เว็บไซด์นักบัญชีดอทคอม - www.set.or.th เว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - www.dbd.go.th กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านช่องทางสื่อสาร email และ Facebook ของอาจารย์ผู้สอน
2.1 จากผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 จากการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง
และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การศึกษาเพิ่มเติมนอกเวลาโดยตรงกับอาจารย์ผู้สอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา
หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา
เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 จัดหากรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากกรณีศึกษาต่างๆ