การใช้งานระบบปฎิบัติการ

Operating System Usage

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการโครงสร้างระบบปฏิบัติการ การจัดการกระบวนการ การจัดการหน่วยประมวลผล การจัดการหน่วยความจำระบบการรับ-ส่งข้อมูล ระบบแฟ้ม
2.1 เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานสำหรับหลักการของระบบปฏิบัติการ
2.2 เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานสำหรับการบริหารจัดการการให้บริการทางด้านสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานสำหรับการวางแผนเพื่อสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ
2.4 เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานสำหรับการควบคุมการเข้าถึงสารสนเทศ
2.5 เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่างๆ ในข้างต้นมาแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาที่ศึกษา และนำความรู้ที่ได้ไปใช้งานจริงในอนาคตได้
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ วิธีการติดตั้ง หน้าที่การงาน ส่วนประกอบ

หลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการใช้คำสั่งของระบบปฏิบัติการ ต่างๆ และการใช้งานติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายบนระบบปฏิบัติการ
ตลอดเวลา
1  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1  มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
 
1.2.1 สอดแทรกให้นักศึกษามีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด และปลูกฝังให้นักศึกษาแต่งกายและปฏิบัติตนให้เหมาะสม ถูกต้องตามตามระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.2 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม คุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพในการสอน
1.3.1 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ได้แก่ พฤติกรรมการเข้าเรียน ระหว่าง     การเรียนการสอน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
 2.1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางด้านวิชาชีพในรายวิชานี้ นักศึกษาจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบ และวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ โครงสร้างระบบปฏิบัติการ การจัดการกระบวนการ การจัดการหน่วยประมวลผล การจัดการหน่วยความจำ ระบบการรับ-ส่งข้อมูล ระบบแฟ้ม
2.2.1 บรรยาย อภิปราย และให้ทดลองปฏิบัติ
2.2.2 การนำเสนอรายงานกลุ่ม
2.2.3 ใช้ Problem based learning
2.2.4 ฝึกปฏิบัติในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบ และวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ โครงสร้างระบบปฏิบัติการ การจัดการกระบวนการ การจัดการหน่วยประมวลผล การจัดการหน่วยความจำ ระบบการรับ-ส่งข้อมูล ระบบแฟ้ม
2.3.1 ทดสอบย่อยเพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจ
2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค
2.3.3 การนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
2.3.4 ประเมินผลจากใบงาน / แบบฝึกหัด
 3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 การสอนโดยใช้การอภิปราย การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
3.2.2 การฝึกปฏิบัติในห้องเรียน
3.2.3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับศาสตร์อื่นๆ
3.3.1 ประเมินผลจากการทดสอบทั้งการทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค
3.3.2 ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว เช่น ผลการศึกษา
4.1.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี                  
4.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่มและงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การระดมความคิดเห็น การอภิปราย
4.2.2 ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นผ่านงานกลุ่ม งานเดี่ยว รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ
4.2.3 ผู้สอนสอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเองและองค์กร การมีมนุษยสัมพันธ์          การเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร การปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อม การยอมรับผู้อื่น เป็นต้น
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้เรียนขณะทำกิจกรรมกลุ่มและงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
4.3.2 ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมายและรายงานหน้าชั้นเรียน
4.3.3 ให้นักศึกษาประเมินตนเองหรือประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบ  การนำเสนอที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงาน และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.2.2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบและวิธีการ
5.2.3 นำเสนอ/รายงาน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
5.3.1 การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.2 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งรูปแบบการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงานที่เป็นรูปเล่ม ความสามารถในการอธิบายหรือการตอบคำถาม
5.3.3 ประเมินจากวิธีการนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คณิตศาสตร์ หรือสถิติที่เกี่ยวข้อง
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนใด้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม 
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1  มอบหมายงานออกแบบและสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการต่างๆ ได้เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละประเภท
6.2.2  มอบหมายให้ประเมินและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาที่นักศึกษาสร้างขึ้น
6.3.1  ประเมินผลงานของนักศึกษา
6.3.2  ประเมินจากการรายงานและนำเสนอ
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1
พิเชษฐ์    ศิริรัตนไพศาลกุล, ระบบปฏิบัติการ, บริษัท เอซ. เอ็น. กรุ๊ป จำกัด, ประเทศไทย, 2545
วศิน     เพิ่มทรัพย์, คัมภีร์ DOS, ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี. เอ็น. การพิมพ์, ประเทศไทย. , 2537
พิเชษฐ์  ศิริรัตนไพศาลกุลและคณะ. ระบบปฏิบัติการ Operating System. กรุงเทพฯ :  เอชเอ็นกรุ๊ปจํากัด, 2549. 296 หน้า.
เว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในคำอธิบายรายวิชา
พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียรและอัมรินทร์ เพ็ชรกุล.  Microsoft Windows Vista Office 2007 ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย, 2550. 386 หน้า.
ณัชติพงค์ อูทอง. คอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการ. เอมพันธ์,  2547. 184 หน้า.