สหกิจศึกษาทางบริหารธุรกิจ

Co-operative Education in Business Administration

1.1  เตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านการพัฒนาอาชีพ (Career  Development)  และเสริมทักษะประสบการณ์ให้พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบการทำงาน (Employability)
1.2  เพิ่มเตรียมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ  วิชาชีพ  และการพัฒนาตนเอง  แก่นักศึกษา ในรูปแบบที่มีคุณค่าเหนือกว่าการฝึกงาน
1.3  เปิดโอกาสให้สถานประกอบการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
1.4  ให้เกิดการพัฒนาหลักสูตร และการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้มาตรฐาน และตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น
1.5  เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานประกอบการและมหาวิทยาลัย ผ่านนักศึกษาสหกิจศึกษาและคณาจารย์นิเทศ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน ในการเตรียมความพร้อมในการทำงานโดยให้สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการด้านตลาดแรงงาน
ศึกษาการปฏิบัติงานทางด้านการบริหารธุรกิจในสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ โดยมีการวางแผนร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการ นักศึกษาจะต้องเข้าไปปฏิบัติงานเต็มเวลาเสมือนเป็นพนักงานของหน่วยงานนั้น โดยมีพนักงานที่ปรึกษาสถานที่ประกอบการมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติของนักศึกษา มีการกำหนดลักษณะงาน แผนการปฏิบัติงานให้กับนักศึกษา นักศึกษาจะต้องจัดทำรายงานภายหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานเพื่อการประเมินผลการศึกษา
ไม่มี
1.  มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 5.1.1,
5.1.4 2.  มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม 5.1.1,
5.1.2 3.   มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 5.1.3
     1.2.1  ให้ความสำคัญในด้านความซื่อสัตย์สุจริต  เคารพกฎระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
     1.3.1        ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน การเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการต่างๆ ของสถานประกอบการ
1.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 5.2.1,
5.2.2,
5.2.3 2.  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 5.2.2 3.  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 5.2.3 4.  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน 5.2.4
     2.2.1  มอบหมายให้จัดทำรูปเล่มรายงานหลังจากสิ้นสุดการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และนำเสนอผลงาน /โครงการของสถานประกอบการที่นักศึกษาได้เข้าไปเรียนรู้และปฏิบัติงานสหกิจ
     2.3.1  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค ได้แก่ ความก้าวหน้าของรายงาน  การค้นคว้าของนักศึกษา
     2.3.1  ผลการฝึกประสบการณ์จากสถานประกอบการของสหกิจศึกษา
1.  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 5.3.1 2.  สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งหันทางธุรกิจ 5.3.3 3.  คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป 5.3.2
     3.2.1  การปฏิบัติงานจริงตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในสถานประกอบการ
     3.2.2  การศึกษาค้นคว้า  การจัดทำรายงาน/โครงการการปฏิบัติสหกิจศึกษา และการนำเสนอผลงาน
     3.3.1  ประเมินจากรายงานผลการศึกษาค้นคว้า  รายงาน/โครงงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
5.4.1
2.  มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
5.4.2
4.  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
5.4.3
    4.2.1  ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานจริงตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในสถานประกอบการ
    4.2.2   การจัดทำรายงาน/โครงการ การปฏิบัติสหกิจศึกษา
   4.3.1  ประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน โดยอาจารย์นิเทศ
   4.3.2  ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักศึกษาในสถานประกอบการ
1.  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
5.5.1
2.  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
5.5.3
3.  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.5.2
6.  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.5.4
     5.2.1  ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
     5.2.2  การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
     5.2.3  ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
     5.3.1  ประเมินจากผลงาน/โครงการ ในรูปแบบเล่มรายงาน  โดยพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของรายงาน และการอ้างอิงแหล่งที่มาจากการสืบค้นข้อมูล
     5.3.2  ประเมินจากทักษะการสื่อสารด้วยวาจา จากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
1.  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม 2.  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง 3.  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
     6.2.1  การฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ โดยบูรณาการกระบวนการบริหารธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์
     6.3.1  ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ ในสถานประกอบการ การนำเสนอผลงาน หรือโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ   การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ   การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
2.2  การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2  การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4  การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2  นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
5.3  นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร