การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

Life and Social Skills

๑. เพื่อเสริมสร้างแนวคิด เจตคติที่ถูกต้องในการดำรงชีวิต การอยู่ร่วมกันในสังคม ตลอดจนการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. เพื่อนำเอาหลักเกณฑ์เทคนิควิธีไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต และการประกอบสัมมาอาชีพ
๓. เพื่อพัฒนาพฤติกรรมและลักษณะนิสัยในการทำงานของนักศึกษา
๔. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพ ตลอดจนมีระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
หลักการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม เป็นการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อส่งผลดีต่อสังคมภาพรวม และจำต้องสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม แบบท้องถิ่นและแบบสากล จึงควรมีการพัฒนาปรับปรุงรายวิชาให้มีความสมสมัย และใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของผู้เรียน
ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา และหลักธรรมในการดำรงชีวิตและการทำงานของบุคคล การสร้างแนวความคิดและเจตคติต่อตนเอง ธรรมะกับการสร้างคุณภาพชีวิต บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น การบริหารตนเองให้เข้ากับชีวิตและสังคม การปรับตนเพื่อร่วมกิจกรรมทางสังคม ศึกษาเทคนิคการครองใจคน และการสร้างผลิตผลในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
๓ชั่วโมงต่อสัปดาห์
๑) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
๒) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
๓) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
๔) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
๑) บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
๒) ซักถามรายบุคคล อภิปรายกลุ่ม
๓) ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
๔) กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่าง
    สม่ำเสมอ
๑) พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
๒) มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๓) ไม่มีการทุจริตในการสอบ
๔) ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมายแบบมีส่วนร่วม
๕) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมาย
๑) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
๒) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
๓) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๑) บรรยายร่วมกับอภิปรายซักถาม การทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้อ่าน และสรุปบทความที่เกี่ยวข้อง
๒) ให้ทำแบบฝึกหัด แบบรายงานการวิเคราะห์และปรับปรุงจากการตรึกตรองตนเอง
๓) นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติมและจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
๑) สอบเก็บคะแนน กลางภาค และปลายภาคการศึกษา
๒) ประเมินประสิทธิผลของการทำโครงงาน และการค้นคว้ารายงาน
๓) การนำเสนอโครงงานและรายงานที่ได้รับมอบหมาย
๔) การนำเสนอการวิเคราะห์กรณีศึกษา
๕) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
๑) มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
๒) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
๑) บรรยายและอภิปรายกรณีศึกษาอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
๒) การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงาน และนำเสนอผลการศึกษา
๑) ประสิทธิผลของโครงการที่มีผลกระทบทางบวกต่อตน ชุมชน สังคม
๒) สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
๓) การประเมินแบบมีส่วนร่วมจากนักศึกษา
๑) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
๒) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
๔) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
๑) มอบหมายงานกลุ่มในการทำโครงการจิตอาสาปันรักเพื่อสังคม
๒) มอบหมายงานให้ค้นคว้าและศึกษาด้วยตนเอง
๑) ประเมินจากกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม และผลงานที่ทำเป็นกลุ่มหรือโครงการ
๒) รายงานการศึกษาด้วยตนเอง (รายงานสรุปรวบยอดความรู้)
๓) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ความตรงต่อเวลา
๑) สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
๒) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
๓) สามารถใช้ทักษะภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning ผ่าน  เครือข่ายสังคมออนไลน์ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
๒) นำเสนอและส่งผลงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
๑) การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
๒) การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 01120001 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 9 25%
2 สอบปลายภาค 17 25%
3 โครงการที่รับมอบหมาย (งานกลุ่ม) ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 งานมอบหมาย(รายบุคคล) ตลอดภาคการศึกาา 10%
5 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
ทรงสิริ วิชิรานนท์ และคณะ.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2550.
หนังสือแนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม โดย คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๕๓.
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
๑) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
๒) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
๓) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
- อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
- กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
- การวิจัยในชั้นเรียน
- การประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
- กรรมการทวนสอบ สุ่มตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน
- เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อในรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
- จัดทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชา (หรือกับสถาบันในเครือข่าย)
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอภาควิชา / คณะ