การควบคุมคุณภาพอาหาร

Food Quality Control

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 รู้ความหมาย ความสำคัญ และหลักการในการควบคุมคุณภาพอาหาร
1.2 เข้าใจปัจจัยคุณภาพและลักษณะคุณภาพอาหาร
1.3 เข้าใจวิธีการตรวจวัดคุณภาพทั้งทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และทางประสาทสัมผัส
1.4 รู้และเข้าใจการสุ่มตัวอย่าง และเทคนิคทางสถิติสำหรับการควบคุมคุณภาพ
1.5 มีทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจสอบและการประเมินคุณภาพอาหาร
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ในวงการควบคุมคุณภาพต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในปัจจุบัน
ความหมายและความสำคัญของการควบคุมคุณภาพ ปัจจัยคุณภาพ การตรวจวัดคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลชีววิทยาและประสาทสัมผัสในกระบวนการแปรรูปอาหารระดับอุตสาหกรรม ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป และผลิตภัณฑ์สุดท้าย การสุ่มตัวอย่างอาหาร การตรวจสอบ เทคนิคทางสถิติสำหรับการควบคุมคุณภาพ
 
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยอาจารย์จะแจ้งวันเวลาให้นักศึกษาทราบ หรือติดต่อกับอาจารย์ทางโทรศัพท์หรือ E-mail โดยอาจารย์แจ้งให้นักศึกษาทราบในใบกำหนดการสอนที่แจกให้กับนักศึกษา
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ     1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต 1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม 1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม     1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
 
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง - มีการสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม  จริยธรรม - กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ  - ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
 
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดง ออกในชั้นเรียน และในสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลา การเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์ โดยจัดให้มีการประเมินโดยตนเอง ประเมินโดยเพื่อน และประเมินโดยผู้สอน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา     2.2 มีความรู้ในสาขาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง     2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ  2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมทั้งการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
 
ใช้การสอนแบบบรรยายโดยใช้ powerpoint ประกอบเอกสารคำสอน และการสอนแบบปฏิบัติการ (Laboratory) มีการมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
- การสอบวัดความรู้ 
- ถาม-ตอบปัญหาในชั้นเรียน  
- ทำรายงานรายบุคคลและหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- การนำเสนองานที่ได้มอบหมายในชั้นเรียน
    3.1 มีความสามารถในการ ค้นหาข้อเท็จจริง  ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่นๆโดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ 3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์  3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
 
ใช้วิธีสอนแบบบรรยายและสอนแบบปฏิบัติการ (Laboratory) โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ให้ผู้เรียนทดลองปฏิบัติภายใต้การแนะนำช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด การทดลองฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา
 
ประเมินจากรายงาน การตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบ การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบในกลุ่ม      4.2  สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ     4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ     4.4  สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
 
ในการสอนแบบปฏิบัติการมีการแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ และการมีการนำเสนอรายงาน
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์    5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ     5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้นๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ    5.4 มีวิจารณญานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล    5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม    5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ     5.7 สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
 
การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนองานโดยใช้ PowerPoint การเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
 
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน การนำเสนอความรู้ใหม่ การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอเอกสารรายงานของนักศึกษา
 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
 
จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ใช้เครื่อง อุปกรณ์ และวิธีการให้ได้มาซึ่งกระบวนการแก้ปัญหาทางการควบคุมคุณภาพอย่างเหมาะสม
ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT005 การควบคุมคุณภาพอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 1.3 1.4 พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-15 10 %
2 2.1 2.4 3.3 3.4 สอบรายหน่วย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 1-8,10-16 9 17 60 %
3 4.1 5.1 6.1 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งรายงานบทปฏิบัติการ การนำเสนองาน/การรายงาน 1-15 30 %
ศิริพร ขอพรกลาง. 2547. (พิมพ์ครั้งที่2). การควบคุมคุณภาพ. บริษัทสกายบุ๊กส์จำกัด.ปทุมธานี. 320 น.
ผศ.รัตนา อัตตปัญโญ. 2544. หลักการควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพ. คณะอุตสาหกรรม
เกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 277 น.
ลักขณา รุจนะไกรกานต์ และนิธิยา รัตนาปนนท์.2536. หลักการวิเคราะห์อาหาร.ภาควิชา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 265น.
ลีณา ลีลาศวัฒนกิจ. เทคนิคการวิเคราะห์อาหาร. แหล่งที่มา www.charpa.co.th/ bulletin/
index.html วันที่สืบค้น 22 พ.ค.2558.
วรรณี จิรภาคย์กุล. หลักการวิเคราะห์อาหารเบื้องต้น.แหล่งที่มาhttp://cyberlab.lh1.ku.ac.th/
elearn/faculty/aid/id78/e-learning/Nuj/first_page/index_first.htm.วันที่สืบค้น 2 เม.ย.
2558
- เอกสารประกอบการสอน
- เอกสารบทปฏิบัติการ
 
- เว็บไซด์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น foodnetworksolution.com เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
1.1 นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การใช้สื่อการสอน การประเมินผลนักศึกษา  ด้านบุคลิกภาพและจริยธรรมของผู้สอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา  1.2 ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
 
           2.1 ประเมินจากผลการสอบของนักศึกษา            2.2 ควรมีการประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือสังเกตการสอน (สังเกตการสอนและสอบถามจากนักศึกษา)
 
จากผลการประเมินการสอนในข้อ 1 และ 2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยสาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน นอกจากนี้ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ