ทักษะวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 1

Practical Skills in Food Science and Technology 1

เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการฝึกปฏิบัติการคัดเลือกวัตถุดิบทางการเกษตร การใช้เครื่องมืออุปกรณ์และการบำรุงรักษา เครื่องมือในการแปรรูปผลิตภัณฑ์  ผักและผลไม้  ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์  ผลิตภัณฑ์ธัญพืช
-ไม่มี-
ฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การใช้เครื่องมืออุปกรณ์และการบำรุงรักษาเครื่องมือในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์  ผลิตภัณฑ์ธัญพืช และวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้น
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ให้คำปรึกษาตามตารางผู้สอน
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ให้นักศึกษาตระหนักถึงความมีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม
ให้นักศึกษาฝึกทักษะปฏิบัติโดยการแบ่งกลุ่มในชั้นเรียน ฝึกทักษะในแต่ละทักษะตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอน โดยเน้นการปลูกฝังการตรงต่อเวลาในการทำงาน ความรับผิดชอบต่องาน และตรวจความเรียบร้อยของอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในระหว่างปฏิบัติงาน
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในสถานการณ์ที่สาขาวิชาฯและคณะจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม  การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาและการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์  โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
ความรู้/ความเข้าใจในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ หลักการดูแล/การเก็บรักษาเครื่องมือให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานอยู่เสมอต้อง และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
แบ่งกลุ่มปฏิบัติงาน  สอดแทรกความรู้ให้นักศึกษาระหว่างที่นักศึกษากำลังปฏิบัติงาน
ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียนเป็นรายบุคคล เช่นความตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่องานมอบหมาย และประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจในการคิดคำนวณสูตร และสามารถนำความรู้ทางทฤษฎีมาอธิบายการทำงานในภาคปฏิบัติ /วิเคราะห์ประเด็นปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
ประเมินจากการคิดคำนวณสูตร  การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้จากการปฏิบัติ และการนำเสนอผลงานแบบกลุ่ม
เน้นการทำงานเป็นทีมความรับผิดชอบ และการตรงต่อเวลา โดยสามารถทำงานเป็นกลุ่มซึ่งจะต้องช่วยเหลือแบ่งงานย่อยโดยมอบหมายให้ช่วยกันค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้เขียนรายงานและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีศึกษาในชั้นเรียน
แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ มอบหมายงานทั้งรายบุคคลและกลุ่ม  อธิบายข้อปฏิบัติในการเข้าชั้นเรียนภาคปฏิบัติ
ประเมินผลจากการทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด การตรวจสอบการความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาการแต่งกายที่เหมาะ สมและการทำความ สะอาดหลังการปฏิบัติ สังเกตและประเมินการทำงานร่วมกับผู้อื่นจากการส่งรายงานบทปฏิบัติการ
นักศึกษามีทักษะในการคำนวณส่วนผสมต่างๆที่ใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้รู้จักวิเคราะห์การคิดคำนวณสูตร การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ประเมินจากความสนใจความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย และจากผลงานการปฎิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 3 4 1 2 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT101 ทักษะวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยเรียน 1 ผลการปฎิบัติงานตามมอบหมาย 1-5 30%
2 หน่วยเรียน 2 ผลการปฏิบัติงานตามมอบหมาย 6-10 30%
3 หน่วยเรียน 3 ผลการปฏิบัติงานตามมอบหมาย 11-15 30%
4 หน่วยเรียน 1-3 คะแนนเจตคติ การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ ในรายวิชา คะแนนกิจกรรมส่วนมหาวิทยาลัย 1-18 10%
คณาจารย์ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์. 2549. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเกษตร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จุฑามาศ  ถิระสาโรช. 2552. ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์. สาขาอุตสาหกรรมเกษตร, คณะวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านา,  พิษณุโลก.
ไพบูลย์ ธรรมรัตน์วาสิก. 2535. กรรมวิธีการแปรรูปอาหาร. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ.
รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. 2535. วิศวกรรมแปรรูปอาหาร : การถนอมอาหาร. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ.
วิชัย หฤทัยธนาสันติ์. 2523. หลักการถนอมและแปรรูปผักและผลไม้. ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร   คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
สมบัติ ขอทวีวัฒนา. 2529. กรรมวิธีการอบแห้ง. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร      มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
สมบัติ ขอทวีวัฒนา. 2546. เทคโนโลยีน้ำตาล. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร             มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
-ไม่มี-
วารสารอาหาร, Journal of Food Science, Journal of Food Technology, Journal of Meat Science
เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร  มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3  ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2  ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
          3.1  การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเครื่องมือในการแปรรูปผลิตภัณฑ์  ผักและผลไม้  ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์  ผลิตภัณฑ์ธัญพืช  ในชั้นเรียน
          3.2  การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน
          3.3  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
          3.4  การศึกษาดูงานนอกสถานตามโอกาส
ระหว่างการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ