การควบคุมคุณภาพอาหาร

Food Quality Control

1.1 เพื่อให้ทราบหลักการและวิธีการควบคุมคุณภาพอาหาร
1.2 เพื่อให้ทราบและเข้าใจในการใช้สถิติในการควบคุมคุณภาพ
1.3 เพื่อให้ทราบและมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์
-
ความหมายและความสำคัญของการควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหารหลักการควบคุมคุณภาพ ลักษณะคุณภาพของอาหาร การตรวจวัดคุณภาพทางกายภาพ เคมี และประสาทสัมผัส ในกระบวนการแปรรูปอาหารระดับอุตสาหกรรม (ในระหว่างการเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป จนถึงผลิตภัณฑ์สุดท้าย)  การใช้สถิติและการสุ่มตัวอย่างในการควบคุมคุณภาพ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ให้นักศึกษาตระหนักและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้มอบหมายทั้งของตนเองและผลงานของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด เคารพในการแสดงออกทางความคิดของผู้ร่วมงาน และการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม
ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมีกิจกรรม นักศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ  รวมทั้งการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อย่างมีจรรยาบรรณและถูกต้องตามความเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในสถานการณ์ที่สาขาวิชาฯและคณะจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม  การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาและการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์  โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
รู้หลักการและวิธีการควบคุมคุณภาพอาหาร เข้าใจในการใช้สถิติในการควบคุมคุณภาพและเข้าใจในการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ  Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าวขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียนและการสอบวัดความรู้ โดยมีการสอบย่อย (Quiz) และสอบเป็นทางการ 2 ครั้ง (สอบกลางภาคและสอบปลายภาค)
ทำรายงานรายบุคคลและหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่ทราบในชั้นเรียนหรืองานที่มอบหมายให้ค้นหาคำตอบเพื่อได้ให้แนวทางในการแก้ปัญหานั้นๆ
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน  การสอบย่อย (Quiz)  การสอบกลางภาคและปลายภาค  การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
เน้นการทำงานเป็นทีม โดยมีการทำงานเป็นกลุ่มซึ่งจะต้องช่วยเหลือแบ่งงานย่อยโดยมอบหมายให้ช่วยกันค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้เขียนรายงานและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีศึกษาในชั้นเรียน
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนโดยมีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ และการมีการนำเสนอรายงาน
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลรวมทั้งการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอโดยใช้ PowerPoint และวีดีโอ ประกอบการสอนในชั้นเรียน  การเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT005 การควบคุมคุณภาพอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หลักการและวิธีการควบคุมคุณภาพอาหาร การใช้สถิติในการควบคุมคุณภาพ การสอบกลางภาค 9 30
2 GMP, HACCP และ การตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ การสอบปลายภาค 17 30
3 การฝึกปฏิบัติ การเขียนรายงานตามบทปฏิบัติการที่มอบหมาย(ปฏิบัติการที่ 1-13) 1-8, 10-16 30
4 จิตพิสัย คะแนนเจตคติ การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ ในรายวิชา คะแนนกิจกรรมส่วนมหาวิทยาลัย 1-8, 10-16 10
เอกสารประกอบการสอน
-
สถาบันอาหาร. 2542. การประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ในผลิตภัณฑ์อาหาร. ห้างหุ้นส่วนจำกัด.  อรรถสิทธิ์การพิมพ์ : กรุงเทพ 147 หน้า.
สถาบันอาหาร. 2542. HACCP เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรรถสิทธิ์การพิมพ์ : กรุงเทพ 147 หน้า.
สุวิมล กีระติพิมล. 2543. GMP ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหาร สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. : กรุงเทพฯ.
สุวิมล กีระติพิมล. 2544.  ระบบการประกันคุณภาพของอาหาร HACCP. สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. : กรุงเทพฯ.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของโดยคณะกรรมการประเมินของสาขาวิชา
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  โดยสาขาวิชาจัดการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนและหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนและระดับขั้นคะแนน โดยการสุ่มรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คะแนนสอบ พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้ร่วมสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ นำเสนอข้อมูลตามลำดับ และหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการในรายละเอียดที่จำเป็น จะมีการนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไปจากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
     5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ4
      5.2 เพิ่มจำนวนผู้สอนร่วมในบางหน่วยเรียน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ