ฝึกงานทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

Job Internship in Food Product Development

ฝึกงานปฏิบัติวิชาชีพในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตร โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน
เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกงานปฏิบัติวิชาชีพในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตร โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน
ฝึกปฏิบัติงานการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือหน่วยงานเอกชนและราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ภายในหรือต่างประเทศโดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงานมีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน
On-the-job training program in food industries, governmental or non-governmental organization in the country or overseas by Integrate knowledge into practice, training report writing, internship presentation and recommendation for work improvement.
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
การประเมินผลสัมฤทธิ์ตามลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง 6 ด้านของนักศึกษา
การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U) โดยมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้
1) นักศึกษาประเมินตนเองในผลการเรียนรู้ครบถ้วนทุกด้าน
2) นักศึกษาต้องทำการฝึกงานจนครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนด
3) นักศึกษาจัดทำรายงานและนำเสนอต่อสถานประกอบการหรือสถานที่ฝึกงานตามเวลาที่กำหนด
4) นักศึกษาจัดทำรายงานและนำเสนอผลการฝึกงาน (แบบปากเปล่า) พร้อมข้อเสนอแนะในการฝึกงานต่ออาจารย์ประจำวิชา และหลักสูตรสาขาวิชา ภายหลังการฝึกงานภายในในระยะเวลาไม่เกินสองสัปดาห์นับจากฝึกงานเสร็จเรียบร้อย (ก่อนปิดภาคการศึกษาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้นๆ)
กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้
1.1. นักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตรและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัย
1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
รวบรวมผลการประเมินการสอนนักศึกษา คะแนนฝึกงาน พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติม การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U)
1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
รวบรวมผลการประเมินการสอนนักศึกษา คะแนนฝึกงาน พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตร การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U)
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนนักศึกษา คะแนนฝึกงาน พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ นำเสนอข้อมูลตามลำดับ และหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการในรายละเอียดที่จำเป็น จะมีการนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา จะต้องมีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นในประเด็นดังนี้
2.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี /ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ และหรือ
2.2 การปรับเปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือการจัดตั้งทีมอาจารย์ผู้สอนและกรรมการนิเทศ การฝึกงาน เพื่อให้การดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนทั้งด้านกิจกรรมและแผนการฝึก การติดตามและการประเมินผลการฝึกประสบการณ์ โดยสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา และมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตรต่างๆ