ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปถาวร

Introduction to Plasticity

1.1 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีการเปลี่ยนรูปถาวร
1.2 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับกลศาสตร์ของการเปลี่ยนรูปถาวร
1.3 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเค้นความเครียดจริง
1.4 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการขึ้นรูปโลหะ
1.5 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีการแตกหักของโลหะ
1.6 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการหาคำตอบของปัญหาการขึ้นรูป
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการเปลี่ยนรูปถาวร กลศาสตร์ของการเปลี่ยนรูปถาวร ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเค้นความเครียดจริง พื้นฐานการขึ้นรูปโลหะ การแตกหักของโลหะ วิธีการหาคำตอบของปัญหาการขึ้นรูป ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานในการขึ้นรูปโลหะ เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับทฤษฎีการเปลี่ยนรูปถาวร เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการเปลี่ยนรูปถาวร กลศาสตร์ของการเปลี่ยนรูปถาวร ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเค้นความเครียดจริง พื้นฐานการขึ้นรูปโลหะ การแตกหักของโลหะ วิธีการหาคำตอบของปัญหาการขึ้นรูป ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานในการขึ้นรูปโลหะ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กรสังคมและสิ่งแวดล้อม 1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
(1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม (2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร (3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ (4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  แก้ไข
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมแม่พิมพ์ 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2.1.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ 
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ (1) การทดสอบย่อย (2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน (3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ (4) ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ (5) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน (6) ประเมินจากรายวิชาสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิศวกรรม
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
(1) กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิชา (2) การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน (3) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา เป็นต้น
 
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม  แก้ไข
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้ (1) สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี (2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย (3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี (4) มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป (5) ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
(1) ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี (2) ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึก พฤติกรรมเป็นรายบุคคล (3) ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา (4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง  แก้ไข
 
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้  แก้ไข
(1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ (2) ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล  แก้ไข
(1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์ (2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน (3) สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้            (1) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน            (2) สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ            (3) สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิศวกรรมแม่พิมพ์กับหน่วยงานภายในและภายนอก            (4) จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา            (5) สนับสนุนการทำโครงงาน            (6) สหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรมในสถานประกอบการ
(1) มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (2) มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน (3) มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ (4) มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา (5) มีการประเมินนักศึกษาในวิชาสหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรมแม่พิมพ์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGTD117 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปถาวร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2, 2.3, 2.4, 3.3, 5.5 สอบย่อย 5, 12 20
2 2.2, 2.3, 2.4, 3.3, 5.5 สอบกลางภาค 8 25
3 2.2, 2.3, 2.4, 3.3, 5.5 สอบปลายภาค 17 25
4 1.3, 2.5, 3.1, 4.4, 4.5, 5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การอ่านและสรุปบทความ การทำงานกลุ่ม การทำรายงาน และการนำเสนอ การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 20
5 1.2 การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมาย ทุกสัปดาห์ 10
เดช พุทธเจริญทอง, ทฤษฏีพลาสติซิตีและการเปลี่ยนรูปถาวร, กรุงเทพฯ ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ, 2005. Thomsen E.G., Yang C.T. and Kobayashi Shiro., Mechanics of Plastic Deformation in Metal Processing, New York : Macmillan Company, 1965.  แก้ไข
กิตติพงษ์ กิมะพงศ์, ศิริชัย ต่อสกุล, อนินท์ มีมนต์ และ นรพร กลั่นประชา, วัสดุวิศวกรรม, กรุงเทพฯ บ.พงษ์วรินการพิมพ์ จำกัด, 2553. ชนะ กสิภาร์, ความแข็งแรงของวัสดุ, กรุงเทพฯ หจก.ชวนพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 8, 2528. เดช พุทธเจริญทอง, การวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, กรุงเทพฯ ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ, 1998. นทีชัย ผัสดี, เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากระบวนการผลิต (Manufacturing Processes) รหัสวิชา 34060103, สาขาวิชาวิศวกรรมแม่พิมพ์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่, 2554. อนันต์ วงศ์กระจ่าง, การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล, กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2533. Aida Engineering Ltd., AIDA Press Hand Book, Tokyo, 1992. Andrew Pytel and Ferdinand L. Singer, Strength of Materials, New York HarperCollins, 1987. Bathe., K, J., Finite Element Procedures, New Jersey : prentice Hall, Inc., Englewood Cliffs, 1966. Blazynski T.Z., Plasticity and Modern Metal – Forming Technology, New York : Elsevier Science Publishers Ltd., 1989. Chakrabarty J., Theory of Plasticity, 2d. Singapore : McGraw-Hill Book Co., 1998. Dieter, George E., Mechanical Metallurgy, UK : McGraw-Hill Book Company, 1988. Edward M. Mielnik, Metalworking Science and Engineering, New York : McGraw-Hill, Inc., 1991. Geoffrey W. Rowe, Principles of Industrial Metalworking Processes, London : Edward Arnold (Publishers) Ltd., 1968. Gopinathan V, Plasticity Theory and Its Application in Metal Forming, India : Wiley Eastern Limited., 1982. Lange,K., Handbook of Metal Forming, New York : McGraw-Hill, 1985. Lemaitre, Jean, Mechanics of Solid Materials, New York : Cambridge University Press, 1990. Norman E. Dowling, Mechanical Behavior of Materials, New Jersey : 2nd. Ed. Prentice Hall, Englewood Cliffs, 1999. Schuler GmbH, Metal Forming Handbook, Berlin : Springer Verlag, Heidelberg, 1998. Scrope Kalpakjian and Steven R. Schmid, Manufacturing Engineering and Technology (4th ed.). Prentice Hall International, 2001. Talbert S.H., and Avitzur B., Elementary Mechanics of Plastic Flow in Metal Forming, New York : John Wiley & Son, Inc., 1996. Wagoner, R.H., Fundamentals of Metal Forming, New York : John Wiley & Sons, Inc., 1996. Walter D. Pilkey, Formulas for Stress Strain and Structural Matrices, New York : John Wiley & Sons, Inc., 1994. William F. Hosford and R.M. Cadell., Metal Forming Mechanics and Metallurgy, 2d. ed., New Jersey : Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, 1993.  แก้ไข
กิตติศักดิ์ เผือกสะอาด, การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อการออกแบบแม่พิมพ์อีควอไลเซอร์ซัพพอร์ท, วิทยานิพนธ์, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ มจธ.2002. นทีชัย ผัสดี, การศึกษาการลดครีบบนขอบของชิ้นงานตัดโดยกรรมวิธีการกดตัดและดันกลับ, วิทยานิพนธ์, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ มจธ.2002. นทีชัย ผัสดี, พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ และ วารุณี เปรมานนท์, การศึกษาการลดครีบบนขอบของชิ้นงานตัดโดยกรรมวิธีการกดตัดและดันกลับ, การประชุมวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุแห่งประเทศไทยครั้งที่ 2, สิงหาคม 2545, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, หน้า 69-71. นทีชัย ผัสดี และเกรียงไกร ธารพรศรี, การพัฒนาคุณภาพของชิ้นงานในกรรมวิธีการกดตัดและดันกลับ, งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 2547. นทีชัย ผัสดี และเกรียงไกร ธารพรศรี, การศึกษาตัวแปรของรูปร่างพันช์ในกรรมวิธีการกดตัดและดันกลับ, การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการครั้งที่ 13, ตุลาคม 2547, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หน้า 893-898. ปราโมทย์ เดชะอำไพ และคณะ, การวิเคราะห์และออกแบบงานทางวิศวกรรมด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, กรุงเทพฯ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสตุแห่งชาติ 2545. พรชัย คงวัฒนาชัย, การใช้ไฟไนต์เอลิเมนต์วิเคราะห์การขึ้นรูปโลหะแผ่น, วิทยานิพนธ์, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ มจธ, 2004. รุ่งโรจน์ ตรงธรรมกิจ, จำลองการดัดขึ้นรูปขาคอนเน็คเตอร์ในงานพรีซิชชันสแทมพิงโดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, วิทยานิพนธ์, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ มจธ.2002. V.Premanond, P.Kaewtatip, N.Passadee, Investigation of Sheared Surface on Non-circle Part by Push Back Blanking Metrod, Proceedings of Seventh International Pacific Conference on Manufacturing & Management, PCM2002, p.1039-1044. เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์ www.google.com / www.altavista.com / www.youtube.com www.sme.org  แก้ไข
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน  แก้ไข
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ