ธุรกิจการบิน

Airline Business

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1 เพื่อศึกษาความหมาย ความสำคัญ ของความเป็นมาและความสำคัญของธุรกิจการบินได้
          1.2 เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจในธุรกิจการบิน  ธุรกิจเครื่องบิน ธุรกิจท่าอากาศยาน  ธุรกิจบริการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน
          1.3 เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจการจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน การสำรองที่นั่ง การออกตั๋ว และการให้บริการผู้โดยสารของสายการบิน
1.4 ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจในมาตรฐานที่ใช้ในธุรกิจการบิน รหัสชื่อย่อ ชื่อเต็มของสายการบิน และของเมืองในแต่ละประเทศ การอ่านและใช้ตารางเวลาเที่ยวบิน เส้นทางการบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศของสายการบินต่างๆ การอ่านบัตรโดยสารตั๋วเครื่องบินประเภทต่างๆ ระบบการสำรองที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์ (CSR ) การบันทึกข้อมูลของผู้โดยสารและการอ่านข้อมูล ( PNR )
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
2.1 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในการดำเนินการในธุรกิจการบิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นที่เกี่ยวกับการเดินทางและการท่องเที่ยว
2.2 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในกิจกรรมทางการตลาดและการส่งเสริมการตลาดในธุรกิจการบิน
1. คำอธิบายรายวิชา
   ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจการบิน  ภูมิศาสตร์การบิน กฎและระเบียบการจราจรทางอากาศ ตารางเวลากำหนดการบิน ชนิดของเครื่องบินและประสิทธิภาพการบิน งานบริการภาคพื้นดินและบนเครื่องบิน ระบบการจอง การออกบัตรโดยสารและการคิดคำนวณค่าโดยสาร ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสำรองที่นั่งสายการบิน การจัดทำเอกสาร และระเบียบพิธีการเข้า-ออกระหว่างประเทศ การขนส่งและพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ และศึกษาดูงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4 ชั่วโมง/สัปดาห์
 
1. คุณธรรม จริยธรรม
          1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในด้านธุรกิจการบิน
1.1.2 มีบทบาทในการพัฒนาผู้เรียนในมีความรู้ความเข้าใจ และความรับผิดชอบ โดยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ตลอดจนความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ   
 1.2 วิธีการสอน
          วิธีการสอนโดยการบรรยาย สาธิต พร้อมยกตัวอย่างประกอบ และ มอบหมายงานเดี่ยว และงานกลุ่ม และอภิปรายผลการดำเนินกิจกรรมในแต่ละงาน โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
          1.3 วิธีการประเมินผล
         นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจความเป็นมาและความสำคัญของธุรกิจการบินได้  และมีความรู้ในรวมถึงนักศึกษาสามารถนำความรู้ด้านการสำรองที่นั่งมาใช้ในการประกอบธุรกิจนำเที่ยว
    2.1  ความรู้ที่ต้องได้รับ
        นักศึกษาต้องมีความรู้ในด้าน ภูมิศาสตร์การบิน กฎและระเบียบการจราจรทางอากาศ ตารางเวลากำหนดการบิน ชนิดของเครื่องบินและประสิทธิภาพการบิน งานบริการภาคพื้นดินและบนเครื่องบิน รวมถึงการบริการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ
    2.2  วิธีการสอน
          2.2.1 อธิบายความหมาย ความเป็นมาด้านธุรกิจการบินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาเข้าใจ
          2.2.2 ให้นักศึกษานำเสนองานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
   2.3 วิธีการประเมินผล
         พิจารณาจากข้อมูลที่นักศึกษานำเสนอและวิธีการนำเสนอหน้าห้องเรียนโดยสามารถสื่อความหมายให้อาจารย์และเพื่อนๆนักศึกษาในชั้นเรียนให้เข้าใจ
   3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
        การฝึกคิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
   3.2 วิธีการสอน
        ให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านการบิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมข้อเสนอแนะด้านการตลาดของธุรกิจการบิน และศึกษาจากกรณีศึกษา
   3.3 วิธีการประเมินผล
        สังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียนและติดตามงานที่ได้มอบหมาย และประเมินจากแบบฝึกหัด  การทดสอบวัดความรู้และทักษะ  และงานที่ได้รับมอบหมาย
    4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
           การทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างเหมาะสม
    4.2 วิธีการสอน
           ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ทำการศึกษาภูมิศาสตร์การบิน กฎและระเบียบการจราจรทางอากาศ ตารางเวลากำหนดการบิน ชนิดของเครื่องบินและประสิทธิภาพการบิน
    4.3 วิธีการประเมินผล
           พิจารณาจากข้อมูลที่นักศึกษาทั้งกลุ่มนำเสนอหน้าห้อง โดยทุกคนสามารถนำเสนอหน้าห้องเรียน สามารถสื่อความหมายให้อาจารย์และนักศึกษาในชั้นเรียนเข้าใจได้
    5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
          นักศึกษาสามารถคิด คำนวณ ระยะเวลาในการเดินทาง ตามเวลามาตรฐานโลก
    5.2 วิธีการสอน
           ให้นักศึกษาทำรายงานและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
    5.3 วิธีการประเมินผล
           พิจารณาจากข้อมูลที่นักศึกษาทั้งกลุ่มนำเสนอหน้าห้อง โดยทุกคนสามารถนำเสนอหน้าห้องเรียน สามารถสื่อความหมายให้อาจารย์และนักศึกษาในชั้นเรียนเข้าใจได้
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
ผู้เรียนสามารถอ่านIATA Code และอ่านตั๋วเครื่องบินได้ รวมถึงเข้าใจระเบียบพิธีการเข้าออกประเทศโดยสามารถแนะนำการเตรียมตัวเดินทางทั้งก่อนและหลังขึ้นเครื่องได้
6.2 วิธีการสอน
ให้ฝึกท่องและทำความเข้าใจใน Code ที่ใช้ในธุรกิจทางอากาศ และ กฎระเบียบของการเดินทางเข้าออกประเทศ 
ทดสอบปากเปล่า จากการตอบคำถาม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BOATH109 ธุรกิจการบิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 กรณีศึกษาและจิตพิสัย ชิ้นงาน และความตั้งใจเรียน ตลอดการจัดการเรียนการสอน 10%
2 งานชิ้นที่ 1 ให้นักศึกษาจัดทำบอร์ด ข่าวสารการบินแต่ละคน พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน ข้อมูลที่นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียนและการตอบคำถาม ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 สอบกลางภาค ข้อสอบอัตนัย 9 30%
4 งานชิ้นที่ 2 ให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายพร้อมนำเสนองานกลุ่ม ข้อมูลที่นักศึกษานำเสนอหน้าห้อง สามารถสื่อความหมายให้อาจารย์และนักศึกษาในชั้นเรียนเข้าใจได้ 12 10%
5 งานชิ้นที่ 3 ส่งรูปเล่มรายงาน พิจารณาจากเล่มรายงาน 17 10%
6 สอบปลายภาค ข้อสอบแบบปรนัย 18 30%
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการบินและการจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร : บริษัทเพรส แอนด์ ดีไซน์.
พรนพ พุกกะพันธุ์. (2548).ธุรกิจการบิน (Airline business). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว ฉลองศรี พิมลสมพงศ์ 2550.
ICAO องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ : https://www.icao.int/Pages/default.aspx
          CACT สถาบันการบินพลเรือน : http://www.catc.or.th/2015/index.php/th/documents.
          IATA สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ : https://www.iata.org/Pages/default.aspx
เกรด คะแนน เกณฑ์การพิจารณา A 80 – 100 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 3 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 80 -100 %  B+ 75 - 79 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 3 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 75 - 79 % B 70 - 74 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 3 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 70 - 74 %  C+ 65 - 69 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 3 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 65 - 69 % C 60 - 64 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 3 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 60 - 64 %  D+ 55 - 59 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 3 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 55 - 59 % D 50 - 54 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 3 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 50 - 54 % F 0 - 49 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 3 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 0 - 49 %
          ให้นักศึกษากรอกข้อมูลแบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพการสอนในชั้นเรียน
ผลที่ได้รับจากการสรุปแบบสอบถาม มาปรับปรุงการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนมากขึ้น
การสอบปลายภาค
          นำข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินการสอนเทอมปัจจุบันไปปรับปรุงพัฒนาประสิทธิผลของรายวิชาในเทอมต่อไป