การเตรียมโครงงาน

Pre-project

 1.1 เพื่อให้นักศึกษาสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านงานออกแบบสื่อสารและงานด้านอื่นๆ
1.2 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยวางแผนปฏิบัติงานและกำหนดกรอบแนวคิดในการทำงานตามสภาพปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ 
1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานการออกแบบสื่อส่รและงานวิชาการออกแบบสื่อสาร
1.4 มีทักษะในการนำความรู้ในการสื่อสารและออกแบบสื่อ เทคโนโลยี ประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ
1.5 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ หรือภาษาอื่นๆที่สามารถเข้าใจได้ในการสื่อสารกับบุคคลอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
1.6 นักศึกษาตระหนักถึงความมีวินัย  ขยันหมั่นเพียร  อดทน  ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพออกแบบสื่อสาร
ปรับปรุงเนื้อหาตามผลการประเมินเมื่อภาคการศึกษา 1/60 ซึ่งนักศึกษามีอัตราการสำเร็จการศึกษาลดลง เนื่องจากขาดความกระตือรือร้นในการทำงานและไม่สามารถหาข้อมูลมานำเสนออย่างครบถ้วน   ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงงานได้อย่างรวดเร็ว  จึงได้ปรับเปลี่ยนลำดับเนื้อหา  กระบวนการสอน   การนำเสนอ  การติดตาม การประเมินผลให้มีความชัดเจน และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมโครงงาน  หลักการเขียนข้อเสนอโครงงาน การนำเสนอโครงงานออกแบบนิเทศศิลป์ และโครงงานออกแบบมัลติมีเดียต่อคณะกรรมการ การวางแผนจัดทำโครงงาน องค์ประกอบของรายงาน  และหลักการเขียนรายงานโครงงาน
อาจารย์ประจำรายวิชาแจ้งให้นักศึกษาทราบถึงเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการสอน และให้ช่องทางการติดต่อปรึกษาผ่านทางเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการและนัดหมายล่วงหน้า)
1.1.3 มีวินัย และตรงต่อเวลา และความขยันหมั่นเพียร
บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา ในประเด็นทางจรรยาบรรณและสอดแทรกจริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเสนอหัวข้อ ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน การแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาสามารถส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนดไว้
1.3.1   จากผลงานปฏิบัติการเขียนโครงงาน
1.3.2   ประเมินจากความตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมายที่ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.3   การเข้าชั้นเรียน การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และการส่งงานตามกำหนดที่มอบหมาย
2.1.1   มีความสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านงานออกแบบสื่อสารและอื่นๆ
2.1.2   สามารถบูรณาการความรู้ศาสตร์สาขาวิชาออกแบบสื่อสารกับความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.2.1  บรรยาย อภิปรายในชั้นเรียนpowerpoint และวีดีโอตัวอย่างต่างๆ และการถามตอบกับนักศึกษา
2.2.2  สาธิตและนักศึกษาฝึกปฏิบัติการจัดทำโครงงานและการจัดนิทรรศการ
2.2.3  มอบหมายการทำงานเป็นกลุ่ม และให้การอภิปรายผลงาน โดยสื่อให้เห็นถึงการนำความรู้จากหลากหลายศาสตร์ไปการประยุกต์ใช้
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค
2.3.2  งานปฏิบัติภายในชั้นเรียน
2.3.3  ประสิทธิผลของการค้นคว้า การสรุปผลงานในแต่ละสัปดาห์
3.1.1 มีทักษะในปฏิบัติงานออกแบบสื่อสารและงานวิชาการออกแบบสื่อสาร
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้ในการสื่อสารและออกแบบสื่อ เทคโนโลยี ประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 ให้นักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงาน
3.2.2 ฝึกปฏิบัติจากงานที่มอบหมาย
3.3.1  ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
3.3.2  การเขียนเอกสารโครงงาน สมบูรณ์ครบถ้วนตามเป้าหมายที่วางไว้
3.3.3  การสอบหัวข้อโครงงาน และการสอบความก้าวหน้าของโครงงาน
4.1.1   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
สอดแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ระหว่างการเรียนการสอน และยกตัวอย่างกรณีข้อขัดแย้งต่างๆ ของปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางแก้ปัญหาการทำงาน
4.3.1  ผลการปฎิบัติงานและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.3.2  ประเมินจากพฤติกรรมการเรียน ความร่วมมือในการประชุม วางแผนเพื่อจัดนิทรรศการโครงงาน
5.1.1 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ หรือภาษาอื่นๆที่สามารถเข้าใจได้ในการสื่อสารกับบุคคลอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ จากหนังสือในห้องสมุดทั้งทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   บรรยาย อภิปราย และสาธิตการนำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  ความถูกต้องของการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบริบทงาน ตามกาลเทศะที่เหมาะสม
5.3.2  การจัดทำรายงานและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 3 1 2 1 2 1 1
1 43010407 การเตรียมโครงงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑(๑) - ๑(๔) การเข้าเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การแสดงพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิงข้อมูล ตลอดภาคการศึกษา ๑๐
2 ๑(๒), ๑(๓), ๒(๒), ๒(๓), ๓(๑), ๓(๒) ๔(๑), ๕(๑) ,๕(๒) ผลงานรายบุคคล (การเขียนโครงงาน/ที่ปรึกษาโครงงาน) ๒-๑๕ ๒๐
3 ๑(๑)-๑(๔), ๒(๒), ๒(๓), ๓(๑), ๓(๒) ๔(๑) - ๔(๔) ๕(๑) - ๕(๓) การมีส่วนร่วมในการเตรียมงานนิทรรศการ การประชุมวางแผน ๒-๑๕ ๑๐
4 ๒(๒),๒(๓),๓(๑),๓(๒), ๕(๓) ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน ๒-๔ ๒๐
5 ๒(๒),๒(๓),๓(๑),๓(๒), ๕(๓) ประเมินจากการสอบแบบร่างสมบูรณ์ ๑๕-๑๗ ๒๐
6 ๑(๓),๒(๑) - ๒(๓), ๓(๑), ๓(๒), ๕(๓) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ๙ ๑๘ ๑๐ ๑๐
ไม่มี
ไม่มี
โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php ฐานข้อมูลงานวิจัยไทย http://dric.nrct.go.th/Search/index#top ฐานข้อมูลห้องสมุดราชมงคลล้านนา https://library.rmutl.ac.th/ การเขียนบรรณานุกรม APA, 6th edition อย่างย่อ http://stin.ac.th/th/file.pdf คู่มือการเขียนรายการอ้างอิง APA, 6th Edition  http://journal.human.cmu.ac.th/files/form2.pdf
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้
๑.๑   ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

๑.๒   ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้

ความรู้ความสามารถโดยรวม และประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรายวิชานี้ ความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชานี้ ข้อเสนอแนะอื่นๆ
ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการดังต่อไปนี้
๒.๑   ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ ๑
๒.๒   สุ่มสังเกตการสอนและประเมินการจัดการเรียนการสอน(โดยเพื่อนอาจารย์) ในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความรู้ความสามารถทางวิชาการในหัวข้อที่สอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

๒.๓   ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเองในประเด็นต่อไปนี้

ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ดังนี้
๓.๑   ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละคาบการสอน
๓.๒   ประชุม / สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้

ผลการศึกษาของนักศึกษา ผลการประเมินประสิทธผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ผลการประเมินการสอน บันทึกของกลุ่มอาจารย์ผู้สอน
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ดังนี้

การสุ่มสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการทวนสอบระดับหลักสูตร การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายใน/ภายนอก
เมื่อสิ้นสุดทุกปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะจัดประชุม / ติดต่อขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ร่วมสอน รวมทั้งพิจารณาสรุปผลการประเมินการสอน ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา  เพื่อกำหนดประเด็นที่เห็นสมควรจัดให้มีการปรับปรุงในการศึกษาต่อไป ทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและการประเมินผล