การศึกษาอิสระ

Independent Studies

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการค้นคว้าวิจัย การวิเคราะห์-สังเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานเป็นภาษาอังกฤษ และมีทักษะในการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้หลักการค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลในเรื่องที่นักศึกษาสนใจ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการศึกษา และมีทักษะในการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ
การค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเฉพาะเรื่อง ตามหัวข้อและขอบเขตที่อยู่ในความสนใจของผู้เรียน ภายใต้การแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา นำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่

ความมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณวิชาชีพในเนื้อหาของบทเรียน
1.2.2 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเอง โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.2.3 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเองเช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1 การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.2 การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจ ทั้งความรู้ด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ โดยเน้น
2.1.1 ความรู้ความเข้าใจในหลักการค้นคว้าวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ผลและการแปลผลในทางสังคมศาสตร์
2.1.2 ความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการเขียนรายงานและการนำเสนอผลการศึกษาด้วยวาจา
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่สนใจ เพื่อมานำเสนอและถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นและผู้สนใจทั่วไป
2.2.2 จัดกลุ่มอภิปรายหรือจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้เรียน
ผลงานจากการศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอเชิงวิชาการของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติ โดยมุ่งเน้น
3.1.1 การประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่นักศึกษากำหนด
3.1.2 การนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่สนใจ เพื่อมานำเสนอและถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นและผู้สนใจทั่วไป
3.2.2 จัดกลุ่มอภิปรายหรือจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้เรียน
ผลงานจากการศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอเชิงวิชาการของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้ และมีความเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของกลุ่มสังคมต่าง ๆ
กระตุ้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากกลุ่มภายนอก และร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเมินจากการศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการนำเสนอความรู้ได้อย่างถูกต้องรวมถึงใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และนำเสนอข้อมูล
กำหนดให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และนำเสนอในเชิงวิชาการ ทั้งในรูปแบบรายงานวิชาการ และการนำเสนอด้วยวาจา
ผลงานจากการศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอเชิงวิชาการของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2 3. 4 1. 2 3. 4 1. 2 3. 1. 2 3. 4 1. 2 3.
1 13031431 การศึกษาอิสระ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การส่งงานตามกำหนด 1-6 10%
2 หัวข้อและข้อเสนอโครงการ 2 10%
3 รายงานการศึกษาอิสระ 5 50%
4 การนำเสนอผลการศึกษาด้วยวาจา 6 30%
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชาการศึกษาอิสระ
ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. 2543. พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์. ระพินทร์ โพธิ์ศรี. 2549. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. Jordan, R. R. 1999. Academic Writing Course: Study Skills in English. Essex: Pearson Education Limited. Zemach, D. E. and Rumisek, L. A. 2003. College Writing: From Paragraph to Essay. Oxford. Macmillan Publishers Limited. ระเบียบวิธีวิจัย www.geocities.ws/worawut47/Research8may.doc . ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำวิจัย www.nubkk.nu.ac.th กาญจนา แก้วเทพ. 2549. การวิจัย : จากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย . กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับ

สนุนการวิจัย (สกว.)

กมลพร สอนศรี. 2550. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัย – ครั้งที่ 1 (งานนำเสนอ) มหาวิทยาลัยมหิดล วณิช และ ศศิธร นิรันตรานนท์ . การวิจัยเบื้องต้น รหัสวิชา วท 101 1001 . เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำการศึกษาค้นคว้าอิสระและการทำวิทยานิพนธ์ ตัวอย่างรูปเล่มการศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Study) คณะมนุษยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์