การบัญชีชั้นต้น

Introduction to Accounting

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์ วิวัฒนาการของการบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน วงจรบัญชี
1.2 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถการวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่
1.3 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถวิการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ  ตลอดจนการผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ
1.4 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและกิจการซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ
1.5 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบันทึกบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และการบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม
2.1. เพื่อปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัยและมีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
2.2 เพื่อปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้สอดคล้องกับการประกาศใช้มาตรฐานรายงานการเงิน และมาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี ในประบรมราชูปถัมภ์
2.3 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการจัดทำบัญชี กรจัดทำรายงานการทางการเงินให้เป็นไปตามข้อบังคับ ของหน่วยงานในกำกับ ประกอบด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และสำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ศึกษาและปฏิบัติความหมาย วัตถุประสงค์วิวัฒนากรของการบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน วงจรบัญชี การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบัญชีตามหลักบัญชีคู่ การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ ตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการกิจการซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม
อาจารย์ผู้สอนกำหนดวันเวลาให้พบปรึกษา (office hours) โดยประมาณ 7 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมาย การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ บรรยายความหมายและวัตถุประสงค์ของการบัญชี ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี ประกรอบแนวความคิดวัฒนาการและจรรยาบรรณทางวิชาชีพการบัญชี แบ่งกลุ่มผู้เรียน เพื่อจัดทำรายงานเรื่อง จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน และนำเสนอในชั้นเรียน
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.1.4สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1 บรรยาย  อภิปรายโดยใช้ตำราภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ การบันทึกรายการในสุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ
2.2.2 มอบหมายให้นักศึกษาสรุปความรู้ในรูปแบบของแผนทีความคิด (Mind mapping)
2.2.3 ฝึกทำแบบฝึกหัดจากโจทย์ภาษาอังกฤษโดยมีเนื้อที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนจากง่ายไปยาก
2.3.1 วัดผลจากการเข้าเรียน ความเข้าใจในการทำแบบฝึกหัด การอภิปรายและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
2.3.2 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฏี และการวิเคราะห์
3.1.1 สามารถสืบคืนข้อมูล ประมวลข้อมูลและแนวคิดต่าง ๆเพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.1.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
บรรยาย และจัดกลุ่มอภิปรายจากตำราภาษาอังกฤษ เรื่องการผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท รายการปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด กาจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงิน
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และการบัญชีเกี่ยวกับกิจกรอุตสาหกรรม
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มโดยการนำข้อมูลในรายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาอธิบายรูปแบบการจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และกิจการอุตสาหกรรม ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษา รูปแบบการจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และกิจการอุตสาหกรรม
5.1.1   มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสามกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสาร
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รูปแบบรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ในกลุ่มวิชาการบัญชีชั้นชั้น ผ่านห้องสนทนา Chat Room
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   บรรยายโดยการใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น การบรรยาย โดยใช้ power point รวมถึงการตอบคำถามในเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ โดยจัดกลุ่มรายวิชาใน Face book เพื่อเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในสาระวิชานอกเหลือจากเวลาในห้องเรียน
5.2.2 มอบหมายให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด ถามตอบในชั้นเรียน ทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว
5.2.3 ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยให้ผู้เรียนค้นหาเนื้อหาบทเรียนเพิ่มเติมจาก You tube, Google และ Social Media
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   การตอบคำถามในชั้นเรียน
5.3.2   การทดสอบย่อย
5.3.3 ประเมินผลจากการส่งงานที่ได้รับมอบหมายและการตอบคำถามในชั้นเรียน
5.3.4 วัดผลจากการสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC110 การบัญชีชั้นต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 3,8,7 10%, 30%, 30%
2 1,2,3,4,5, การปฎิบัติ ทุกสัปดาห์ 10%
3 2,3,4,5 รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2 10%
4 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 10%
Dauderis H., and Annand D., (2014). Introduction to Financial Accounting Based on International Financial Reporting Standards. Second Edition. Valley Educational Services Ltd., Cannada by Athabasc University.
Weygandt J., J, Kimmel D.,P & Kieso E.D., (2015). Accounting Principles ., John Weley & Sons, Inc. NJ
Learning Financial Accounting Financial Accounting Basics: Tutorials point (2014). Tutorial Point Pvt. Ltd.
มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับปรับปรุง 2558 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา) เริ่มปฏิบัติใช้ 1 มกราคม 2559 มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน (TAS 1)

- มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ (TAS 2)
-ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน   การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน  และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งได้จาก  เว็ปไซต์  ต่อไปนี้
http://www.dbd.go.th
http://www.fap.or.th
http://www.rd.go.th
http://www.set.or.th
http://www.market.sec.or.th
มาตรฐานรายงานทางการเงินhttp://www.fap.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539609025&Ntype=10
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ