สถิติและคณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร

Statistics and Mathematics for Agricultural

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
1.1 เพื่อให้นำคณิตศาสตร์พื้นฐานไปใช้ในชีวิตประจำวัน
1.2 เพื่อให้มีทักษะการคิดและคำนวณทางคณิตศาสตร์
1.3 เพื่อให้มีทักษะในการสืบค้นข้อมูล  เก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  และแปล 
      ความหมาย
1.4 เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์
1.1 เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง 
1.2  เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ
1.3  เพื่อให้มีเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางสถิติ ความน่าจะเป็น
1.4  เพื่อให้เข้าใจการแจกแจงของตัวแปรสุ่มที่สำคัญ 
1.5 เพื่อให้เข้าใจหลักการประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน
          1.6  เพื่อให้เข้าใจการวิเคราะห์ความแปรปรวน
          1.7  เพื่อให้เข้าใจการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้คณิตศาสตร์เพียงพอที่จะไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนมีเหตุผลและรอบคอบ  มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง  อัตราส่วน  สัดส่วนและร้อยละ  ความรู้พื้นฐานทางสถิติ  ความน่าจะเป็น  การแจกแจงของตัวแปรสุ่มที่สำคัญ  การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยประชากรกลุ่มเดียวและสองกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปวน การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์
วันพุธ เวลา 15.00 – 16.30 น.  และวันเวลาที่ว่างจากการสอน  
 1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
  2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
 4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. ชี้แจง ตกลงเกณฑ์ต่างๆ และวิธีการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก
2. การตั้งประเด็นคำถามให้ผู้เรียนเกิดแนวความคิด เกิดการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีแรงจูงใจในการเรียน
3. การอภิปรายรายบุคคลและรายกลุ่มเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล ฝึกความเป็นผู้นำและสามารถนำไปบูรณาการได้
4. กระตุ้นให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
5. ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยในตัวเอง โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ไม่มีการทุจริตในการสอบ
4. ประเมินผลกิจกรรมที่มอบหมายรายกลุ่มและรายบุคคล
5. สังเกตจากพฤติกรรมจากการตอบคำถาม
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3. สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. บรรยายและการใช้สื่อการสอนชนิดต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. การซักถามในบทเรียนรวมทั้งร่วมกันอภิปราย เพื่อแสดงคิดเห็นและความสัมพันธ์เหล่านั้นตามความเข้าใจ
3. ทำการสอนโดยอาศัยวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว (animation) เพื่อให้นักศึกษาเกิดการจินตนาการตามเนื้อหาและเกิดความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น
4. นำงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมาทำการบูรณาการกับการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการ
อภิปราย เกิดคำถาม และเกิดการแก้ปัญหา
5. สร้างคำถาม มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้และสืบค้นด้วยตนเองแล้วนำเสนอรายงานหน้าชั้น (Presentation) หรือทำรายงาน (Report)
1. การทำแบบทดสอบหลังเรียน
2. ผลการทำข้อสอบกลางภาคและปลายภาค
3. ประเมินผลการเรียนรู้จากผลงานที่มอบหมายในระหว่างเรียน เช่น จากการนำเสนอรายงานหน้าชั้น หรือจากการทำรายงาน
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
มีการถามตอบในระหว่างเรียน  ให้นักศึกษาทำความเข้าใจและหาวิธีคิด    นำวิธีการคิดมาเสนอให้เพื่อนๆ ในกลุ่ม
ประเมินจากความสนใจและการมีส่วนร่วม
1.  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
มีการถามตอบในระหว่างเรียน  ให้นักศึกษาทำความเข้าใจและหาวิธีคิด    นำวิธีการคิดมาเสนอให้เพื่อนๆ ในกลุ่ม
ประเมินจากความสนใจและการมีส่วนร่วม
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาละเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างที่นักศึกษาต้องเจอในเหตุการณ์ต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ในระบบสารสนเทศได้
ประเมินจากความสนใจและการมีส่วนร่วม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 BSCCC206 สถิติและคณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา ทุกสัปดาห์ 5%
2 3.1, 3.2 การทดสอบย่อย 4, 12 40 %
3 3.1, 3.2 การสอบกลางภาค 9 20 %
4 1.3 การนำเสนองาน/การรายงาน 17 15 %
5 3.1, 3.2 การสอบปลายภาค 18 20 %
เอกสารประกอบการสอน วิชาคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อการเกษตร  
กัลยา  วานิชย์บัญชา. หลักสถิติ กทม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539 ผ่องศรี   คุ้มจอหอ, พัศนีย์  พันตา และลำดวน  ยอดยิ่ง . สถิติธุรกิจ . กทม. สำนักพิมพ์เอมพันธ์. 2540
หนังสือวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาสถิติ ที่มีเนื้อหาในรายวิชานี้
จากเว็บไซต์ต่างๆ