การใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

Use of Computer in Business

1.1 เข้าใจวิธีการต่าง ๆ ในการประมวลผลข้อมูล ส่วนประกอบ และการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และแนวความคิดในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจประเภทต่าง ๆ
1.2 เข้าใจหลักการเขียนผังโปรแกรม
1.3 เข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของระบบงาน แนวคิดในการจัดระบบงานคุณสมบัติและประโยชน์ของระบบงาน
1.4 รู้หลักการใช้ระบบงานเครือข่าย วิธีการ และหลักการใช้อินเตอร์เน็ต
1.5 ตระหนักถึงความสำคัญการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับงานธุรกิจในปัจจุบัน
        เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รวมทั้งทักษะการสื่อสารและการใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
        ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ในการประมวลข้อมูล ส่วนประกอบ และการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ การเขียนผังโปรแกรม แนวความคิดในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจประเภทต่าง ๆ วิธีการเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ ให้เหมาะสมกับธุรกิจแต่ละชนิด ระบบงานและความสัมพันธ์ของระบบงานต่าง ๆ ในทางธุรกิจ ลักษณะของระบบงาน การใช้คอมพิวเตอร์หรืองานธุรกิจ ทางด้านบริหารการจัดการสารสนเทศ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับงานธุรกิจในปัจจุบัน เรียนรู้หลักการใช้ระบบงานเครือข่ายวิธีการ และหลักการใช้อินเตอร์เน็ต
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลสงวนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการสอน
1.2.2 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย
1.2.3 เน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.1 การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.2 การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.2 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพในการใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.1.3 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
2.2.3 ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย รายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
3.1.1 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
3.1.2 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
3.2.1 การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3.2.2 การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วยตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 สอดแทรกความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
4.3.1 ประเมินความรับผิดชอบตามงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
5.1.1 พัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงาน โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งความรู้ต่างๆ
5.2.2 นำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
5.3.2 ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.2 , 3.3.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 4 15%
2 2.3.1 สอบกลางภาค 8 25%
3 2.3.2 , 3.3.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 12 15%
4 2.3.1 สอบปลายภาค 16 25%
5 ทุกหน่วยการเรียนรู้ งานที่ได้รับมอบหมาย/รายงาน (ความตรงต่อเวลา, วิธีการนำเสนองาน, ความถูกต้องสมบูรณ์ของงาน) ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 ทุกหน่วยการเรียนรู้ การเข้าชั้นเรียน, การแต่งกายและความประพฤติ, การมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 10%
จักรทิพย์ ชีวพัฒน์. (2558). รวมสูตรฟังก์ชัย Excel ฉบับสมบูรณ์ 2nd Edition. นนทบุรี: บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.
ธัชชัย จำลอง. (2561). คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียร. (2561). รวมสูตรคำนวณและฟังก์ชัน Excel Formulas & Functions ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท รีไวว่า จำกัด.
สุพรรษา ยวงทอง. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: บริษัท โปรวิชั่น จำกัด.
ไม่มี
เว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
1.1 การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
1.2 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.3 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
2.1 สังเกตการณ์สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
        ผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะถูกนำมาวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการปรับปรุงและเรียบเรียงเนื้อหาในการสอนใหม่ ให้มีความทันสมัย มีประโยชน์ และให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของนักศึกษายิ่งขึ้น
        ตรวจสอบผลประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุกปี เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ