สหกิจศึกษาในงานวิศวกรรมกระบวนการอาหาร

Co-operative Education in Food Process Engineering

ทักษะในการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ตลอดจนมีความเข้าใจในหลักการความจำ เป็นในการเรียนรู้ทฤษฎีมากยิ่งขึ้น บูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อนำมาแก้ปัญหาในสถานประกอบการทางด้านอาหาร และที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม มีมนุษย์สัมพันธ์และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เข้าใจวัฒนธรรมและสามารถปรับตัวเข้ากับสถานประกอบการได้ มีความกล้าในการแสดงออก และนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์ในงานได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการฝึกประสบการณ์และเรียนรู้ในเชิงวิสัยทัศน์การทำงานโดยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีต่างๆที่มีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
นักศึกษาต้องปฏิบัติงานเชิงวิชาการหรือวิชาชีพเต็มเวลาเสมือนเป็นพนักงานชั่วคราว ณ สถานประกอบการ ครบภาคการศึกษาสหกิจศึกษาตามที่สาขาวิชา กําหนด เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานนักศึกษาต้องจัดส่งรายงานและนําเสนอผล การปฏิบัติงานนักศึกษาต่อคณาจารย์ในสาขาวิชา เพื่อทําการประเมินผล โดยวัดผลจากการประเมินผลของอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา พนักงานที่ควบคุม การปฏิบัติงานในสถานประกอบการและจากรายงานวิชาการ
หมายเหตุ
1. นักศึกษาต้องมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00  ต้องมีหน่วยกิต สะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  และต้องเรียน วิชาในหลักสูตรให้ครบตามที่กําหนด 
2. นักศึกษาต้องฝึกงาน  ณ  สถานประกอบการตลอดระยะเวลา  1  ภาคการศึกษาปกติ 
3.  การประเมินผลการศึกษา  ให้ค่าระดับคะแนนเป็น S  (Satisfactory), พ.จ. (พอใจ)  และ  U  (Unsatisfactory), ม.จ.  (ไม่พอใจ) 
อย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
(1)         มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2)         มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
(3)         มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
(4)         เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1) สอดแทรกในการเรียนการสอนในกระบวนวิชาต่างๆตามความเหมาะสม
2) จัดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนออกสหกิจศึกษา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร การประพฤติ ปฏิบัติตนในการทํางานร่วมกับผู้อื่น
จากการประเมินผลของนิเทศงานขององค์กรและคณาจารย์นิเทศ
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา และสามารถวิเคราะห์ปัญหารวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
1) จัดกระบวนวิชาเกี่ยวกับการจัดทําโครงงานในระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนนํามาแก้ปัญหาของโครงงาน
2) มีการเรียนรู้ด้านความรู้และทักษะจากประสบการณ์จริง จากสถานประกอบการหรือองค์กรที่ฝึกสหกิจศึกษา
1) ประเมินจากรายงานโครงงาน และการนําเสนอ
2) ประเมินผลจากความพึงพอใจขององค์กร หรือผู้นิเทศงานนักศึกษาและคณาจารย์ผู้นิเทศ
(1)    มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2)    มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1) มีกระบวนวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักการวางแผน ระบบความคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาขณะทํางาน
2) ส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้ขณะลงมือปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข ้าใจเนื้อหาได้ชัดเจนขึ้น
1) ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง โดยผู้นิเทศงาน
2) ประเมินจากรายงานฉบับสมบูรณ์และการนําเสนองาน
มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1) จัดการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน หรือทํากิจกรรมแบบกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบในการทํางานร่วมกับผู้อื่น
2) จัดให้มีการเรียนการสอนภาคปฏิบัติและการเยี่ยมชมดูงานนอกสถานที่เพื่อให้เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นทั้งภายในและ ภายนอกคณะ
1) ประเมินจากผลงานที่นําเสนอ
2) ประเมินผลจากความพึงพอใจของผู้ร่วมงานและผู้นิเทศงาน
เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
เรียนรู้ขณะการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 
รายงานและการนําเสนอผลการปฏิบัติงาน
(1)  มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย
(2)  มีพัฒนาการทางด้านระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
(3)  มีพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ 
6.2.1   นักศึกษาได้ลงมือฝึกทักษะปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทฤษฎีในสาขาวิชาของตนเอง
6.2.2   การฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย  ให้มีความคล่องแคล่วในการทำงาน
6.3.1   ประเมินประสิทธิภาพในทักษะปฏิบัติ ความถูกต้องและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ จากสถานประกอบการ 
6.3.2   ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 52019404 สหกิจศึกษาในงานวิศวกรรมกระบวนการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม คะแนนการประเมินจากทางสถานประกอบการ คะแนนรายงานสหกิจศึกษา คะแนนบันทึกการปฏิบัติงาน ระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา และหลังการฝึกสหกิจศึกษา ร้อยละ 15
2 ด้านความรู้ คะแนนการประเมินจากทางสถานประกอบการ คะแนนรายงานสหกิจศึกษา คะแนนบันทึกการปฏิบัติงาน คะแนนการนำเสนอ (Poster) คะแนนการนิเทศงาน ระหว่างการฝึกสหกิจศึกษาและหลังการฝึกสหกิจศึกษา ร้อยละ 40
3 ด้านทักษะทางปัญญา คะแนนการประเมินจากทางสถานประกอบการ คะแนนรายงานสหกิจศึกษา คะแนนบันทึกการปฏิบัติงาน ระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา และหลังการฝึกสหกิจศึกษา ร้อยละ 15
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คะแนนการประเมินจากทางสถานประกอบการ คะแนนการนิเทศงาน ระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา และหลังการฝึกสหกิจศึกษา ร้อยละ 15
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คะแนนการประเมินจากทางสถานประกอบการ คะแนนรายงานสหกิจศึกษา คะแนนบันทึกการปฏิบัติงาน คะแนนการนำเสนอ (Poster) ระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา และหลังการฝึกสหกิจศึกษา ร้อยละ 10
6 ด้านทักษะพิสัย คะแนนการประเมินจากทางสถานประกอบการ ระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา ร้อยละ 5
คู่มือสหกิจศึกษาประจำปีการศึกษา 2561 
1.  หลักเกณฑ์การประเมิน
ประเมินการบรรลุผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 5 ด้าน โดยให้ระดับคะแนน 1-5   ตามเกณฑ์การประเมินผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย ดังนี้
1 หมายถึง ต้องปรับปรุงอย่างมาก
2 หมายถึง ต้องปรับปรุง
3 หมายถึง พอใช้
4 หมายถึง ดี
5 หมายถึง ดีมาก
นักศึกษาต้องได้รับคะแนนประเมินเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จึงจะผ่านเกณฑ์การ ฝึกสหกิจศึกษา
 
2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา

ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาฝึกสหกิจศึกษา โดยใช้เกณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการสหกิจศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาฝึกสหกิจศึกษา สรุปผลการประเมิน และรายงานผลต่อวิทยาลัยฯ

 
3. ความรับผิดชอบของพนักงานที่ปรึกษาต่อการประเมินนักศึกษา
ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระหว่างฝึกสหกิจศึกษา และเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกสหกิจศึกษา ตามแบบฟอร์มการประเมินของหลักสูตร
4. ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบสหกิจศึกษาต่อการประเมินนักศึกษา
ประเมินผลนักศึกษาหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกสหกิจศึกษา ตามแบบประเมิน โดยพิจารณาจากรายงานผลการประเมินตนเองของนักศึกษา บันทึกผลการนิเทศ และรายงานผลการฝึกฯ ของพนักงานที่ปรึกษา
5. การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง
อาจารย์ประจำหลักสูตรประสานงานกับสถานประกอบการ เพื่อทำความเข้าใจในการประเมิน หากเกิดความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ มีการประชุมร่วมกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณา หาข้อสรุป
1.  กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้
 1.1  นักศึกษา
จัดให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
 1.2  พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
พนักงานที่ปรึกษาบันทึกงานที่มอบหมาย และผลการฝึกฯ ในแบบฟอร์ม และสุ่มถามด้วยวาจา
 1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
อาจารย์ที่ปรึกษาเฉพาะเรื่อง บันทึกการให้คำปรึกษา ผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษา ในแบบฟอร์มรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม การนำคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาไปใช้ในการแก้ปัญหาของนักศึกษา
               1.4  อื่น ๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่
ติดตามความความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตามสาขาวิชา โดยการสำรวจสอบถามจากผู้ประกอบการและบัณฑิต
ประชุมในระดับสาขาวิชา หรือสาขา ร่วมพิจารณานำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไป นำแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินการหลักสูตร โดยวิเคราะห์ผลจากแบบสอบการสอบถามความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษา และที่นักศึกษามีต่อสถานประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมความพร้อมก่อนการออกฝึกสหกิจศึกษา
ในระหว่างกระบวนการฝึกปฏิบัติการภาคสนาม มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก   การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจาก ผลการรายงานความก้าวหน้าโครงงานวิจัย มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจําหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดย ตรวจสอบแบบฟอร์มการให้คะแนนการนําเสนอและการให้คะแนนรายงาน การให้คะแนนพฤติกรรม ฯลฯ
อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ประมวลผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษาจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษา จากพนักงานพี่เลี้ยง และจากอาจารย์ที่ปรึกษาเฉพาะ เรื่อง รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตร และประธานหลักสูตร หรือหัวหน้าภาควิชาเพื่อทราบ ประชุมในระดับสาขาวิชา หรือสาขา ร่วมพิจารณานำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไป นำแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินการหลักสูตร