ปฏิบัติงานซ่อมและบำรุงรักษาไฟฟ้า

Electrical Maintenance Practice

1.1  เข้าใจหลักการ เกี่ยวกับการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ 
1.2  สามารถวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้า
1.3  สามารถบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าภายในและนอกอาคาร
1.4  การเขียนรายงาน ผลการปฏิบัติงานและแผนการบำรุงรักษา
1.5  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติงานซ่อมและบำรุงรักษาไฟฟ้า
เนื่องจากเป็นรายวิชาแกนทางด้านกลุ่มวิชาชีพเลือกที่แต่ละหลักสูตรในกลุ่มครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีการจัดการเรียนการสอนปรากฏในเล่ม มคอ.2 เหมือนกัน และมีการจัดการเรียนการสอนในหลายเขตพื้นที่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ดังนั้นเพื่อให้การกำหนดสาระการเรียนรู้ ทักษะที่พึ่งเกิดกับนักศึกษาที่จะไปเป็นครูผู้สอนในอนาคตที่จบในหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีมาตรฐานและกรอบแนวทางในการพัฒนา การซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้า บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าภายในและนอกอาคาร การเขียนรายงาน ผลการปฏิบัติงานและแผนการบำรุงรักษา และเมื่อนักศึกษาออกไปฝึกสอนต้องได้ออกบริการ Fixit center ให้มีทักษะก่อนออกฝึกสอน
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ  การซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้า บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าภายในและนอกอาคาร การเขียนรายงาน ผลการปฏิบัติงานและแผนการบำรุงรักษา
ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) หรือ ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ  เช่น   E – mail, Line ,  โทรศัพท์  โดยอาจารย์จะแจ้งวันเวลาให้นักศึกษาทราบ
      1.1.1  มีความซื่อสัตย์ สุจริต คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
      1.1.2  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
      1.1.3  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
      1.1.4  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
 
    กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย  โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
     1.3.1  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม
     1.3.2  ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
     1.3.3  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย


     
     2.1.1  มีความรู้ในสาขาวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามหลักสูตร
     2.1.2  สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายกระบวนการทางเทคโนโลยี รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
     2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
     2.1.4  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม


     
     ใช้การสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ใช้ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ  นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่องตลอดจนฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ


            
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่างๆ คือ
      2.3.1  บททดสอบย่อย
      2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
      2.3.3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
      2.3.4  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน


                       
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างมีระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อใช้ในการปฏิบัติและแก้ปัญหางานได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาความต้องการ
 


 
3.2.1 ศึกษากรณีศึกษาด้านอุตสาหกรรม
3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม
3.2.3 ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา นี้สามารถทำได้โดยการออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา 
4.1.1. สามารถสื่อสารกับสังคมที่หลากหลาย
4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองทั้งงานเดี่ยวและเป็นงานกลุ่ม
4.1.4  มีความรับผิดชอบการ พัฒนาการเรียนรู้ทั้งตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง


 
    4.2.1 กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำและผู้รายงาน
    4.2.2 ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสร กิจกรรมของมหาวิทยาลัยฯ
    4.2.3 ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
    4.2.4 มอบหมายงานให้สัมภาษณ์บุคคลต่าง  ๆ
       4.3.1 ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
       4.3.2 พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
       4.3.3 ประเมินผลจากแบบประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม    
       4.3.4 ประเมินจาการสังเกตพฤติกรรม
5.1.1  มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2  สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติ
5.1.3  ประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารอย่างมีการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสมสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม


 
5.2.1  ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญ และฝึกให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5.2.2 มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้น
5.2.3 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
5.2.4 ฝึกการนำเสนองานโดยเน้นความสำคัญของการใช้ภาษา และบุคลิกภาพ


      
5.3.1 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
5.3.2 สังเกตการณ์การปฏิบัติงาน


 
 
 
6.1.1   ทักษะการคิด การค้นคว้า การจัดทำงานปฏิบัติการงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้า 
6.1.2   พัฒนาทักษะในการเตรียมการในการปฏิบัติการงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้า  
6.1.3   พัฒนาทักษะปฏิบัติการงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้า ที่ถูกต้อง
6.1.4   ทักษะในการแก้ไขปัญหางานปฏิบัติการงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้า 
6.1.5   ทักษะในการเก็บบันทึกข้อมูล ในการปฏิบัติการงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้า
6.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานผลการปฏิบัติการงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้า
6.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาจัดเตรียมการปฏิบัติการงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้า 
6.2.2   จัดกลุ่มทำการปฏิบัติการงานซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้า   เป็นรายกลุ่มภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้สอน และนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ พร้อมนำเสนอรายงานผลงาน
ประเมินจาก การสังเกตการปฏิบัติงาน  การตอบคำถาม รายงาน และการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDEE124 ปฏิบัติงานซ่อมและบำรุงรักษาไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 วิธีการ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินผลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ จากคะแนนเต็มทั้งรายวิชา 100 คะแนน ดังนี้ (1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (2) ด้านความรู้ (3) ด้านทักษะทางปัญญา (4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (5) ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (6) ด้านทักษะพิสัย แบบสังเกตพฤติกรรม แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน แบบฝึกหัด ค้นคว้าด้วยตนเองและส่งรายงาน นำเสนอหน้าชั้นเรียน สอบเก็บคะแนน ลงมือปฏิบัติ 1-7,9-16 2-7,9-16 9 และ 17 สอบ 3-16 ลงมือปฏิบัติ 10 (เวลาเรียน และจิตพิสัย) 25 (สอบปลายภาค) 15 (สอบกลางภาค) 30 (การปฏิบัติงาน) 20 (การรายงานผล)
2 ทุกบทเรียนที่นักศึกษาปฏิบัติการ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ การส่งงานตามที่มอบหมาย ทุกบทเรียนที่นักศึกษาปฏิบัติการ ( สัปดาห์ที่ 3-8 และ 10-16) 20 (การรายงานผล)
1. เอกสารและตำราหลัก

ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ,2530                                                                                 
สมคิด วิริยะประสิทธิ์ชัย ,ความรู้เบื้องต้นทางอิเล็กทรอนิกส์ ,กรุงเทพฯ ,สำนักพิมพ์เซ็นเตอร์ ,2536
สมโชค  ลักษณะโต ,ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ,ปทุมธานี ,สำนักพิมพ์เม็ดทรพริ้นติ้ง ,2542

       ณรงค์  สุขช่วย การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบง่ายๆ,กรุงเทพ, 248
ชัยเชษฐ์  เพชรไทยและคณะ. การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า. 23บุ๊คเซนต์เตอร์. กรุงเทพมหานคร
ประพันธ์ พิพัฒน์สุข และคณะ. งานบริการและซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า. สำนักพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะกรุงเทพมหานคร:  โรงพิมพ์เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์  2548.
สุทธิพงศ์ ศรีกรากรณ์. หลักการทำงานหาที่เสีย และซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซีเอ็ดยูเคชั่น. กรุงเทพมหานคร: 2540.
      
เอกสารออนไลน์
              http://www.bkkelearning.com/bkk/course_detail.jsp?courseid=13&cateid=3
คู่มือการใช้งานและตรวจซ่อม อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
      งานตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า การวัด เช็คอุปกรณ์ ค้นหาทางเว็บไซด์
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้  ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาดังนี้
               -  การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมในชั้นเรียนของผู้เรียน
               -  แบบประเมินผู้สอน  และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน  ได้มีกลยุทธ์ดังนี้
                 -  ผลการสอน
                 -  การสังเกตพฤติกรรม
หลังจากผลการประเมินในข้อ  2  จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการเพิ่มใบงานให้นักศึกษาไปทำมากขึ้นเพื่อฝึกทักษะ 
หลังจากอาจารย์ผู้สอนตัดเกรดนักศึกษาแล้ว อาจารย์ผู้สอนส่งผลการเรียนให้ประธานหลักสูตรฯ  เป็นผู้ตรวจสอบต่อไป ตามลำดับ ก่อนส่งให้สำนักงานทะเบียน
จากผลการประเมินมีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอน  และรายละเอียดวิชา  ดังนี้  ปรับปรุงรายวิชาทุกปี