การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเบื้องต้นทางเมคคาทรอนิกส์

Project Based Learning of Basic Mechatronics

เพื่อให้นักศึกษา สามารถออกแบบและสร้างระบบทางเมคคาทรอนิกส์ผ่านชุดหุ่นยนต์เพื่อการศึกษา ที่ควบคุมโดยใช้โปรแกรมภาษาโลโก้ หรือภาษาอื่นๆ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Conceive - Design - Implement - Operate (CDIO) 
โดยมีอาจารย์เกื้อหนุน (Facilitator) เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา 
การเรียนรู้โดนใช้โครงงานเป็นฐานระดับเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างระบบทางเมคคาทรอนิกส์ผ่านชุดหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ ที่ควบคุมโดยใช้ภาษาโลโก้ ซึ่งกระบวนการเรีนยรู้แบบ CDIO ผ่านการรับรู้ปัญหา กระบวนการออกแบบ การลงมือปฏิบัติและการดำเนินงาน ซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้ทางวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และการดำเนินการจริง โดยมีอาจารย์เกื้อหนุน (Facilitator) ฝึกการเรียนรู้ของนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาเโครงงานให้ความรู้เฉพาะทาง นักศึกษาจะต้องนำเสนอให้กับอาจารย์เกื้อหนุนทุกสัปดาห์ และจะต้องส่งรายงานผลต่อคณะกรรมการ สอบโครงงานที่ไม่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์เกื้อหนุน ตั้งแต่การสอบข้อเสนอโครงการ การรายงานความก้าวหน้าและการสอบโครงงาน
ไม่มี
1) การมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
สร้างข้อตกลงร่วมกันในการทำกิจกรรมในรายวิชา และกิจกรรมเสริมหลักสูตร
การเข้าห้องเรียนในเวลาที่ร่วมกันกำหนด
1) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
ให้นักศึกษาทำการค้นคว้า เพื่อสืบเสาะหาปัญหา ทำความเข้าใจ ดำเนินการสร้างต้นแบบ และทดลอง ทำการแก้ไขปัญหา  โดยมีใช้หุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ ในการทดลองสร้างต้นแบบ และดำเนินการทำซ้ำ เพื่อให้ได้ต้นแบบที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
ทำการนำเสนอในแต่ละรายสัปดาห์ ในหัวข้อต่อไปนี้
1) ความสามารถในการระบุปัญหา 2) ความสามารถในการค้นคว้าวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่แล้ว 3) ความสามารถในการสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหา  
1) สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
 
1) การอภิปรายกลุ่ม
2) การลงมือปฏิบัติจริง
การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
 
1) สามารถเป็นผู้ริ่เริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์จริงเชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
2) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3) รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
จัดให้มีกิจกรรมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม เข้ามาร่วมในการจัดการเรียนรู้
ประเมินจากการสังเกตและการทำแบบสอบถามความคิดเห็น
1) มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
2) มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
ให้ทำการนำเสนอจากการค้นคว้าในรูปแบบต่างๆ ตามหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่นักศึกษาสนใจที่จะทำการแก้ไขและสร้างวิธีการแก้ไขปัญหา
1) การนำเสนอในชั้นเรียน
2) การเขียนสะท้อนความรู้สึก
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้มีการปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และการเรียนรู้
ทำการลงมือทดลองปฏิบัติ โดยมีการศึกษาก่อนทำการทดลอง และทำการบันทึกกระบวนการที่ทำเป็นระยะ
บันทึกกระบวนการทำงาน และผลการทำงานในแต่ละสัปดาห์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGMC101 การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเบื้องต้นทางเมคคาทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม บันทึกการเข้าห้องเรียนของและพฤติกรรมในห้องเรียนในห้องเรียน 15 20
2 ความรู้ รายงานผลการทำงาน 4, 8, 12, 15 20
3 ทักษะทางปัญญา วีดีโอนำเสนอผลงานของนักศึกษา 4, 8, 12, 15 20
4 ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ สรุปรายงานการทำงาน 4, 8, 12, 15 15
5 ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ วีดีโอนำเสนอผลงานของนักศึกษา 15 15
6 ทักษะพิสัย ชิ้นงานของนักศึกษา (การแข่งขัน) 15 10
ธาริณี เจิรญสุข, "MicroworldPro",[online] http://www.esaat.net/esaatold/dlf/homework/phayathai/tharinee_jareunsuk/MicroWorld 20Pro.pdf
FIRST Tech challenge Pushbot Guide, [online]: https://www.firstinspires.org/sites/default/files/uploads/resource_library/ftc/2016-2017-season/pushbot-build-guide.pdf
 
First Tech Challenge Resource Library, [online]: https://www.firstinspires.org/resource-library/ftc/robot-building-resources
1) ประเมินผลจากการบันทึกกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา
2) ประเมินผลจากการนำเสนอของนักศึกษา
3) ประเมินผลจากการทำงานร่วมกันของนักศึกษา
1) ประเมินผลจากพฤติกรรมตอบโต้กลับของนักศึกษา
2) ประเมินด้วยกิจกรรมสะท้อนความคิดเห็น
ประเมินจากการสอบถามปัญหา และผลงานของนักศึกษา