เทคโนโลยีผักและผลไม้

Fruit and Vegetable Technology

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจถึงองค์ประกอบโครงสร้างและชนิดของผักและผลไม้
1.2 สามารถอธิบายกรรมวิธีการปฏิบัติต่อผักและผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวได้
1.3 สามารถอธิบายลักษณะและการเปลี่ยนแปลงของผักผลไม้และผลิตภัณฑ์
1.4 สามารถอธิบายวิธีการแปรรูปผักผลไม้ด้วยวิธีต่างๆได้
1.5 สามารถอธิบายการเสื่อมเสียและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ได้
2.1เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
2.2เพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบโครงสร้างและชนิดของผักและผลไม้ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงของผักผลไม้และผลิตภัณฑ์การแปรรูปผักผลไม้ด้วยวิธีต่างๆ การเก็บรักษาและการเสื่อมเสียมีการศึกษานอกสถานที่
1.5       ชั่วโมง
š1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
š1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
˜1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม
š1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
˜1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
การสอนแบบบรรยาย ใช้สื่อ เช่น คอมพิวเตอร์ power point การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  (Participatory Learning) การมอบหมายงานด้วยการหาแนวทางการปกป้องสิ่งแวดล้อมในชุมชนตนเอง ข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมทั้งใน/นอกมหาวิทยาลัยจัด
การเขียนบันทึก การนำเสนองาน
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
š2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
˜2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
š2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย ใช้ Power point วีดีโอ การสอนแบบปฏิบัติ ในแหล่งเรียนรู้เฉพาะด้าน การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานด้วยวิธีโปสเตอร์ และวาจา
การเขียนบันทึก การนำเสนองาน
š3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศแนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่นๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
š3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนและเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
š3.3สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่นการตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
˜3.4มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
ปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการ หรือการใช้เครื่องมือ การวิจัย การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานด้วยวิธีโปสเตอร์ และวาจา
การเขียนบันทึก การนำเสนองาน
˜4.1  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
š4.2  สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š  4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
š4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  (Participatory Learning)กิจกรรมการบูรณการร่วมระหว่างการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการสู่ชุมชน
2. การนำเสนองานด้วยวิธีโปสเตอร์ และวาจา
การเขียนบันทึก การนำเสนองาน
š5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลงความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
˜5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียนรู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้นๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
š5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมและใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวคิด
š5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
˜5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
š5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
ใช้  Power point มีการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานด้วยวิธีโปสเตอร์ และวาจา
การเขียนบันทึก การนำเสนองาน
˜6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
การสอนแบบปฏิบัติการในห้องทดลอง ปฏิบัติภาคสนาม/สถานประกอบการ/ศูนย์เรียนรู้
รายงานผลการปฏิบัติการ ข้อสอบอัตนัย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT122 เทคโนโลยีผักและผลไม้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.3, 2.1, 2.3, 3.1, 3.2 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-15 35% 25%
2 1.1 - 1.4 2.1, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3 การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 20%
3 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1-4.3, 5.1- 5.3 การทดสอบย่อย 3 ครั้ง การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 4,6,10 10%
4 1.1, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 3.1, การนำเสนองาน/การรายงาน 8 10%
กิตติพงษ์  ห่วงรักษ์.  ม.ป.ป..  ผักและผลไม้.  กรุงเทพฯ:  ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
จริงแท้  ศิริพานิช. 2537.วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. นครปฐม: ภาควิชาพืชสวน  คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
จริงแท้  ศิริพานิช. 2542. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดนัย  บุณยเกียรติ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2535. การปฏิบัติการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
รุ่งนภา  พงศ์สวัสดิ์มานิต. 2535. วิศวกรรมแปรรูปอาหาร :การถนอมอาหาร. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพ ฯ.
วราวุฒิ  ครูส่ง.  2538.  จุลชีววิทยาในขบวนการแปรรูปอาหาร  โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์ กรุงเทพฯ
วิชัย  หฤทัยธนาสันติ์.  2521.  หลักการถนอมและแปรรูปผักและผลไม้เบื้องต้น.  ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิไล   รังสาดทอง. 2545.  เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร  คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. กรุงเทพฯ. 506 หน้า.
ศิริลักษณ์  สินธวาลัย. 2522.  ทฤษฎีอาหาร เล่ม 2 :หลักการถนอมอาหารและการควบคุมคุณภาพอาหาร.โรงพิมพ์ บำรุงนุกูลกิจ. กรุงเทพฯ.
สามารถ พรหมศิริ.  ความรู้เกี่ยวกับการทำไวน์  โครงการหนังสือเกษตรชุมชนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อรพิน  ภูมิสมร.  2526.  จุลินทรีย์ในเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์และอาหารหมักพื้นเมือง.ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 
อรพิน ภูมิภมร. 2526.  ระบบชีวภาพที่สำคัญต่อเทคโนโลยีชีวภาพ เล่มที่ 2: จุลินทรีย์ใน เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์และอาหารหมักพื้นเมือง ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Gavin,A. and L.M. Wedding, 1995. Canned Foods: Principles of Thermal Process control, Acidification and container Closure Evaluation, 6th Ed. The Food Processor.
Pederson, C.S. 1979. Microbiology of food fermentation, 2nd Ed. AVI Publishing Co., Westport, Connecticut. 
Persson, P.O. and G. Londahl. 1993. Freezing Technology: In Frozen Food Technology. Mallet, C.P. (Editor) Blackie Academic & Professional, London.
Petter, N.N. and J.H. Hotchkiss. 1995. Food Science, 5th Ed. Chapman & Hall.,   New York.
 
วารสารอาหาร, Journal of Food Science,Journal of Food Technology,Journal of the Science of Food and Agriculture
เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
 
1.1แบบประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษาเมื่อหมดภาคการศึกษา
1.2แบบประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอนเมื่อหมดภาคการศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน หรือ แต่งตั้งกรรมการพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา
3.1 ปรับปรุงหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของประเทศที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจด้านอาหารการเปลี่ยนแปลงของโลก และพัฒนาหลักสูตรทุก 5 ปี
3.2 การวิจัยในชั้นเรียน
ทวนสอบคะแนนข้อสอบหรืองานที่มอบหมาย
นำข้อมูลที่ได้จากการประเมิน ข้อ 1 และ 2 มาปรับปรุงรายวิชา ในภาคเรียนต่อไป