เครื่องกลไฟฟ้า 2

Electrical Machine 2

                1.  เข้าใจหลักการทำงานของเครื่องกลไฟฟ้าซิงโครนัสและเครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
                2.  คำนวณหาค่าพารามิเตอร์ของเครื่องกลไฟฟ้าซิงโครนัส และเครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
                3.  เข้าใจชนิดของเครื่องกลไฟฟ้าไฟฟ้าซิงโครนัสและเครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
                4.  เข้าใจการควบคุมเครื่องกลไฟฟ้าไฟฟ้าซิงโครนัสและเครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
                5.  อธิบายการนำเครื่องกลไฟฟ้าไฟฟ้าซิงโครนัสและเครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำไปใช้งาน
                6.  เห็นความสำคัญของเครื่องกลไฟฟ้าไฟฟ้าซิงโครนัสและเครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ  เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการนำไปใช้ในชีวิตการทำงานในอนาคตต่อไป
                           ศึกษาเกี่ยวกับหลักการทำงาน การพันขดลวด การคำนวณหาพารามิเตอร์                                         
               การซิงโครไนซ์ วิธีการควบคุม คุณลักษณะและการนำไปใช้งานเครื่องกลไฟฟ้าซิงโครนัส
             หลักการทำงาน วงจรสมมูลย์ การทดสอบ การคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ของเครื่องกลไฟฟ้า
              เหนี่ยวนำ มอเตอร์เหนี่ยวนำ 1 เฟส   การเริ่มเดิน การควบคุมความเร็ว การนำไปใช้งานของ
              เครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  โดยจะประกาศช่วงเวลากำหนดการให้คำปรึกษาในและนอกเวลาเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิลิขสิทธิ์ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น  มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ ใช้ความรู้ทฤษฏีทางด้านเครื่องกลไฟฟ้าและในส่วนที่เกี่ยวข้องในทางที่เหมาะสม โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีความเข้าใจหลักทางทฤษฏีทางเครื่องกลไฟฟ้า  และอันที่จะส่งกระทบต่อบุคคลองค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
วิธีการสอน 


บรรยายพร้อมเนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาที่กำหนดไว้ในรายวิชาเครื่องกลไฟฟ้า 2 ผู้สอนจัดเตรียมเอกสารใบความรู้  ให้ตรงตามจุดประสงค์สิ่งที่ต้องการค้นหา หรือเกี่ยวข้องกับหลักการทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ ถาม - ตอบคำถามทฤษฎีที่เกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ

แก้ปัญหาโจทย์ทางทฤษฏีเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ  เฉลยโจทย์ปัญหาพร้อมแนะนำองค์ความรู้ไปใช้งานแก้ปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
วิธีการประเมินผล
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   ความสนใจซักถามองค์ความรู้ความรู้ที่ได้นำมาสอน
1.3.3   การตอบปัญหา ข้อซักถามทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
1.3.4   ประเมินผลจากผลงานการบ้าน  และรายงานที่มอบหมาย หลังจากการได้ทำการสอน
ความรู้ ที่ต้องได้รับ
              มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ หลักการแปลงพลังงานกลไฟฟ้า พลังงานและพลังงานร่วม โครงสร้าง หลักการและการวิเคราะห์เกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ เครื่องกลไฟฟ้าแบบซิงโครนัส เครื่องกลไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำหนึ่งเฟสและสามเฟส การป้องกัน เครื่องกลไฟฟ้า และทักษะ ความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ  เพื่อเป็นพื้นฐานในระดับที่สูงขึ้น  และการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการนำไปใช้งาน
วิธีการสอน
จัดเตรียมเอกสารใบความรู้เสริมให้กับนักศึกษา พร้อมการบรรยายเกี่ยวกับเอกสารประกอบการสอนและหลักวิธีการแก้โจทย์ปัญหาทางเครื่องกลไฟฟ้า  พร้อมให้ผู้เรียนทำการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฏีเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ และมอบหมายให้ค้นหาองค์ความรู้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เขียนรายงานการค้นคว้า ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล  พร้อมนำมาสรุปในเนื้อหาความรู้ที่ศึกษาและส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
วิธีการประเมินผล
2.3.1   ทดสอบองค์ความรู้ระดับพื้นฐานทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับโดยการซักถาม  ทดสอบหลังศึกษาจบหน่วยเรียน สอบกลางภาคเรียน  และสอบปลายภาคเรียน  ที่เน้นการวัดหลักการทางทฤษฏีเครื่องกลไฟฟ้าที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
2.3.2   ประเมินจากการรายงานผลการค้นคว้าข้อมูลทางทฤษฏีเครื่องกลไฟฟ้า
ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ทางทฤษฏี  เพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
วิธีการสอน
3.2.1   ผู้สอนจัดเตรียมเอกสารใบความรู้ให้กับนักศึกษา  ทำการค้นคว้าองค์ความรู้ในทางทฤษฎีเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อเป็นการเตรียมตัวในชั้นเรียน
3.2.2   ผู้สอนบรรยายให้รายละเอียดความเข้าใจในบทเรียน หรือในเอกสารใบความรู้
3.2.3   ผู้สอนยกตัวอย่าง และให้ผู้เรียนช่วยกันแก้ไขโจทย์ปัญหา โดยผู้สอนจะให้การแนะนำอย่างใกล้ชิด สอบถามปัญหาการบ้านเดิมที่มอบหมาย พร้อมเฉลยวิธีการหาคำตอบที่ถูกต้อง
3.2.4   มอบหมายงานการค้นคว้าเพิ่มเติม หลังจบการเรียนในแต่ละครั้ง  มอบหมายการบ้านโจทย์ปัญหาให้นักศึกษา แสดงวิธีทำหาคำตอบ พร้อมส่งตรวจในวันต่อๆ ไป
วิธีการประเมินผล
3.3.1   การทดสอบความรู้หลังเรียนจบหน่วยการเรียน  และซักถามองค์ความรู้ สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขโจทย์ปัญหา
3.3.2   การประเมินรายงานการค้นคว้ารายบุคคล และรายกลุ่ม
3.3.3   วัดผลจากการสอบกลางภาคเรียน และสอบปลายภาคเรียน
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
วิธีการสอน
4.2.1  ให้ผู้เรียนจัดแบ่งกลุ่มในการค้นคว้าองค์ความรู้ทางเครื่องกลไฟฟ้าในเนื้อหารายวิชาที่เรียน
4.2.2   ผู้สอนจัดการมอบหมายหัวข้อการศึกษาค้นคว้าให้กับกลุ่มนักศึกษา  และนำไปค้นคว้าหลักทฤษฎีทางเครื่องกลไฟฟ้า เป็นรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3   ผู้สอนตรวจสอบรายงานที่ได้ให้นักศึกษาทำการค้นคว้า ทั้งเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล รวมทั้งแก้ไขวิธีการ และให้คำแนะนำจากผู้สอนถ้าต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม
4.2.4   ผู้สอนนำผลงานรายงานของทุกกลุ่มมาสรุปให้ผู้เรียนทั้งชั้นเรียนได้รับทราบ
วิธีการประเมินผล
4.3.1   ประเมินองค์ความรู้ของผู้เรียนเองตามหัวข้อหน่วยการเรียนที่กำหนดให้ หรือควรจะต้องมีในรายวิชานี้  หรือในระดับช่างเทคนิคที่ควรมี
4.3.2   ประเมินจากรายงานสรุปผลรายงาน  และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการสอบ
ทักษะการค้นคว้าหาองค์ความรู้ด้านเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ
5.1.1   ทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับการต่อวงจร ขดลวดของเครื่องกลไฟฟ้า ในการทดสอบเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
5.1.2   พัฒนาทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับ การเขียนวงจรสมมูลย์ทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
5.1.3   พัฒนาทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
5.1.4   พัฒนาทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการขนานเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ เข้าสู่ระบบไฟฟ้าที่ถูกต้องตามหลักขั้นตอนทางวิชาการ
5.1.5   พัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาโจทย์ทางทฤษฏีเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ เกี่ยวกับการคำนวณหาค่ากำลังงานไฟฟ้าสูญเสีย และประสิทธิภาพของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
5.1.6  พัฒนาทักษะในทางทฤษฏีการเลือกใช้งานเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ ให้เหมาะสมและถูกต้องตามหลักทางวิชาการ
5.1.7  พัฒนาทักษะในทางทฤษฏีการควบคุมเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ ให้ถูกต้องตามหลักทางวิชาการ
วิธีการสอน
5.2.1   ผู้สอนจัดเตรียมเอกสารใบความรู้ให้กับนักศึกษา  ทำการค้นคว้าองค์ความรู้ในทางทฤษฎีเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
5.2.2   ผู้สอนบรรยายให้รายละเอียดความเข้าใจในบทเรียน หรือในเอกสารใบความรู้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในทางทฤษฏีตามเนื้อหาในรายวิชา
  5.2.3   ผู้สอนยกตัวอย่าง และให้ผู้เรียนช่วยกันแก้ไขโจทย์ปัญหา โดยผู้สอนจะให้การแนะนำอย่างใกล้ชิด สอบถามปัญหาการบ้านที่ได้มอบหมายไว้  พร้อมเฉลยวิธีการหาคำตอบที่ถูกต้อง
5.2.4   มอบหมายงานการค้นคว้าเพิ่มเติม หลังจบการเรียนในแต่ละครั้ง  มอบหมายการบ้านโจทย์ปัญหาให้นักศึกษา แสดงวิธีทำหาคำตอบ พร้อมส่งให้อาจารย์ผู้สอนตรวจในวันต่อๆ ไป
วิธีการประเมินผล
5.3.1   ประเมินองค์ความรู้ของผู้เรียนตามหัวข้อหน่วยการเรียนที่กำหนดให้ หรือควรจะต้องมีในรายวิชานี้  หรือในระดับช่างเทคนิคที่ควรจะต้องมี
5.3.2   ประเมินจากรายงานสรุปผลรายงาน และการสอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 1 1 1 2 2 2 3 3 4 4 4 4 5 5 5 6 6
1 04212204 เครื่องกลไฟฟ้า 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาคเรียน ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาคเรียน 4 9 12 17 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3 -5.4 รายงานรายบุคคล การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
              ธวัชชัย  อัตถวิบูลย์กุล. ทฤษฎีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริม
      อาชีวศึกษา, 2540.
              นภัทร วัจนเทพินทร์ และประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ. ทฤษฎีเครื่องกลไฟฟ้า 2. กรุงเทพฯ :
      สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์, 2544.
             มงคล ทองสงคราม. เครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด
      วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2541.
              สุภาพ  สุราสา. การทดสอบเครื่องกลไฟฟ้า. ขอนแก่น : วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา,
     2527.
   Nasar, SA. And Unnewehr L.E.,Electromachanics and Electric Machines. (second edition ), John 
     Wiley & Sons Inc. ( USA ), 1973.
เอกสารใบความรู้เครื่องกลไฟฟ้า 2
เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
               http://www.allaboutcircuits.com/vol_2/chpt_13/9.html
               http://www.bptechnicmotor.com/index.php?mo=3&art=156851
               http://www.electricmotors.machinedesign.com/guiEdits/Content/bdeee11/bdeee11_7.aspx
               http://www.sawdustmaking.com/ELECTRIC%20MOTORS/electricmotors.html
               http://www.iprocessmart.com/leeson/leeson_singlephase_article.htm
               http://www.alibaba.com/countrysearch/CN-suppliers/Single_Phase_Motor.html
               http://www.youtube.com/watch?v=lQipa_O-4QA
               http://www.lcr-inc.com/motor-run-capacitors.html
 
และเว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาเครื่องกลไฟฟ้า 2
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

 สอบถามสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนจากผู้เรียน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2   จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการแจ้งผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  ทบทวน ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ผู้สอนศึกษาเพิ่มเติมด้านวิธีการในการเพิ่มพูนความรู้ด้านเครื่องกลไฟฟ้า รวมทั้งปรับปรุงพื้นฐานทางทฤษฏีด้านเครื่องกลไฟฟ้าให้แก่ผู้เรียน
5.3   ผู้สอนศึกษาเพิ่มเติมด้านเทคโนโลยีเครื่องกลไฟฟ้าใหม่ๆ ตลอดเวลา พร้อมทั้งนำมาสอนเสริมความรู้ให้ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนก้าวทันตามทฤษฏีด้านเครื่องกลไฟฟ้าสมัยใหม่
5.4  มีการเอาใจใส่ดูแล  สื่อการสอนทางด้านทฤษฏีเครื่องกลไฟฟ้าให้มีความพร้อมในการใช้งานอยู่ตลอดเวลา