การผลิตโคนม

Dairy Cattle Production

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้เกี่ยวกับความสำคัญและสภาพการผลิตโคนมภายในประเทศ พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ โรงเรือนและอุปกรณ์ อาหารและการให้อาหาร การจัดการฝูงและบริหารฟาร์มโคนม มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงโคนม การจัดการของเสีย สุขศาสตร์และการจัดการสุขภาพฝูงโคนม การจัดการน้ำนมและการตลาด
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ปฏิบัติได้และประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เทคนิค และวิธีการต่างๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  โดยสามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการฟาร์มโคนมต่อไป
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ และสภาพการผลิตโคนมภายในประเทศ พันธุ์และการปรับ-ปรุงพันธุ์ โรงเรือนและอุปกรณ์ อาหารและการให้อาหาร การจัดการฝูงและบริหารฟาร์มโคนม มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงโคนม การจัดการของเสีย สุขศาสตร์และการจัดการสุขภาพฝูงโคนม การจัดการน้ำนมและการตลาด
กำหนดวัน เวลา และสถานที่ให้คำปรึกษาทั้งกลุ่มและรายบุคคล คือวันพุธ  เวลา 15.00 ถึง16.00 น. ณ ห้องสมุด
1.1.1. มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.1.2. แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
1.1.3. มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด และมีความรับผิดชอบ ต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4. เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.5. เคารพสิทธิและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้น เรียน ทั้ง ในกลุ่มและนอกกลุ่ม
1.2.1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาตั้งคำถามหรือตอบคำถาม
1.2.2. อภิปรายกลุ่ม โดยกำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง  นักศึกษาต้องมีความ
รับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม ต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม
1.2.3. กำหนดให้มีวัฒนธรรมที่เป็นขององค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย มุ่งเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา  ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ  มีความซื่อสัตย์โดยไม่กระทำการทุจริตในการสอบ หรือลอกการบ้านผู้อื่น สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในระหว่างการสอนในรายวิชา รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น ยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม
1.3.1. สอบข้อเขียนความเข้าใจ อธิบายเกี่ยวกับความสำคัญและสภาพการผลิตโคนมภายในประเทศ พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ โรงเรือนและอุปกรณ์ อาหารและการให้อาหาร การจัดการฝูงและบริหารฟาร์มโคนม มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงโคนม การจัดการของเสีย สุขศาสตร์และการจัดการสุขภาพฝูง โคนม การจัดการน้ำนมและการตลาด
1.3.2. ประเมินผลจากการทำงานเป็นกลุ่ม ความสัมพันธ์ในกลุ่ม การนำเสนองานที่มอบหมาย โดยมีการอ้างอิงเอกสารที่ได้รวบรวมมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม                      
1.3.3. ประเมินพฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งรายงานบทปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลา
1.3.4. ประเมินวิธีการปฏิบัติการที่ดีก่อนและหลัง พร้อมทั้งควบคุมระหว่างกระบวนการ  ต่างๆ ในภาคปฏิบัติ
นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการและทฤษฏีที่สัมพันธ์กันเกี่ยวกับความสำคัญ และสภาพการผลิตโคนมภายในประเทศ พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ โรงเรือนและอุปกรณ์ อาหารและการให้อาหาร การจัดการฝูงและบริหารฟาร์มโคนม มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงโคนม การจัดการของเสีย สุขศาสตร์และการจัดการสุขภาพฝูงโคนม การจัดการน้ำนมและการตลาด
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาความรู้ใหม่ บทความ ข้อมูลหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายแบบย่อและการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง และการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต
2.3.1. สังเกตความสนใจและซักถามระหว่างการบรรยาย และปฏิบัติการต่างๆ
2.3.2. สอบข้อเขียนเกี่ยวกับความสำคัญ และสภาพการผลิตโคนมภายในประเทศ พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ โรงเรือนและอุปกรณ์ อาหารและการให้อาหาร การจัดการฝูงและบริหารฟาร์มโคนม มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงโคนม การจัดการของเสีย สุขศาสตร์และการจัดการสุขภาพฝูงโคนม การจัดการน้ำนมและการตลาด
2.3.3. ประเมินผลการนำเสนอความรู้ใหม่ หรืองานวิจัยทางด้านการจัดการผลิตโคนม เช่น การตอบข้อซักถามความเข้าใจและการประยุกต์ความเข้าใจกับวิชาอื่น
พัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาทั้งใน และนอกชั้นเรียน รวมทั้งสามารถใช้ความรู้ทางทฤษฏีและการปฏิบัติที่ได้รับเพื่อส่งเสริมและพัฒนาด้านการจัดการผลิตโคนมได้
3.2.1. ฝึกปฏิบัติด้านการจัดการผลิตโคนมได้
3.2.2. มอบหมายให้ปฏิบัติตามกรณีศึกษาที่กำหนด รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และนำเสนองานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับนำเสนอผลงาน/รายงานทุกครั้งภายในเวลาที่กำหนด
3.2.3. อภิปรายกลุ่ม
3.2.4. ประยุกต์ใช้เทคนิค วิธีการ เทคโนโลยี ฯลฯ กับกรณีศึกษาต่างๆ
3.3.1. ทดสอบย่อย  สอบกลางภาค  สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ  ซึ่งต้องใช้ปฏิภาณและไหวพริบในการแก้ปัญหา
3.3.2. สังเกตพฤติกรรมที่จำเป็นต้องวิเคราะห์กรณีศึกษา รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ
4.1.1. พัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่ม และร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
4.1.2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม  โดยมุ่งเน้นความมีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี
4.1.3. พัฒนาการเรียนรู้เฉพาะตนอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อให้กลุ่มที่ได้รับงานมอบหมาย ปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
4.2.1. แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมตามกรณีศึกษา
4.2.2. มอบหมายงานกลุ่ม ทำการบันทึกผลการปฏิบัติตามขั้นตอน  แล้วนำผลมาวิเคราะห์ร่วมกัน และเขียนรายงานบุคคลทั้งกลุ่มต่อไป
4.2.3. นำเสนอรายงานโดยมีการหมุนเวียนผู้นำเสนอ ในแต่ละกรณีศึกษา
4.3.1. ประเมินจากรายงานการศึกษาส่วนบุคคลตามกรณีศึกษา
4.3.2. ประเมินจากผลการนำเสนองานกลุ่มจากผู้สอน ตนเอง และเพื่อนร่วมชั้น
5.1.1 พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ การคิดคำนวณด้วยตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการอ่าน การพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนองานในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต
5.1.4 พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์
 5.1.5 พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้เทคนิค รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยใช้เทคนิค รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายให้ปฏิบัติ และค้นคว้าเพิ่มเติม  แล้วนำมาสรุปเป็นรายงาน นำเสนอหน้าชั้นเรียน  โดยเน้นการนำเทคโนโลยีมารสนเทศมาใช้
5.3.1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อที่ใช้เทคโนโลยี
5.3.2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและอธิบายรายละเอียด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 8 30 %
2 สอบปลายภาค 17 40 %
3 - การนำเสนอรายงาน - การทำงานกลุ่มและผลงาน - การอ่านและสรุปบทความ - การส่งงานตามที่มอบหมายรายบุคคล ตลอดภาคการศึกษา 20 %
4 - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ.  2539.  การปรับปรุงพันธุ์โคนม.  ประมวลความรู้เกี่ยวกับโคนม.  33-36.
บวรศักดิ์ หัสดิน ณ อยุธยา.  2532.  คู่มือการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้สูง.  ส่งเสริมอาชีพธุรกิจ เพชรกะรัต, กรุงเทพมหานคร.  79 น.
พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป.  2539.  การจัดการโคนม.  ประมวลความรู้เกี่ยวกับโคนม.  72 น.
วิชัย โคตรฐิติธรรม.  2538.  ทิศทางของ อ.ส.ค. ในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำนมดิบเพื่อพัฒนา
สุพจน์ เมธิยะพันธุ์.  2539.  โรคเต้านมอักเสบ.  ประมวลความรู้เกี่ยวกับโคนม.  135-144.
อาณัติ จันทร์ถิระติกุล.  2555.  การผลิตโคนม.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
จรัญ จันทรักษา.  2538.  สภาวะการเลี้ยงโคนมและผลิตภัณฑ์นมในประเทศไทย.  
ธีรพงศ์ ธีรภัทรสกุล.  2533.  การผลิตนมให้มีคุณภาพดีและการควบคุมโรคเต้านมอักเสบ.
รุ่งทิพย์ ชวนชื่น และ เกรียงศักดิ์ สายธนู.  2539.  คุณภาพน้ำนม.  ประมวลความรู้เกี่ยวกับโคนม.  245-255.
วิพิชญ์ ไชยศรีสงคราม.  2541.  การตรวจคุณภาพน้ำนมและผลิตภัณฑ์.
สุเมท ปทุมสุวรรณ.  2540.  คุณภาพน้ำนมดิบสู่โรงงาน.  วารสารโคนม.  16(1): 55-60.
 
เกรียงศักดิ์ สายธนู และธงชัย เฉลิมชัยกิจ.  2541.  ชุดตรวจสอบยาปฏิชีวนะตกค้างในน้ำนมโคขนิดใหม่.  เอกสารการประชุมวิชาการโคนมและผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 2.  
        53-63.
เกรียงศักดิ์ สายธนู.  2539.  คุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำนมโคดิบ.  เวชชสารสัตวแพทย์.  26(3): 193-214.
ธงชัย เฉลิมชัยกิจ  เกรียงศักดิ์  สายธนู และศุภชัย เนื้อสุวรรณ.  2539.  ยาและสารตกค้างในน้ำนมโค.  ประมวลความรู้เกี่ยวกับโคนม.  257-284.
ธีรพงศ์ ธีรภัทรสกุล.  2538.  การวิเคราะห์น้ำนมรวมเพื่อหาแนวทางแก้ไขโรคเต้านมอักเสบ และปรับปรุงสุขลักษณะน้ำนม.  สัตวแพทยสาร.  46(2):47-54.
สมใจ ศรีหาคิม.  2535.  ปัญหาสุขภาพโคนมนำเข้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.  เอกสารวิชาการด้านสุขภาพสัตว์.  1-12.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้ มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรม ในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวัง
จากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบรายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะ และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ