อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

Power Electronics

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1  เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจหลักการพื้นฐานของการเรียงกระแส  การแปลงผันเอซีเป็นเอซี  การแปลงผันดีซีเป็นดีซี  และการแปลงผันเอซีเป็นดีซี
1.2  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจพฤติกรรมการทำงานและคุณลักษณะกระแส-แรงดันไฟฟ้าของไดโอด             ไธริสเตอร์  ทรานซิสเตอร์  มอสเฟต  ไทรแอก และไอจีบีที 
1.3   เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการเลือกใช้งานสวิตซ์สารกึ่งตัวนำกำลังชนิดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้งาน    
1.4  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของวงจรเรียงกระแสหนึ่งเฟสชนิดควบคุมกำลังไฟฟ้าด้านเอาต์พุตไม่ได้ที่ต่อโหลดเป็นตัวต้านทาน  เป็นตัวต้านทานและตัวเหนี่ยวนำอนุกรมกัน  และเป็นตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำและแบตเตอรี่อนุกรมกันได้
1.4  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ ของวงจรเรียงกระแสสามเฟสชนิดควบคุมกำลังไฟฟ้าด้านเอาต์พุตไม่ได้ที่ต่อโหลดเป็นตัวต้านทานได้
1.5  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ในข้อ 1.2 และ 1.3    เพื่อทำความเข้าใจการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ ของวงจรเรียงกระแสหนึ่งเฟสและสามเฟสชนิดควบคุมกำลังไฟฟ้าด้านเอาต์พุตที่มีโหลดเป็นตัวต้านทาน และเป็นตัวต้านทานและตัวเหนี่ยวนำอนุกรมกัน ได้
1.6  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบหาค่าองค์ประกอบของวงจรแปลงผันดีซี-ดีซีชนิดกระแสไหลผ่านตัวเหนี่ยวนำต่อเนื่องให้มีพฤติกรรมการทำงานเป็นตามที่กำหนดได้ 
1.7  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าองค์ประกอบของวงจรแปลงผันดีซี-เอซีหนึ่งเฟสให้มีพฤติกรรมการทำงานเป็นตามที่กำหนดได้ 
1.8  เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงบทบาทของศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลังในการประยุกต์ใช้งานในเครื่องใช้ไฟฟ้าและในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้พื้นฐานด้านวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แคลคูลัสและตรีโกณมิติ  มาประยุกต์และพัฒนาการเรียนรู้ในศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลังให้มีความเข้าใจ และการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีการจำลองการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลังด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็วขึ้นและสามารถเรียนรู้พฤติกรรมการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้ด้วยตนเอง  รวมถึงการนำผลการศึกษาวิจัยมาพัฒนาเป็นเนื้อหาของรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง หลักการแปลงผันไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง  หลักการแปลงผันไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสสลับ หลักการแปลงผันไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสตรง หลักการแปลงผันไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ การประยุกต์ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
     3.1 อาจารย์ประจำวิชาสอนที่ห้อง EP41 อาคารสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ตามตารางสอนปกติ      3.2 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของผู้เรียน หรือกรณีที่ผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนมีแนวโน้มผลการเรียนอ่อนหรือทำการบ้านไม่ได้อย่างน้อย  3  ชั่วโมง/สัปดาห์
    3.3 นักศึกษาฝึกทำแบบทดสอบในฐาน E-learning เพื่อเตรียมสอบจริงก่อนสอบกลางภาคและปลายภาค จำกัดจำนวนครั้งในการทำข้อสอบบทละไม่เกิน ๕ ครั้งต่อคน แจ้งคะแนนให้ทราบหลังสอบทันทีเพื่อให้ผู้เรียนทราบสถานะของตนเอง
 
                     ในรายวิชา EEENG110 อิเล็กทรอนิกส์กำลัง กำหนดกลวิธีการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม ของผู้เรียนไว้ดังนี้
(1) เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์ สุจริต
(2) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
(3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(4)  สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
(5)  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
         โดยคุณลักษณะข้อ (2) เป็นคุณลักษณะหลัก และคุณลักษณะข้อ (1), (4), และ (5) เป็นคุณลักษณะรองที่กำหนดตามเล่ม มคอ.2 โดยผู้สอนจะสอดแทรกให้ผู้เรียนตระหนักในผลกระทบหรือผลเสียที่จะเกิดขึ้นได้อันเนื่องมาจากการแปลงรูปพลังงานไฟฟ้าแบบต่าง ๆ และใส่ใจกับการป้องกันผลกระทบจากการใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ (1)-(5)  ผู้สอนกำหนดกระบวนการสอนไว้ ดังนี้

บรรยายประกอบการนำเสนอด้วย Presentation files ผ่านเครื่องฉายภาพดิจิตอลและควบคุมให้ผู้เรียนนั่งประจำที่โดยผู้เรียนต้องมีเอกสารเนื้อหาที่ download จาก E-learning มาเข้าชั้นเรียนและจดคำบรรยายเพิ่มเติม กรณีจำนวนผู้เรียนเกิน 30 คน ใช้เครื่องขยายเสียงและลำโพงเพื่อให้ผู้เรียนได้ยินทั่วถึงกันและใช้วิธีการถาม-ตอบเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะข้อ 1.1.2 กำหนดให้ผู้เรียนทำการบ้านท้ายบทส่งตามกำหนดและเช็คชื่อทุกครั้งที่สอน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนข้อ (2) มอบหมายให้สืบค้นบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบอันเนื่องมาจากวงจรแปลงผันกำลังไฟฟ้าจากฐานข้อมูลงานวิจัย เป็นความรู้เสริมและเพื่อพัฒนาคุณลักษณะข้อ (4) และ (5)

มอบหมายให้ผู้เรียนเข้าฐาน E-learning เพื่อฝึกทำข้อสอบของแต่ละบทและเพื่อพัฒนาคุณลักษณะข้อ (1) และ (2)
1.3.1 สังเกตพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน ความตั้งใจเรียน จำนวนวันลาและวันฟขาดเรียน
1.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมการส่งการบ้านและงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามกำหนดส่งงาน         1.3.3 นักศึกษาสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากฐานข้อมูลงานวิจัยและ E-learning ที่มหาวิทยาลัยให้บริการได้
1.3.4  สังเกตและประเมินจากพฤติกรรมการทำแบบทดสอบในฐาน E-learning
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 ENGEE110 อิเล็กทรอนิกส์กำลัง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล