โครงสร้างภาษาอังกฤษ

English Structure

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบของคำ การสร้างคำ โครงสร้างภาษาอังกฤษในระดับคำ วลี และประโยค ตลอดจนสามารถใช้โครงสร้างภาษาอังกฤษเพื่อสื่อความหมายได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน ทางโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับคำ วลีและประโยค และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้ปรับตัวอย่างอ้างอิง กิจกรรมให้มีการฝึกปฏิบัติในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการวิเคราะห์ส่วนประกอบของคำ การสร้างคำ โครงสร้างภาษาอังกฤษในระดับคำ วลี และประโยค
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ
1.2.1 ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเอง โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.3.1 การเข้าเรียนตรงเวลา
1.3.2 การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน และนอกชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชาโดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ส่วนประกอบของคำ การสร้างคำ โครงสร้างภาษาอังกฤษในระดับคำ วลี และประโยค ส่วนในหลักการปฏิบัติสามารถวิเคราะห์และนำโครงสร้างภาษาอังกฤษไปใช้ในการเขียนบรรยายสิ่งต่างๆได้
2.2.1 สอนโดยการบรรยายให้ความรู้ ผนวกกับการฝึกปฏิบัติจริง โดยเน้นการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student-Centered)
2.2.2 สอนโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐาน (activity-based) เช่น การฝึกปฏิบัติวิเคราะห์โครงสร้าง การระดมสมองเพื่อหาคำตอบร่วมกัน เป็นต้น
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกการใช้ภาษาและวิเคราะห์โดยการอ่านและเขียนจากสื่อต่างๆ ตลอดจนการทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2 ผลการฝึกปฏิบัติ / การทำกิจกรรมของนักศึกษา
3.1.1 ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านโครงสร้างภาษาอังกฤษ มาใช้ในวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2 ทักษะในการนำความรู้ทางด้านโครงสร้างภาษามาประยุกต์ใช้กับการเรียนภาษาทางด้านอื่นๆ ได้อย่างครอบคลุม เช่น การอ่าน การเขียน การแปล เป็นต้น
3.2.1 บรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ภาษา
3.2.2 นักศึกษาซักถามและอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3.2.3 นักศึกษาฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัดตามเนื้อหาการบรรยาย
3.2.4 นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมาย และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2 การอภิปราย ซักถาม และแสดงความคิดเห็น
3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ มีมารยาทสังคมที่ดี และมีความรับผิดชอบจากการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย และสำเร็จตามกำหนดเวลา
จัดการเรียนการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
4.3.1 ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2 ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
4.3.3 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
ส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของตน เพื่อให้ใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
มอบหมายให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ
ดูจากผลการศึกษาจากงานที่มอบหมาย ความรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนหลังการศึกษาค้นคว้า และการฝึกฝนด้วยตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 13031116 โครงสร้างภาษาอังกฤษ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-4 สอบกลางภาค 9 30%
2 หน่วยที่ 5-9 สอบปลายภาค 17 30%
3 หน่วยที่ 1-9 ทดสอบย่อย กิจกรรมและงานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
4 ตลอดภาคการศึกษา ความสมำ่เสมอในการเข้าชั้นเรียน ความตรงต่อเวลา และมัวินัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
Alexander, L.G. 1992. Longman English Grammar Practice. Hong Kong: Longman. Azar, Betty Schrampfer. 1989. Understanding and Using English Grammar. 2nd ed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc,. Brown, Ann Cole & Jeffrey, Shaw Fran Weber. 1984. Grammar and Composition. 3rd ed. Boston: Houghton Mifflin Company. Drummond, Gordon. 1974. English Structure Practice. London: Longman. Doty, Gladys G. & Ross, Janet. 1968. Language and Life in the U.S.A. 2nd ed. New York: Harper and Row. Huddleston, R., & Pullum, G. K. 2002. The Cambridge grammar of the English language. Cambridge: Cambridge University Press. James, Haley Shirley & Stewig, Wawen John. 1985. Houghton Mifflin English. U.S.A.: Houghton Mifflin Company. Miller Goulet, Michele & Brantley Pennebaker, Clarice. 2006. The Basics English. Thomson South-West. U.S.A.

9. Murphy, Raymond. 1985. English Grammar in Use. Cambridge: Cambridge University Press.
10. Pinijsakkul, Panatip. 2007. Sentence Structure for Reading comprehension. Bangkok: Thammasat University Press.
11. Quirk, R., Greenbaum, R., Leech, G., & Svartvik, J. 1985. A comprehensive Grammar of the English language. London: Longman.
12. Oshima, Alice & Hogue, Ann. 1999. Writing Academic English. 3rd ed. New York: Addison Wesley Longman.
13. Vessakosol, Pimpan. 2003. Sentence Composition. Bangkok: Thammasat University Press.
14. เว็บไซต์ต่างๆทีเกี่ยวข้องกับเนื้อหาตลอดจนแบบฝึกหัดออนไลน์
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์