ชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม

Biology for Environmental Engineers

รู้ และเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาพื้นฐานสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นิเวศวิทยาพื้นฐาน จุลชีววิทยาพื้นฐาน และจุลชีววิทยาประยุกต์ ได้แก่ จุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม การแพร่กระจายของจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศของจุลินทรีย์ในการหมุนเวียนแร่ธาตุ ตลอดจนการนำจุลชีววิทยาไปประยุกต์ใช้โดยวิศวกรสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เทคโนโลยีในบำบัดน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การบำบัดน้ำเสียและของเสียชุมชน รวมถึงรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับภาคปฏิบัติการชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเก็บรวบรวม และรักษาน้ำตัวอย่าง การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์บ่งชี้เพื่อใช้บอกคุณภาพทางด้านทางด้านแบคทีเรียในน้ำและน้ำเสีย เป็นต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานวิชาชีพเกี่ยวกับชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ไปใช้ศึกษาต่อในวิชาชีพทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติต่อไปได้อย่างเข้าใจและต่อเนื่อง
ศึกษาเกี่ยวกับเซล และโครงสร้างของเซล หลักพื้นฐานด้านแบคทีเรีย วิธีการรวบรวม และตรวจสอบทางแบคทีเรียในน้ำและน้ำเสีย การทำงานของเอนไซม์ สารอินทรีย์และการย่อยสลายทางชีวภาพของสารอินทรีย์ เมตาบอลิซึมของเซลมีชีวิต แนวคิดพื้นฐานของนิเวศวิทยา ได้แก่ พลังงาน ห่วงโซ่อาหาร ผลผลิต และปัจจัยจำกัด การเปลี่ยนแปลงกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นในระบบบำบัดน้ำเสียชีวภาพ
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษานัดหมาย - นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียนและนอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์ หรือ ติดต่อทาง e-mail address ที่ rungnapha@rmutl.ac.th
1.1.1 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 เช็คชื่อเข้าชั้นเรียนทุกครั้งทั้งภาคบรรยายและปฏิบัติการ
1.2.2 แจ้งกติกา ข้อตกลง มารยาทในการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก
1.2.3 แนะนำเอกสารและตำราหลักที่ใช้ประกอบการเรียน และแจ้งกำหนดการทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการตลอดภาคเรียน ตลอดจนวันทดสอบย่อยของแต่ละบทปฏิบัติการ
1.2.4 มอบหมายรายงาน กำหนดวันส่ง การนำเสนอผลงานกลุ่ม ติดตามผล
1.2.5 แจ้งสัดส่วนการประเมินผล
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
1.3.2 การพิจารณาจากรายงานที่มีคุณภาพ ซึ่งแสดงพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มที่รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.3.3 มีการอ้างอิงเอกสารในรายงานอย่างถูกต้องเหมาะสม
1.3.4 การกระทำซื่อสัตย์สุจริตในการสอบหรือลอกรายงานของผู้อื่น
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวพื้นฐานวิชาชีพด้านชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ เพื่อนำไปใช้ศึกษาต่อในวิชาชีพอื่นๆ ในหลักสูตรวิศวกรรม สิ่งแวดล้อมต่อไป
2.1.2 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.2.1 บรรยาย อภิปราย นักศึกษาเรียนรู้จากสื่อประกอบการสอน การเรียนรู้ด้วยตนเองจากหนังสืออ่าน ประกอบการทำงานกลุ่ม การทำรายงาน การนำเสนอผลงานกลุ่ม
2.3.1 ทดสอบย่อยแต่ละบทปฏิบัติการ และสอบภาคปฏิบัติการ
2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการ
2.3.3 ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอผลงานกลุ่มตามที่ได้มอบหมาย
3.1.1 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้ความรู้พื้นฐานวิชาชีพชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อมไปใช้ในวิชาชีพวิศวกรสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม เช่น การพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1 อภิปรายกลุ่ม
3.2.2 นักศึกษาลงมือปฏิบัติการ โดยอาจารย์สาธิตเทคนิคต่างๆ ที่ต้องใช้ เพื่อฝึกทักษะการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาพื้นฐาน และตรวจวิเคราะห์น้ำตัวอย่างที่ไปเก็บจากแหล่งน้ำจริงตามที่ได้มอบหมาย และมีการนำเสนอผลงานกลุ่ม
3.3.1 สอบปฏิบัติการกลางภาคและปลายภาค
3.3.2 สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวัดผลตามจุดประสงค์การสอน
3.3.3 วัดผลจากการประเมินรายงาน และการนำเสนอผลงานกลุ่ม
3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการปฏิบัติการเก็บน้ำและตรวจวิเคราะห์น้ำทางชีววิทยาตามที่ได้รับมอบหมายแต่ละกลุ่ม
4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคลในการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
4.2.3 มอบหมายรายงานกลุ่มและการนำเสนอรายงานกลุ่ม
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมการแสดงออกในการร่วมกิจกรรม
4.3.2 ประเมินจากรายงานกลุ่มที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 มีทักษะในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับงานวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาสำหรับการทำงานด้านวิชาชีพได้ สื่อสารข้อมูล สื่อความหมายโดยการใช้สัญลักษณ์ และการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
5.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากหนังสือประกอบในห้องสมุด สื่อการสอนที่ใช้สอนในห้องเรียน และเวปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา
5.2.2 กิจกรรมเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริงที่เป็นเทคนิคเฉพาะสำหรับงานวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา โดยให้รวมเป็นกลุ่มและการแก้ปัญหาที่เหมาะสมในงานวิเคราะห์ตัวอย่างจริง
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอผลงานกลุ่ม
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และการอภิปรายผล
6.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สนับสนุนการทำโครงงาน
6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2 มีการประเมินผลงานของนักศึกษา
6.3.3 มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติตามเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 2) สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 1) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 2) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 1) มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 2) มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1 ENGEV103 ชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 3.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 และ 2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 และ 4 สอบปลายภาค 4 7 9 12 13 17 5% 5% 30% 10% 30%
2 4.1, 5.3 รายงานบุคคล รายงานกลุ่มและผลงานกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 5% 10%
3 1.1, 1.3, 3.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
ชื่อหนังสือ “ชีววิทยาสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม” ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ชื่อผู้แต่ง ลดาวัลย์ วัฒนะจีระ
ชื่อหนังสือ : Microbiology for Environmental Scientists and Engineers. ชื่อผู้แต่ง : Gaudy,A.F. and Gaudy,E.T. (1980) ชื่อหนังสือ : จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม ชื่อผู้แต่ง : วีรานุช หลาง (2554) ชื่อหนังสือ : Microbiology. ชื่อผู้แต่ง : Pelczar,M.J. et al.(1980) ชื่อหนังสือ : Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 20th edition. ชื่อผู้แต่ง: APHA,AWWA,WEF. (1980)
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.3 ผลงานที่มอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย สอดคล้องกับหลักสูตร
3.2 ปรับปรุงกิจกรรมให้สอดคล้องกับหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นพื้นฐานวิชาชีพในด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา ได้แก่ รายงานภาคปฏิบัติการของรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อดูพัฒนาการของนักศึกษาในการเรียนรู้และเข้าใจบทเรียน ตลอดจนมีทักษะในด้านปฏิบัติการได้ดี
4.2 มีการแจ้งผลคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคในเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
5.2 ปรับปรุงสื่อการสอนให้ทันสมัยและน่าสนใจตลอดเวลา
5.3 การจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ทำทดลองในห้องปฏิบัติการให้ทันสมัย เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงต่อไป