นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

Innovation and Information Technology for Educational

1.1  เข้าใจหลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.2  ออกแบบและสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละประเภท
1.3  ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา
1.4  ประเมินและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.5  สามารถทำการวิเคราะห์ปัญหาจากใช้ ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาไปประยุกต์ใช้ได้ว่าใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์
1.6  รู้หลักการพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษา
1.7  รู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลและเครือข่ายการเรียนรู้
1.8  วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
1.9  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และการเรียนการสอนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
เนื่องจากเป็นรายวิชาแกนทางด้านการศึกษาที่แต่ละหลักสูตรในกลุ่มครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีการจัดการเรียนการสอนปรากฏในเล่ม มคอ.2 เหมือนกัน และมีการจัดการเรียนการสอนในหลายเขตพื้นที่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ดังนั้นเพื่อให้การกำหนดสาระการเรียนรู้ ทักษะที่พึ่งเกิดกับนักศึกษาที่จะไปเป็นครูผู้สอนในอนาคตที่จบในหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีมาตรฐานและกรอบแนวทางในการพัฒนา การสร้าง การใช้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาไม่แตกต่างกันจึงเกิดการร่วมระดมความคิดเห็นพัฒนาปรับปรุงรายละเอียดต่าง ๆ ใน มคอ.3 ให้มีแนวทางไปทิศทางเดียวกันอิงตามแนวคิดการปรับปรุงผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยมีความมุ่งหวังให้เกิดสิ่งต่อไปนี้กับผู้สอน และผู้เรียน

ความชัดเจนในกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นำกระบวนการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ร่วม ได้แนวทางการสอนที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการสอน วิธีการประเมิน และผลที่คาดว่าจะเกิดหลังจากมีการจัดการเรียนการสอน เพิ่มแนวทางที่มีความเหมาะสมและสอดรับกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และ มคอ.2 ของหลักสูตรในด้าน Learning Outcome ที่เป็นไปตามทิศทางมาตรฐานบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประเภทของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การออกแบบ การสร้าง การประยุกต์ใช้ การประเมินหาประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้และการสื่อสาร การพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษา การวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมการศึกษา แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ การประเมินสื่อนวัตกรรม
อาจารย์สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษา โดยสามารถปรึกษาอาจารย์ได้ผ่านช่องทางใดทางหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ให้คำปรึกษานักศึกษาแบบ Face to Face ให้นักศึกษาสามารถเข้ามาปรึกษาอาจารย์ในห้องพักครู ในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนในรายวิชาเพื่อให้คำปรึกษาสำหรับนักศึกษารายบุคคลที่มีปัญหา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่าน Social Media โดยการตั้งกลุ่มสนทนา ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มที่ประกอบด้วยอาจารย์และนักศึกษา และให้คำปรึกษาผ่านแอพลิเคชันต่างๆ เช่น Line, Facebook เป็นต้น โดยจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ
3.       ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่านทางโทรศัพท์ โดยสามารถโทรศัพท์เพื่อปรึกษาอาจารย์ประจำวิชาได้เป็นรายบุคคล
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
         1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
         1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ( ˜ )
         1.1.3 มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม ( ˜ )
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 บรรยาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษา และร่วมวิเคราะห์ เกี่ยวกับจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
          1.2.2 สร้างข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด การแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง
          1.2.3  ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรมกับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
           1.3.1   มีการให้คะแนนการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงาน
          1.3.2   หากมีการกระทำทุจริตในการสอบถูกตัดคะแนน
          1.3.3   มีการให้คะแนนคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษาและการมีจรรยาบรรณในการอ้างอิงที่ไปที่มาของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงาน
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้น เป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
          2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา ( ˜ )
          2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา ( ˜ )
          2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ( š )
2.2.1 บรรยายเนื้อหาทางทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
          2.2.2 มอบหมายงานค้นคว้า ทำรายงาน ติดตามความก้าวหน้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
          2.2.3 ร่วมวิเคราะห์แนวทางในการบูรณาการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในศาสตร์ของสาขาวิชาที่เรียน
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ ความเข้าใจ
2.3.2 ประเมินผลรายงานและการนำเสนอรายงาน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ ( ˜ )
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ( š )
3.2.1 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และทำรายงานทางเอกสาร
3.2.2 การมอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วางแผนก่อนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
3.2.3 คิดวิเคราะห์ปัญหาจากใช้ ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
3.3.1 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และการวิเคราะห์ บรูณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชา
3.3.2 ประเมินผลจากแผนการปฏิบัติงาน
3.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลงานที่เป็นระบบ
3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม การแก้ไขปัญหาระหว่างการนำเสนอ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำงานร่วมกับคนที่มาจากหลายที่ มีความแตกต่างกันทางแนวคิด วัฒนธรรม สถาบันการศึกษา และเชื้อชาติ ซึ่งอาจเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง นักศึกษาจึงต้องได้รับการฝึกประสบการณ์พื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ดังนั้นผู้สอนต้องแนะนำการวางตัว  มารยาทในการเข้าสังคม และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ( š )
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( š )
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.2 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 การประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 การประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 สังเกตพฤติกรรมการเป็นมีส่วนร่วมระหว่างการทำงานกลุ่ม และการนำเสนอ
ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม ( š )
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( ˜ )
 
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ
5.2.2 นำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 มอบหมายให้นำเสนองานที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
5.3.3 ประเมินจากความชัดเจนของภาษา
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( ˜ )
6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนใด้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม ( ˜ )
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1  มอบหมายงานออกแบบและสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการต่างๆ ได้เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละประเภท
6.2.2  มอบหมายให้ประเมินและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาที่นักศึกษาสร้างขึ้น
6.3.1  ประเมินผลงานของนักศึกษา
6.3.2  ประเมินจากการรายงานและนำเสนอ
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1.กิดานันท์ มะลิทอง. เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร:
          โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์. 2548.
2.วัชรพล วิบูลยศริน. นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร:       ลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556.
3. สุคนธ์ สินธพานนท์. นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่4.
กรุงเทพมหานคร: เทคนิคพริ้นติ้ง. 2553.
4. กิดานันท์ มะลิทอง. สื่อการสอนและฝึกอบรมจากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่1.
 กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์. 2544.
1. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://boonin2.blogspot.com/ 24/12/59
2. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/Apinya0936/2013/12/24/entry-3 24/12/59
3. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/ajthanadol/nwatkrrm/naewkhid-phun-than-khxng-nwatkrrm-thangkar-suksa 27/12/59
4. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://kubsap.blogspot.com/2013/11/blog-post_2.html 28/12/59
5. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/Apinya0936/2013/12/24/entry-3 30/12/59
6. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://home.kku.ac.th/hslib/412141/412141_2548/c1s1intro.htm 2/01/60
7. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/a/payaptechno.ac.th/gg-ss-payap/ 4/01/60
8. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id= mhajoy&month =10-01-2008&group=2&gblog=6 5/01/60
9. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/prae8311/hlak-kar-xxkbaeb-khxng-addie-model 5/01/60
10. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก https://chinese-edu.wikispaces.com/ระบบการสอนของบุคคลต่างๆ 6/01/60
11. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก https://mataveeblog.wordpress.com/2016/02/15/ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มป/ 6/01/60
12. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/0B-CnS7QDe4t_OEFuRktEen/ RneWs/edit 6/01/60
13. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก https://occupationandtechnologym3.wordpress.com/เรื่องที่-1-ทำความรู้จัก/ 6/01/60
14. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.sahavicha.com/UserFiles/File/Manual_%20FreeMind.pdf 7/01/60
15. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://freemine2538.blogspot.com/p/freemind_26.html 7/01/60
16. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.agri.cmu.ac.th/upload/download/49080097.pdf 7/01/60
17. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.kroojan.com/flash/content/flash-intro.html 7/01/60
18. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E- Learning/CAREER_COMPUTE/ COMPUTER/M4/Flash/chapter5.html 7/01/60
19. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/thidaratsrimoon/e1-e2-khux-xari 8/01/60
20. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.kmutnb.ac.th/research_journals.php 9/01/60