การผลิตสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์

Print Production for Package

1. รู้และเข้าใจกระบวนการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง
2. รู้และเข้าใจทฤษฎีเกี่ยวกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ และการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการทางการบรรจุ 
3. รู้และเข้าใจกระบวนการในการผลิตสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ อันประกอบด้วย งานก่อนพิมพ์ งานพิมพ์ และงานหลังพิมพ์
4. รู้และเข้าใจกระบวนการการทดสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ และการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์
5. รู้และเข้าใจวิธีการประเมินราคาสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ในระบบพิมพ์ต่างๆ
6. มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกรูปแบบบรรจุภัณฑ์และวัสดุให้เหมาะสมกับความต้องการทางการบรรจุและตำแหน่งของผลิตภัณฑ์    
7. มีทักษะในการปฏิบัติงานก่อนพิมพ์ สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์และจัดการไฟล์งานก่อนเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ได้อย่างถูกต้อง
8. มีทักษะในการนำเทคนิคงานหลังพิมพ์มาประยุกต์ใช้สร้างมูลค่าให้กับงานออกแบบบรรจุภัณฑ์
9. มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน และการใช้สื่อที่หลากหลายมากขึ้น
2. เพื่อพัฒนาความรู้ในรายวิชาให้สอดรับกับเทคโนโลยีทั้งด้านการออกแบบและการผลิต ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์  ตั้งแต่กระบวนการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ กระบวนการในการผลิตสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ อันประกอบด้วย งานก่อนพิมพ์ งานพิมพ์ และงานหลังพิมพ์ การทดสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์  และการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ ตลอดจนการประเมินราคาสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ในระบบพิมพ์ต่างๆ
2 ชั่วโมง โดยระบุวัน เวลา ไว้ในตารางสอนและแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
1. ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม การเสียสละ และความซี่อสัตย์สุจริต
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1. ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
2. นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยฝึกให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นผู้นำกลุ่มและเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซี่อสัตย์ไม่ทุจริตในการสอบหรือคัดลอกผลงานที่ได้รับมอบหมายของผู้อื่น
3. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องระหว่างการเรียนการสอน
1. การตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย
2. ความรับผิดขอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์
2. มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
3. สามารถบูรณาการใช้ความรู้ไปสู่การปฏิบัติงานจริงอย่างถูกต้อง
1. บรรยายพร้อมใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างกรณีศึกษา และแสดงตัวอย่างประกอบ
2. กำหนดกิจกรรมในชั้นเรียนโดยจัดแบ่งกลุ่มนักศึกษาเพื่อร่วมกันอภิปราย วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. มอบหมายงานให้ค้นคว้าหาความรู้นอกชั้นเรียน
1. การสอบกลางภาค ปลายภาคเรียน
2. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
3. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
4. วิธีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน
1. มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1. คิดหาเหตุผลอย่างมีระบบและการปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
2. ให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการฝึกทักษะปฏิบัติจริง
3. รวบรวม สรุปประเด็นปัญหาโดยการปรึกษาและอภิปรายร่วมกันในกลุ่ม
1. ประเมินผลงานตามสภาพจริงในการปฏิบัติ
2. การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3. การปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมประเด็นที่เหมาะสม
1. นักศึกษาเสนอหัวข้อปฏิบัติตามการทำงานเป็นกลุ่ม
2. อภิปรายหัวข้อปฏิบัติแต่ละกลุ่มร่วมกัน
3. นักศึกษาปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน
1. พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มและกิจกรรมต่างๆ
2. การอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
3. การตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของานที่ได้รับมอบหมาย
1. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
2. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. บรรยายและอภิปรายในชั้นเรียน
2. นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากอินเตอร์เน็ตในการหาข้อมูลในการทำงาน
3. การนำเสนอโดยการวิเคราะห์การแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
1. สามารถเข้าใจกระบวนการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องตามกระบวน
2. สามารถเลือกใช้วัสดุและระบบการบรรจุได้เหมาะสมกับความต้องการทางการบรรจุของผลิตภัณฑ์
3. สามารถเข้าใจกระบวนการในการผลิตสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ อันประกอบด้วย งานก่อนพิมพ์ งานพิมพ์ และงานหลังพิมพ์ ได้อย่างถูกต้องตามกระบวน
4. สามารถเข้าใจกระบวนการการทดสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ และการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์
5. สามารถเข้าใจวิธีการประเมินราคาสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ในระบบพิมพ์ต่างๆ
1. บรรยาย สาธิตวิธีการปฏิบัติงาน
2. ดูแล ให้คำแนะนำขณะนักศึกษาปฏิบัติ
3. นักศึกษาสรุปผลและนำเสนอผลงาน
4. ตรวจผลงานพร้อมให้คำแนะนำกับนักศึกษา
1. กระบวนการทำงานถูกต้องตามขั้นตอน
2. ผลงานสำเร็จมีคุณภาพ
3. เสร็จตามกำหนดเวลา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางด้านงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม สามารถประเมินผลงานด้านสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับงานสิ่งพิมพ์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 44011014 การผลิตสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม การเข้าเรียน ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 ความรู้ สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 9 และ 17 40 %
3 ทักษะทางปัญญา ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน วิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างมีระบบ ตลอดภาคการศึกษา 30 %
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ กิจกรรมกลุ่ม การอภิปรายและนำเสนองาน การมีส่วนร่วม และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด 3, 4, 5, 8, 11, 13, 15, 16 5 %
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี การจัดทำรายงานและวิธีการสืบค้นข้อมูล และทักษะในการสื่อสารข้อมูลและบุคลิกภาพ 3, 4, 11, 13, 15, 16 5 %
6 ทักษะพิสัย กระบวนการทำงานถูกต้อง ตลอดภาคการศึกษา 10 %
…………………………..(2552). เอกสารการสอนชุดวิชาวัสดุทางการพิมพ์ หน่วยที่ 8-15. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
…………………………..…(2546). คู่มือการทดสอบบรรจุภัณฑ์. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
พรชัย  ราชตนะพันธุ์. (2550). พลศาสตร์การบรรจุ (Dynimics of Packaging). ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วีระ โชติธรรมาภรณ์. (2548). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 5621101 เทคโนโลยีการพิมพ์เบื้องต้น (Introduction to Printing Technology). ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สมพงษ์  เฟื่องอารมย์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในการทำรายงาน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาแบบประเมินผู้สอนโดยผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
-
4.1   อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
4.2   นักศึกษาสามารถขอดูคะแนนย่อยต่างๆ เพื่อความมั่นใจ
5.1    นำข้อคิดเห็นของนักศึกษาจากข้อ 3 มาประมวลเพื่อจัดกลุ่มและนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป
5.2   ดำเนินการทบทวนทุกปีการศึกษาในกรณีที่พบปัญญา และทุก 5 ปีตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสกอ.
5.3   อาจสลับอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้