คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการกระบวนการผลิตอาหาร

Computer Aided for Food Production Management

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ช่วยในการวางแผนและการจัดการกระบวนการผลิตอาหาร ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการประมวลข้อมูล รวมถึงแก้ปัญหาในงานด้านการบริหารงานผลิต เช่น การตัดสินใจ การกำหนดตารางการผลิตและการควบคุมการขนส่ง การควบคุมสินค้าคงคลัง 
 
เพื่อเพิ่มเติมสื่อการเรียนการสอนให้เข้ากับตําราเรียน ที่มีตัวอย่างที่ทันสมัย และน่าสนใจมากขึ้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและการจัดการกระบวนการผลิตอาหาร ได้จริง  
การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ช่วยในการวางแผนและการจัดการกระบวนการผลิตอาหาร การใช้ควบคมุเครื่องจักรอุปกรณ์ในระบบการผลิต รวมถึงแก้ปัญหาในงานด้านการบริหารงานผลิต เช่น การกำหนดตารางผลิตและการควบคุมการขนส่ง การควบคุมสินค้าคงคลัง 
อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอนโดย จัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ โดยมี คุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ 
1.1.1  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3  มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทํางานได้อย่างเป็นระบบอย่างเหมาะสม
1.1.4  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 
1.2.1 สอดแทรกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงภาระ ความรับผิดชอบของอาชีพ และ ผลกระทบที่เกิดขึ้นหากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
1.2.2 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพ ระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์ สื่อสาร 
1.2.3 ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์ โดยยกตัวอย่างอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การลอกการบ้าน การลอกกันระหว่างการทดสอบย่อย 
1.2.4 ให้ความสําคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กําหนด 
1.3.1 คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา 
1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมต่างๆของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้น ว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์ให้เหมาะสม มากขึ้น
ความรู้ที่จะได้รับครอบคลุมตามวัตถุประสงค์รายวิชา ประกอบไปด้วย การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การฝึกปฏิบัติ การฝึกใช้ซอฟต์แวร์สําเร็จรูปเพื่อ ช่วยงานกระบวนการอาหาร การเขียนโปรแกรมเพื่อใช้กับระเบียบวิธีเชิงตัวเลข เทคนิคการ วิเคราะห์ต่างๆ และสามารถใช้โปรแกรมงานเขียนแบบได้ เช่น SolidWorks โดยนักศึกษาต้อง สามารถบูรณาการความรู้วิชานี้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้งต้องมีความรู้เพียงพอในการประยุกต์ในงานจริงได้
บรรยายโดยใช้ Power point สอนใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และกระดานดําให้แบบฝึกหัดทําในห้อง การบ้าน ทําการทดสอบ ย่อย และลงปฏิบัติ 
2.3.1 ประเมินจากแบบทดสอบย่อยสอบกลางภาคและสอบปลายภาค 
2.3.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
พัฒนาความสามารถในการนําความรู้มาคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพและสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
ใช้ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยตนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา มอบหมายการบ้านและแบบฝึกหัดให้ นักศึกษาทําประจําสัปดาห์ตามหัวข้อต่างๆ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา 
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นําและผู้ตามในการทํางานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน ตามกําหนดเวลา
4.1.4 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน 
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทํางานทั้งกลุ่มและเดี่ยว ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกําหนดโจทย์ กําหนดบทบาทในการทํางาน และให้นําเสนอผลงาน รวมทั้งให้นักศึกษามีบทบาทในการให้ ความเห็นกับผลงานของคนอื่น หรือกลุ่มอื่น
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นําเสนอ พฤติกรรมการทํางานเป็นทีม 
4.3.3 พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
4.3.4 ประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนําเสนอผลงาน 
5.1.1 สามารถสืบค้นศึกษาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
5.1.2 ทักษะในการนําเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 
5.1.3 สามารถแนะนําประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ 
5.1.4 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน
5.1.5 มีความสามารถและความมั่นใจในการสรุปผลการศึกษา 
5.1.6 สามารถใช้เครื่องมือการคํานวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพใน สาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทํารายงานโดยเน้นการนําตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่ น่าเชื่อถือ 
5.2.2 นําเสนอโดยรูปแบบ power point โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย และพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
นักศึกษามีความสามารถพัฒนาตนเองได้  เกิดทักษะจากการปฏิบัติ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและมีความสามารถในการตัดสินใจ โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
6.1.1 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย
6.1.2 มีพัฒนาการทางด้านระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
6.1.3 มีพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ 
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฝึกทักษะการปฏิบัติ โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติสร้างผลงานตามชิ้นงานต้นแบบ และออกแบบชิ้นงานด้วยตัวเองอย่างสร้างสรรค์ 
วัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และทักษะการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้ 
6.3.1 จากประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติ ความถูกต้อง
6.3.2 การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และความสามารถในการตัดสินใจ
6.3.3 พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3
1 ENGFI209 คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการกระบวนการผลิตอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 2.3, 3.1, 3.3, 5.1 สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค (โปรเจครายบุคคล) 9 และ 18 20% และ 30%
2 1.1, 4.1, 4.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 2.1, 2.3, 3.1, 3.3, 4.1, 4.3, 5.3 การบ้าน แบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 40%
1. ผศ.ดร.จตุรงค์ลังกาพินธุ์. คู่มือการใช้โปรแกรม SolidWorks ขั้นพื้นฐาน ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
2. สายชล สินสมบูรณ์ทอง. การวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวโดยใช้ SPSS และ MINITAB
ไม่มี
ไม่มี
แบบประเมินผู้สอน
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษาและผลสอบ 
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียน รายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจําหลักสูตร 
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย ตรวจสอบ ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก3ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
5.2 ประเมินรายวิชาทุกปีตามแบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา