ฝึกงานทางวิชาชีพพืชศาสตร์

Job Internship in Plant Science

เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการทำงานในสายวิชาชีพ  โดยมีการฝึกงานในหน่วยงานหรือสถานประกอบการทางวิชาชีพพืชศาสตร์ โดยนักศึกษาต้องบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษาในหลักสูตร ใช้ในการฝึกปฏิบัติงาน วิเคราะห์ปัญหา และแก้ไขปัญหาในการทำงาน รวมทั้งมีการเสนอแนะหรือแก้ไขปัญหาในงานให้ได้ผลดี  หลังจากการฝึกงาน นักศึกษาต้องเขียนรายงานหรือแบบบันทึกผลการฝึกงาน เพื่อฝึกทักษะตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง ๕ ด้าน รวมทั้งการนำเสนองาน เพื่อให้คณาจารย์ได้ให้ข้อคิดเห็น เพื่อปรับปรุงให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์เพิ่มขึ้น
           เมื่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนามนี้แล้ว นักศึกษาจะสมรรถนะในด้านต่าง ๆ ได้แก่
                1.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (Ethics  and Moral)  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม   มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ    มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
                1.2 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ (Interpersonal Skills and Responsibility   มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้
                1.3  ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills)  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในสภาพการปฏิบัติงานจริงได้
เนื่องจากเทคโนโลยีด้านการผลิตพืชมีความก้าวหน้าอย่างมากในปัจจุบัน หน่วยงานและสถานประกอบการ ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อการผลิตพืชที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งมีการแข่งขันทางการตลาดสูง โดยผู้ผลิตต้องแข่งขันกันผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ  การส่งนักศึกษาไปฝึกงานในหน่วยงานหรือสถานประกอบการทางวิชาชีพด้านการผลิตพืช เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือเสริมทักษะให้กับนักศึกษาที่ไปฝึกงานร่วมกับนักศึกษาจากสถาบันอื่นๆ  หรือ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหรือสถานประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญด้านพืชศาสตร์โดยเฉพาะ
ฝึกปฏิบัติงานด้านพืชศาสตร์ภายนอกหรือภายในสถานศึกษา โดยเน้นการฝึกทักษะเพื่อสร้างประสบการณ์เฉพาะทางด้านพืชศาสตร์ จำนวนไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง  โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U)
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. ปฐมนิเทศนักศึกษาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนฝึกงาน          
2. กำหนดให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่ฝึกงานเช่นเดียวกับพนักงานประจำ
3.นักศึกษาบริหารตนเองให้เข้ากับกฎระเบียบของสถานที่ฝึกงาน
4. มอบหมายงานที่ต้องใช้ความพยายาม ความอดทน
1. นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน
2. ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดง ออกระหว่างการฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานการแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยวาจาอย่างน้อย 1 ครั้ง
3.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาการฝึกงาน ฯประเมินความซื่อสัตย์และการรักษาความลับของสถานที่ฝึกงานจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานการฝึกงาน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.  สถานที่ฝึกงานจัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำการปฏิบัติงานตามหน้าที่ มอบหมายเอกสารข้อมูลของสถานที่ฝึกงานให้ศึกษาด้วยตนเอง
2. ศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเองภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง
1. นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน
2.ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน จากรายงานการฝึกงาน
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชา
การหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การฝึกปฏิบัติจริง
2. การมอบหมายโจทย์ปัญหา
3. การประชุมร่วมระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์นิเทศก์การฝึกงาน และนักศึกษา ในช่วงกลางของการฝึก เพื่อการนำเสนอแนวความคิดการแก้ปัญหาของนักศึกษา และการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์นิเทศก์การฝึกงาน
1. นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน
2. ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์การฝึกงาน  จากการแสดงออกของนักศึกษาระหว่างการประชุมร่วม และจากรายงานการฝึกงาน
4.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในระดับต่างๆ ของสถานที่ฝึกงาน
2. การฝึกปฏิบัติงานเช่นเดียว
กับพนักงานประจำ
3. การมอบหมายโจทย์ปัญหาหรือกรณีศึกษา
4. การประชุมร่วมระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชาการฝึกงาน อาจารย์นิเทศก์การฝึกงานและนักศึกษา ในช่วงกลางของการฝึก เพื่อการนำเสนอแนวความคิดของนักศึกษาและการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์การฝึกงาน
1. นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน
2.ประเมินพฤติกรรม โดยพนักงานพี่เลี้ยง จากการสังเกตและการสอบถามความคิดเห็นจากพนักงานผู้ร่วมงานอื่นๆ
3. ประเมินการแสดงออกของนักศึกษาระหว่างการประชุมร่วม โดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชาเฉพาะเรื่อง
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การมอบหมายให้ฝึกแก้โจทย์ปัญหาการคำนวณ
3. การฝึกการนำเสนอความคิดเห็นต่อพนักงานพี่เลี้ยง ในที่ประชุมกลุ่มงาน  และในการประชุมร่วมระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชาฝึกงานและนักศึกษา
4. กำหนดให้นำเสนอ ผลการแก้ปัญหาระหว่างการฝึกงาน ณ สถานที่ฝึกงานและประสบการณ์ การฝึกงาน ที่ภาควิชา แบบปากเปล่า
5. กำหนดให้ส่งเอกสารรายงาน
1. งานมอบหมายที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
2. การสังเกต
3.นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน
4. ประเมินรายงานการฝึกงาน ในส่วนที่ต้องใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลข โดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาฝึกงาน
5. ประเมินการนำเสนอความคิดเห็นในสถานการณ์ต่างๆ โดยพนักงานพี่เลี้ยง
6. ประเมินการนำเสนอของนักศึกษาระหว่างการประชุมร่วม โดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์ที่รับผิดชอบการฝึกงาน
6.1 สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
6.2 สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
6.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
1 การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติโดยพนักงานพี่เลี้ยงการสอนงาน การสาธิตและสาธิตย้อนกลับการฝึกงานด้านวิชาชีพพืชศาสตร์ ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ก่อนออกฝึกปฏิบัติจริง 2. ปฐมนิเทศวิชาฝึกงานวิชาชีพพืชศาสตร์ ก่อนฝึกปฏิบัติงาน 3. การมอบหมายโจทย์ปัญหาหรือกรณีศึกษา
1. วัดประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) โดยการประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในสภาพการณ์จริง 2. วัดประเมินการปฏิบัติ (Performance assessment) โดยการวัดประเมินกระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) ของการปฏิบัติที่สะท้อนความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนที่สาธิตหรือแสดงออกมาให้เห็น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1.1 นักศึกษา :  จัดให้นักศึกษาตอบแบบประเมินประสิทธิผลของการฝึกงาน
1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ:  ติดตามประเมินผลและให้ข้อคิดเห็น พร้อมลงลายมือชื่อกำกับทุกครั้ง
1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม :  บันทึกความคิดเห็นต่อการฝึกงาน ในแบบฟอร์มที่กำหนด
          2.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ประมวลผลการฝึกงานของนักศึกษาทั้งหมด พร้อมทั้งผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่างๆ ของนักศึกษา ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพี่เลี้ยง/ผู้รับผิดชอบการฝึกงานของสถานที่ฝึกงานและอาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน  จัดทำรายงานผลการดำเนินการของฝึกงาน ( มคอ. 6 ) รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตรเพื่อนำเสนอต่อคณบดีเพื่อทราบและพิจารณา
           2.2 สาขาวิชาฯ ร่วมพิจารณาประสิทธิผลของการฝึกงาน วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในรอบปีการศึกษาถัดไป โดยแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร
1. คัดเลือกสถานประกอบการมี่มีมาตรฐาน และมีความพร้อม
2. คัเลือกสถานประกอบการที่มีการผลิตพืช การจัดกาาร ที่ครอบคุมและทันสมัย
3. คัดเลือกสถานประกอบการมารสามารถพัฒนาความร่วมมือ และสร้างเครือข่าย สู่การเป็นกสหกิจศึกษา