เทคโนโลยีการผลิตพืชและสัตว์

Technology in Animal and Crop Production

1.1  เข้าใจประเภทของฟาร์มการเกษตรทั่วๆไปแบ่งได้เป็นการผลิตพืช และการผลิตสัตว์เศรษฐกิจ  
1.2  เข้าใจระบบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตพืช และสัตว์เศรษฐกิจ
1.3  มีทักษะเบื้องต้นในการผลิตพืช และการผลิตสัตว์เศรษฐกิจ 
1.4  นำความรู้ ทักษะเบื้องต้นในการดูแลรักษาและการจัดการศัตรูทางการเกษตร ไปประยุกต์ใช้ในการผลิตเกษตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
1.5  นำความรู้ ทักษะเบื้องต้นในด้านการตลาดเกษตร ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการสินค้าเกษตรที่ผลิตได้ ในชีวิตประจำวัน
1.6  มีเจตนคติที่ดีต่อวิชาเกษตรทั่วไป
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานด้านการผลิตพืช และการเลี้ยงสัตว์ ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งก้าวหน้ากว่าการเรียนการสอนตามหลักสูตรเก่า  ดังนั้นนักศึกษาในปัจจุบันนอกจากต้องมีความรู้การเกษตรทั่วๆไปเกี่ยวกับแล้วจะต้องตามทันความรู้วิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นในวงการการเกษตร    ส่วนในด้านการเรียนการสอนก็มีการปรับปรุงให้มีการพัฒนามีความทันสมัยสอดคล้องกับความรู้วิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆตามไปด้วย  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต หาทางป้องกัน และแก้ปัญหาการเกษตรต่อไป
การศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับพืชและความสำคัญของพืช หลักการทั่วไปในการผลิิตพืช ดินปุ๋ยและธาตุอาหารที่จำเป็น การขยายพันธุ์ของพืช การผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ศัตรูพืชและวิธีการควบคุม การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว  ความสำคัญของระบบการผลิตสัตว์ ความสัมพันธ์กับระบบการผลิตการเกษตรสาขาอื่นๆ เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ การจัดการฟาร์มและสภาพแวดล้อม การจัดการฟาร์มและสภาพแวดล้อม การจัดการกับสุขศาสตร์สำหรับสัตว์และการป้องกันโรค รวมถึงการศึกษาดูงานระบบการผลิตสัตว์
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
    นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ ดังนี้
1. มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดีมีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์มีความรับผิดชอบมีศีลธรรมซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่กับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
2. มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 
1.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
    กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย  โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ  โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม  มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่นเป็นต้น  นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชารวมทั้งมีการจัดกิกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ เป็นต้น 
1. ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน  การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด  
2. ประเมินจากความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร  
3. ประเมินการความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ  
4. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  
5. ประเมินจากผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น หรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน  
6. ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานในชั้นเรียน ที่ไม่เลือกปฎิบัติและการไม่ละเมิดสทธิของผู้อื่น
2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
     นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทางการเกษตรและช่วยพัมนาสังคม  ดังน้ันมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
1. มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพพืชศาสตร์ และสัตวศาสตร์ ที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบทั้งหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์ให้มีความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. มีความรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีพ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
 
2.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลานรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมีการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฎิบัติงานในสถานประกอบการ
ระเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4. ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ
5. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
6. ประเมินจากรายวิชาฝึกงานหรือสหกิจศึกษา  
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาแล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรม และความรู้ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆจากการสอนให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
1. สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
2. สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆอย่างสม่ำเสมอ และรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
3.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
1. บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาทางการเกษตรเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ๆจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
2. การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้มา หรือเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนด
3. ให้นักศึกษาปฏบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
1. ประเมินจากผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2. สัมภาษณ์หรือสอบปากเปล่า
3. การทดลองโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมดังต่อไปนี้
1. ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและปนะโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะผู้นำและผู้ตาม 
2. มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
4.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่มการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ดังนี้
1. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับโรงงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
5. มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
6. สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
4.3 กลยุทธการประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆและครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพนักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานการติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเองดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้ด้านเกษตรศาสตร์ดังนี้  1. มีทักษะการสื่อสารหมายถึงความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนเพื่อการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานะการณ์และการใช้ภาษาอังกฤษในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน  2. มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาเกษตรทั่วไป ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณืจำลอง สถานการณ์เหมือนจริง หรือแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษา หรือในการปฏิบัติงานจริงแล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
5.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้ข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล
2. ประเมินจากความสามารถจากการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆประมวลผลและแปลความหมาย
3. การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
นักศึกษาต้องมีทักษะทางวิชาชีพคือมีทักษะและความเชี่ยววชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
6.2 กลยุทธการสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติในรายวิชาเกษตรทั่วไปให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
6.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติ
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงานและทักษะการปฏิบัติของนักศึกษาดังนี้
1. ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
2. ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
3. ความสำเร็จและคุณภาพของผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG504 เทคโนโลยีการผลิตพืชและสัตว์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 5.3 การทดสอบย่อย (Quiz) อย่างน้อย 5 ครั้ง 1-15 15%
2 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 5.3 การสอบกลางภาค 8 25%
3 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 4.1 4.3 รายงานกลุ่มนำเสนอผลการทำบทปฏิบัติการ 16 5%
4 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 4.1 4.3 5.1 5.2 5.3 รายงานกลุ่มนำเสนอผลการทำบทปฏิบัติการ 16 5%
5 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 5.3 สอบปลายภาค 17 25%
6 1.3 4.1 4.2 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม 1-15 5%
7 1.3 4.1 4.2 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-15 3%
8 1.3 4.1 4.2 4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มโดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 15 2%
สุวิทย์ เฑียรทอง.2536. หลักการเลี้ยงสัตว์(ฉบับปรับปรุง).พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์. 168 น.                                
เกรียงศักดิ์ เม่งอาพัน.2548.หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ.ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิต กรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้.เชียงใหม่.238หน้า.   
อภิพรรณ พุกภักดี  เอ็จ สโรบล  จินดารัฐ วีระวุฒิ  พร รุ่งแจ้ง  เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ อัมพร สุวรรณเมฆ อิสรา สุขสถาน และจวงจันทร์ ดวงพัตรา.2541.หลักการผลิตพืช.Ag-eBook –มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ลร์.269.หน้า
วารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับด้านการผลิตพืช สัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
เว็บไซต์ด้านการเกษตรต่างๆ  E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาโดยสืบค้นหาจากคำสำคัญในเนื้อหารายวิชา
เช่น www.doa.go.th             
      www.fao.org/agris/default32.htm
      www.dld.go.th
      www.hydroponics.th.com
       www.kasetsiam.com
       www.doae.go.th/plant/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 
1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3  ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัยฯ 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนใน ข้อ 2.  จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  โดยสาขาวิชาจัดการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนและหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนและระดับขั้นคะแนน โดยการสุ่มรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คะแนนสอบ พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้ร่วมสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ นำเสนอข้อมูลตามลำดับ และหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการในรายละเอียดที่จำเป็น จะมีการนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป  จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ 
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4.
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ