การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม 1

Basic Engineering Skill Training 1

1.  เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน ทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือกลเบื้องต้น
2.  เพื่อให้มีทักษะและความสามารถในการใช้เครื่องมือกลเบื้องต้น
3. มีกิจนิสัยที่ดีในการทำงาน ประณีต รอบคอบ ตรงต่อเวลา สะอาด ขนาดเที่ยงตรงปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม
จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะการเรียนการสอน กับนักศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างเหมาะสม
         ปฏิบัติงานเกี่ยวกับทักษะการใช้เครื่องมือกล ได้แก่ การใช้เครื่องมือวัดเชิงกล งานตะไบ งานเจียรลับคม งานเจาะ งานตัด งานกลึง งานสกัด งานไส การทำเกลียวด้วยมือตลอดจนการใช้เครื่องมือช่างพื้นฐานทั่วไป การบำรุงรักษา และการปรับตั้งเครื่องมือกล
บรรยาย สอนเสริม การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน การศึกษาด้วยตนเอง -  
  สอนเสริมตามความเหมาะสมและตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย 90 ชั่วโมง 30 ชั่วโมง
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานได้อย่างเป็นระบบอย่างเหมาะสม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม

ผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
1.3.1   การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
1.3.2   พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
1.3.3   การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านวิศวกรรม
2.1.2 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชา นำไปประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 การบรรยาย ถาม- ตอบ เกี่ยวหัวข้อการเรียนรู้   
2.2.2 มอบหมายงานตามใบงาน พร้อมสาธิต
2.3.1   พิจารณาและประเมินจากงานที่มอบหมาย ตามใบงานที่กำหนด
3.1.1 พัฒนาความสามารถในการนำความรู้มาคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพ
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานตามที่กำหนดให้ในใบปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานในโรงงานฝึกปฏิบัติ อย่างเป็นระบบ และปลอดภัย
3.3.1   ประเมินจากผลงานของชิ้นงานที่มอบหมายในแต่ละใบงาน
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน
4.2.1   ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล ตามใบงานที่กำหนดให้
4.3.1   ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2  ประเมินพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
5.1.1   สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.2 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1.6  สามารถใช้ภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   วิเคราะห์สถานการณ์ จากการปฏิบัติงานจริง
5.3.1   ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในด้านการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สาธิตการปฏิบัติงาน ตามใบงาน
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึกคะแนน
6.3.2 พิจารณาผลงานการ ปฏิบัติงาน      
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 5 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG109 การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ภาคปฏิบัติ ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 ตรวจสอบขนาดของชิ้นงานตามใบงานที่กำหนด การส่งงานตามที่มอบหมาย การนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 90%
2 การเข้าชั้นเรียน การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
              - เอกสารประกอบการสอน และใบงาน การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม 1 (Basic Engineering Skill Training 1) เรียบเรียงโดย อาจารย์เฉลิม ยาวิลาศ
              - หนังสือเรียน งานฝึกฝีมือ เรียบเรียงโดย สงวนศิลป์ ภูหนองโอน,จรูญ พรมสุทธ์,อำนาจ ทองแสนจัดพิมพ์โดยบริษัท ศูนย์หนังสือ เมืองไทย จำกัด
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา

 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ