โครงงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์

Computer Science Project

            เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ได้
โครงงานวิจัยเฉพาะเรื่อง เป็นการทำงานกลุ่มหรือเดี่ยว ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ ที่ปรึกษา นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะต้องทำการศึกษาปัญหาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เลือกไว้อย่างเป็นระบบ ศึกษารูปแบบการเขียนงานวิจัย โครงงานที่ทำจะต้องเป็นโครงงานที่ใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ รวมถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดและเทคนิคที่เคยเรียนมา นักศึกษาต้องเขียนโปรแกรมให้เสร็จสมบูรณ์ ทดสอบ และติดตั้งระบบ ส่งเอกสารประกอบ และต้องผ่านการสอบปากเปล่า   และการนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ  การวัดผลสัมฤทธิ์ในรายวิชา เป็น S และ U
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม (1.3)
สอนแบบอภิปรายจากตัวอย่างกรณีศึกษา
กำหนดคะแนนประเมินโดยอาจารย์ จากการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกด้านคุณธรรมจริยธรรม ความขยัน  ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของนักศึกษา
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา (2.1)
             2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (2.2)
             2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (2.3)
             2.2.1 การให้ภาพรวมของความรู้ก่อนเข้าสู่การปฏิบัติ การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม การเชื่อมโยงความรู้จากวิชาหนึ่งไปสู่อีกวิชาหนึ่งในระดับที่สูงขึ้น
             2.2.2 ใช้รูปแบบการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
             2.2.3 การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในสถานประกอบการและการทัศนศึกษา จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและนักวิชาการนอกสถาบัน ในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
2.3.1  ประเมินจากผลงานระหว่างภาค เช่น การคัดเลือกหัวข้อโครงการวิจัยที่เหมาะสม ความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยที่เลือกทำ  การเขียนรายงาน การนำเสนอรายงาน
2.3.2  ประเมินจากการผลงานการพัฒนาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์
              3.1.1   คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างมีระบบ  (3.1)
              3.1.2   สามารถประยุกต์ ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม  (3.4)
3.2.1   การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
              3.2.2   ฝึกตอบปัญหาและแสดงความคิดเห็นในประเด็นปัญหา ระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหาตามประเด็นที่กำหนดไว้ โดยทำงานเป็นกลุ่ม
3.3.1   ประเมินจากผลงานการแก้ไขปัญหาที่ได้รับมอบหมาย
3.3.2   ประเมินโดยการสอบประเมินโครงการโดยคณาจารย์ในภาควิชาฯ โดยมีเกณฑ์ใน
การให้คะแนน
3.3.3   ประเมินจากการตอบปัญหาและแสดงความคิดเห็นทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
3.3.4   รายงานบุคคลและกลุ่ม
4.1.1    มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.2    วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2.1   ใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ ซึ่งต้องแนะนำกฎ กติกา มารยาท บทบาทความ
              รับผิดชอบของแต่ละคนในการเรียนรู้ร่วมกัน สำหรับการทำโครงการวิจัยแบบกลุ่ม
              4.2.2    มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.3.1   ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงาน 
              ความก้าวหน้าของโครงการในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วม
              กิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
             5.1.1   มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับ
             คอมพิวเตอร์ (5.1)            
5.2.1   จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง
             และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม  เรียนรู้เทคนิคการ 
             ประยุกต์วิทยาการคอมพิวเตอร์ในหลากหลายสถานการณ์
              5.3.1  ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือ
              ต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
              5.3.2  สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา 5.ทักษะการคิดวิเคราะห์ทางตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ที่ต้องพัฒนา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 ึ7 8 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 3 4
1 22119406 โครงงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
โดยใช้แบบประเมินรายวิชาของมหาวิทยาลัย
การสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา การใช้แบบประเมินการสอนของมหาวิทยาลัย
อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาแล้วจัดทำ
แฟ้มสะสมงานรายวิชาและรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ. 5) ทุกภาคการศึกษา
       การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา ดำเนินการตรวจสอบโดยคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการสอนซึ่งแต่งตั้งจากทางมหาวิทยาลัย
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี