สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย

Society, Economy, Politics and Law

1.  เข้าใจถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2.  รู้ถึงซึ่งระบบสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองไทย
3.  เข้าใจอุดมการณ์ทางการเมือง และรูปแบบการปกครองต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบการปกครองของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
4.  ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันทางการเมือง ตลอดจนกระบวนการทางการเมืองของไทย
5. เข้าใจถึงกระบวนการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย
   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย เป็นการเตรียม       ความพร้อมในการนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม  ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่ตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ระบบสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ สำรวจปัญหาที่เกี่ยวข้องในยุคของการเปลี่ยนแปลง สังคมกับการเมืองและกฎหมาย บทบาท ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมต่อสังคม
            พัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และกฎหมาย ความรู้ และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตน การอยู่ร่วมกันในสังคม  และการปฏิบัติตนภายใต้ระบบการเมืองการปกครอง และกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้คุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิตในสังคมด้วย

มีวินัย  ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างรอบคอบและมีสติ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับสังคมและการปกครอง แนวคิดพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ ปัญหาและการแก้ไขปัญหาทางการเมืองการปกครองไทย อภิปรายกลุ่มเรื่องปัญหาพื้นฐานทางสังคมและการปกครอง รวบรวมข้อมูล ข่าว ด้านการเมืองการปกครอง และนำมาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์วิจารณ์ร่วมกันในชั้นเรียน แบ่งกลุ่มเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับปัญหาการเมืองการปกครองไทยในปัจจุบัน

5. ใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip, วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
การเข้าชั้นเรียน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.2   ส่งงานตามที่กำหนด
1.3.3   ประเมินจากคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.4   ประเมินผลจากการวิเคราะห์ข่าว ด้านสังคมและการปกครองของนักศึกษา
1.3.5   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยโปรแกรม Power point  วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.6   ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสาร อ้างอิงอย่างน้อย 5 เล่ม
ความรู้ ที่ต้องได้รับ
2.1.1   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.2   สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.3   มีความรู้เบื้องต้นในทางสังคมศาสตร์ และรัฐศาสตร์
2.1.4   เข้าใจอุดมการณ์ทางการเมือง และรูปแบบการปกครองต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบการปกครองของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
2.1.5   ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันทางการเมือง ตลอดจนกระบวนการทางการเมืองของไทย
2.1.6   สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว และสถานการณ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง กฎหมาย ตามหัวข้อที่เรียน โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
2.3.1   กิจกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2.3.2   รูปเล่มรายงาน/การนำเสนองานในชั้นเรียน
2.3.3   การทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
3.1.มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.2.มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การศึกษาวิชาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและกฎหมาย ช่วยให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์แบบบูรณาการความรู้ทั้งเชิงสังคม เชิงรัฐศาสตร์ เชิงเศรษฐศสตร์ และนิติศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลกได้
3.2.1   การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
3.2.2   ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point
3.2.3   ให้นักศึกษาดู Clip , โฆษณา ฯลฯ แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์ในชั้นเรียน
3.2.4   เกมส์ / กิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
3.3.1   การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
3.3.2   รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน 
3.3.3   สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น
4.1.2   มีความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
4.1.4   สามารนำความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
- พัฒนาทักษะจิตสาธารณะทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
- พัฒนาทักษะคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ  ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
4.2.1   จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
4.2.2   กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุป เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 
4.2.4   กรณีศึกษา
           - สื่อจาก Clip โฆษณา และวีดีทัศน์
4.3.1  ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
4.3.2  ผู้สอนประเมินตามแบบการนำเสนอ
4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
4.3.4  การคิดวิเคราะห์จากกรณีศึกษา Clip โฆษณา และวีดีทัศน์
5.1.1   พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูล 
5.1.2   พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อ
           จาก Internet  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านการเพิ่มพูนความรู้
5.2.1   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD,                          วีดีทัศน์  และเทปเสียง
5.2.2   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
5.3.1   ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 GEBSO103 สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การทดสอบย่อยครั้งที่ 1 การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 5 14 8 17 10% 10% 20% 30%
2 วิเคราะห์กรณีศึกษา/ค้นคว้า/การนำเสนอ แบ่งกลุ่มอภิปราย โดยใช้ Power point ตลอดภาคการศึกษา 20 %
3 การเข้าชั้นเรียน , จิตพิสัย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือสังคมกับการปกครอง (Society and Government) โดย รองศาสตราจารย์ สยาม ดำปรีดา 
สยาม ดำปรีดา.  สังคมกับการปกครอง.  กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2551.
หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสังคมกับการปกครอง และรัฐศาสตร์เบื้องต้น เช่น
ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์.  การบริหารราชการ. สรุป การเมืองการปกครองไทย (PS 110).  กรุงเทพฯ:
ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์, 2544.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไทย.  เอกสารการสอนชุดวิชา มนุษย์กับสังคม หน่วยที่ 1-7.  กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544.
           -  เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับสังคมกับการปกครองและเว็บไซด์อื่น ๆ
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา

นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินการนำเสนอ นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1   สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายรายกลุ่มใหญ่
2.2   สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3   ประเมินจากผลการนำเสนอ
2.4   ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
การปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ
3.1   แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย
3.2   ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
3.3   ทำวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนน ของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
5.1   วิชาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย ต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 3 ปี
5.2   เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้
5.3   จัดดำเนินโครงการในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย
5.4   ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม