การจัดการเชิงกลยุทธ์

Strategic Management

รู้กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ เข้าใจการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เข้าใจวิธีการกำหนดกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ รู้กระบวนการควบคุมและการประเมินผลกลยุทธ์ ประยุกต์ความรู้กับกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
ให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ   กระบวนการวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ในระดับต่าง ๆ ขององค์การ  การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และการควบคุมกลยุทธ์  รวมถึงแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ทันสมัย โดยกรณีศึกษาประกอบการศึกษา
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ประมาณ 2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 นักศึกษามาเรียนตรงเวลา ไม่มาสาย/ไม่ขาดเรียน
1.1.2 นักศึกษาส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
1.1.3 นักศึกษาทำผลงาน/ชิ้นงานด้วยตนเอง ไม่คัดลอก
1.1.4 นักศึกษามีน้ำใจ ช่วยเหลือกัน ทำงานเป็นทีมได้
1.2.1 อธิบายประโยชน์ของการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1.2.2 อธิบายประโยชน์ของการค้นคว้า ด้วยตนเอง/ การพึ่งตนเองในหลาย ๆ กรณี
1.2.3 มอบหมายงานให้ทำ ในลักษณะทีมงาน
1.2.4 อบรม สั่งสอน แนวทางการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพตามแนวทางพุทธศาสนา
1.3.1 สังเกตจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน การขาด การสายที่เปลี่ยนแปลงไป
1.3.2  สังเกตคุณภาพงานที่ออกมาว่ามีการพัฒนาหรือไม่
1.3.3 สังเกตดูการบริหารความขัดแย้ง ความเห็นไม่ตรงกันในทีมงานว่าไปในทางดีขึ้นหรือไม่
1.3.4 สังเกตจากพฤติกรรมการมีน้ำใจ การช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อน
      เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการ  ความรู้ที่เกี่ยวกับ แนวคิด ความแตกต่างของ การจัดการเชิงกลยุทธ์ และการจัดการทั่วไป องค์ประกอบของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การกำหนดกลยุทธ์ระดับต่าง ๆนโยบายธุรกิจ โครงสร้างสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโดยใช้ตารางการวิเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ เข้าใจในกลยุทธ์รวมของธุรกิจ การประเมินผลและการติดตาม ตลอดจน สามารถนำความรู้ต่างๆ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล
2.2.1 บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง
2.2.2 อภิปรายหลังการสอน
2.2.3 การทำงานกลุ่ม และนำเสนอรายงานจากการค้นคว้า
2.2.4 การวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีต่างๆ ที่เรียน
2.2.5 การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning)
2.3.1 ทดสอบกลางภาคและปลายภาคที่เน้นหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจ
วิเคราะห์กรณีศึกษา
2.3.2 ประเมินผลจากการนำเสนอผลการวิเคราะห์ ศึกษา ค้นคว้า
              พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีทักษะทางการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ทางบริหารจัดการได้
3.2.1 บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง
3.2.2 อภิปรายหลังการสอน
3.2.3 การทำงานกลุ่ม และนำเสนอรายงานจากการค้นคว้า
3.2.4 การวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีต่างๆ ที่เรียน
3.2.5 การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning)
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นการคิดวิเคราะห์
3.3.2 พิจารณาจากการอภิปรายกลุ่ม
4.1.1 ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 ทักษะความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม

4.1.3 ทักษะการเรียนด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบ ในงานที่ได้รับมอบหมาย ครบถ้วนทันเวลา
4.1.4 ทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สถานภาพในสังคมระดับต่างๆ
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานเป็นกลุ่ม ให้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันเอง
4.3.1 นักศึกษาประเมินผลตนเองและเพื่อน เกี่ยวกับการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.3.2 ประเมินผลการรายงานที่ นักศึกษานำเสนอ
4.3.3 ประเมินผลจากการอภิปรายกลุ่ม
5.1.1 พัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา ข่าว เหตุการณ์บ้านเมือง
5.1.2 พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารทั้งการฟัง การพูด การอ่าน การแปล โดยจัดทำ
           เป็นรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทางเว็บไซต์ แล้ววิเคราะห์ พร้อมนำเสนอในแบบของการบรรยาย พร้อมกับบอกแหล่งอ้างอิง
5.2.2 นำเสนอผลการศึกษาข้อมูล พร้อมการวิเคราะห์ และนำ เสนอในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 นักศึกษานำเสนอฟังรู้เรื่องหรือไม่ ใช้ภาษาได้ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่
5.3.2 รูปแบบรายงาน การใช้ภาษา ถ้อยคำ
5.3.3 รูปแบบการอภิปราย การใช้สื่อถ่ายทอด มีความเหมาะสมกับเทคโนโลยีที่มีอยู่หรือไม่
สามารถนำเสนอกรณีศึกษาได้อย่างเหมาะสม
ให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาที่สนใจแล้วนำเสนอ
ให้คะแนนการวิเคราะห์กรณีศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ(Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 1.9 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5
1 BBABA207 การจัดการเชิงกลยุทธ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9,18 50%
2 วิเคราะห์กรณีศึกษา การทำงานกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 วิเคราะห์กรณีศึกษา การทำงานเดี่ยว แบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 10%
กรณิศ  เปี้ยอุดร. การจัดการเชิงกลยุทธ์. ลำปาง, 2560.
-ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : วีพริ้นท์(1991), 2552.
-วิเชียร วิทยอุดม. การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์, 2553.
-สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์บุค์เซ็นเตอร์, 2551.
-เสนาะ ติเยาว์. การบริหารกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2546.
-ณัฐยา สินตระการผล. การจัดการเชิงกลยุทธ์ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์, 2553.
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
               ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การประเมินผลการอภิปรายกลุ่ม
2.2 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา  และ อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
3.2 การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกการวิเคราะห์
3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 ทบทวนงานที่ให้ผู้เรียนไปค้นคว้า จัดทำว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
4.2 ทบทวนข้อสอบกลางภาคและปลายภาคที่ใช้วัดความรู้ว่ามีความยากง่ายเหมาะสมเพียงใด
4.3 ทบทวนรายงานกลุ่มว่ามีความเหมาะสม คุณประโยชน์ต่อนักศึกษาที่จะได้รับไปประยุกต์ใช้กับตนเองภายหลังจบการศึกษาไปแล้วว่ามีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากน้อยเพียงใด
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดรายวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ
5.2 นำข้อคิดเห็นของนักศึกษามาประมวล เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป
5.3 นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง