การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการตลาด

Food Products Development and Marketing

อธิบายถึงความจำเป็นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารได้รวมทั้งปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร สามารถวิเคราะห์การตลาดของผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคในระดับท้องถิ่นและอุตสาหกรรมได้ มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต มีความรู้ความเข้าใจในหลักการการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่
รายวิชานี้จะนำนักศึกษาไปหาความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ในสถานประกอบการ และนำการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองเข้ามาใช้มากขึ้น รวมทั้งจัดทำปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละชั่วโมงสอนด้วย
ระบบและกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การพยากรณ์ความต้องการและแนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ การสร้างและคัดเลือกความคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การประเมินและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส หลักการตลาด การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่
อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอน โดยจัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
(1)         มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2)         มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
(3)         มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
(4)         เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1      เน้นให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนตรงเวลา และแต่งกายให้ตรงตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ฯ
1.2.2      ใช้การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พร้อมทั้งให้ผู้เรียนตั้งคำถามหรือตอบคำถามโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน
1.2.3      อภิปรายกลุ่มและนำเสนอผลงาน
1.2.4      ฝึกการทำงาน ทำแบบฝึกหัด และทำข้อสอบด้วยความสุจริต
1.3.1 ประเมินจากความรับผิดชอบในการส่งงานตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา และพฤติกรรมการเข้าเรียน
1.3.2  ประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน และโอกาสต่างๆนอกห้องเรียน
1.3.3  ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1.3.4  ประเมินจากการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบและกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การพยากรณ์ความต้องการและแนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ การสร้างและคัดเลือกความคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การประเมินและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส หลักการตลาด การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยนักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย อภิปราย การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรียนรู้และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อประมวลผลความรู้จากการรับฟังในภาคบรรยาย การแก้ปัญหาโจทย์การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าโจทย์ปัญหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยการนำมาสรุปและนำเสนอด้วยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1      การสอบย่อย การทำแบบฝึกหัดท้ายบท การสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2      ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาและจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงสามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางอาหารไปใช้ในด้านวิชาการและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา 
(1)    มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2)    มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1      การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
3.2.2      จัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษาการวิเคราะห์ ทักษะการคิด มีการทบทวนบทเรียน และการทำแบบฝึกหัด
3.3.1     ประเมินจากการตอบปัญหาและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
3.3.2      การสอบย่อย การสอบข้อเขียนที่มีการแสดงถึงทักษะกระบวนการทางความคิดและการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานนั้นมาตอบคำถามที่แปรผันได้
นักศึกษาต้องได้รับการฝึกประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคล และกลุ่มบุคคลต่างๆ โดยอาจารย์ผู้สอนต้องแนะการวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม และพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้

มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1     กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่มให้ชัดเจนและเข้าถึง
4.2.2  มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มในการปฏิบัติการ เพื่อให้ทำงานกับบุคคลที่หลากหลายมากขึ้น
4.2.3      จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม
4.3.1      ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2      ประเมินจากความรับผิดชอบจากการรายงานส่วนบุคคลและรายงานกลุ่ม ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4.3.3      ให้นักศึกษาประเมินความสัมพันธ์สมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชา และพัฒนาทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
5.2.1      มีการนำเทคนิคการสืบค้น เพื่อทำรายงานและหาแหล่งข้อมูลในทางที่แม่นยำและถูกต้อง
5.2.2      นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3      มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
5.3.1      ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2      ประเมินจากการสุ่มหาเอกสารอ้างอิงจากการที่ผู้เรียนทำรายงานมาส่งได้
5.3.3      ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
นักศึกษามีการพัฒนาทักษะปฏิบัติในการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอาหารได้ โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
              (1)  มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย
              (2)  มีพัฒนาการทางด้านระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
              (3)  มีพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ 
6.2.1   นักศึกษาได้ลงมือฝึกทักษะปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทฤษฎีในทุกคาบเรียน
6.2.2   การฝึกปฏิบัติการทำงานระดับห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย      ให้มีความคล่องแคล่วในการทำงาน
6.3.1   ประเมินประสิทธิภาพในทักษะปฏิบัติ ความถูกต้องและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
6.3.2   ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการลงมือปฏิบัติในทุกคาบเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 52012305 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการตลาด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านความรู้ - ทดสอบย่อย - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค ก่อนกลางภาค กลางภาค หลังกลางภาค ปลายภาค 60%
2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/ การส่งงานตามที่มอบหมาย ก่อนกลางภาค หลังกลางภาค 5%
3 ด้านทักษะทางปัญญา กิจกรรมกลุ่ม (การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่) ก่อนกลางภาค หลังกลางภาค 10%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รายงานแผนการทำธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ก่อนกลางภาค หลังกลางภาค 10%
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ งานกลุ่ม (การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และเอกสารการนำเสนอ) ก่อนกลางภาค หลังกลางภาค 10%
6 ด้านทักษะพิสัย ทักษะการปฏิบัติ ก่อนกลางภาค หลังกลางภาค 5%
1 คณาจารย์ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์.  2552.  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 3 คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; กรุงเทพมหานคร, 466 หน้า
2 วารุณี ตันติวงศ์วาณิช, นิภา นิรุตติกุล, สุนทรี เหล่าพัดจัน, พรพรหม พรหมเพศ, นิตยา งานแดน และ ผศ. จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. 2554.  หลักการตลาด ฉบับมาตรฐานและนิยามศัพท์การตลาด. เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า;กรุงเทพมหานคร, 344 หน้า
3. Smith, d. (2010). Exploring Innovation. 2nd Edition Mc Graw Hill. ISBN 13978-0-712123-
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1         การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2         แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3         ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1         การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.2         ผลการเรียนของนักศึกษา (การสอบกลางภาคและปลายภาค)
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการ   สอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
3.2 ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษา โดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.3  ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะแก่กลุ่มนักศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจแบบฝึกหัด เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2      ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
5.3      ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้มีความน่าสนใจ มีการเลือกใช้สื่อที่ทันสมัย
5.4      นำข้อคิดเห็นจากการประเมินโดยนักศึกษามาประมวล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม ผลจากการประมวลจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป