ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการออกแบบอย่างยั่งยืน

Local Wisdom and Sustainable Design

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนรู้ความหมาย ความสำคัญของภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ ในบริบทของท้องถิ่นตนเอง 1.2 เพื่อให้ผู้เรียนรู้ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นและการออกแบบอย่างยั่งยืน 1.3 เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายภูมิปัญญาท้องถิ่นและการออกแบบอย่างยั่งยืน ได้อย่างถูกต้อง 1.4 เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นแนวทางสู่การออกแบบอย่างยั่งยืน 1.5 เพื่อให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานออกแบบโดยใช้หลักการออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1.6 เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย  
เพื่อใช้เป็นแนวทางการสอนในรายวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นและการออกแบบอย่างยั่งยืน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีการดำเนินชีวิตของคนพื้นถิ่น  บริบททางวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ งานหัตถกรรม การแต่งกาย หัตถศิลป์ การละเล่น ศาสนา งานช่างฝีมือของชุมชน การสร้างสรรค์ผลงานทั้งแนวอนุรักษ์และแนวประยุกต์ ตามทฤษฎี แนวคิด หลักการออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
1 ชั่วโมง โดยระบุ วัน เวลา ไว้ในตารางสอนและแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต     2) มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม     3) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์     4) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม     5) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  
1) ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย คุณธรรม และจริยธรรม โดยเน้นเรื่องความรับผิดชอบส่วนบุคคล โดยการสอดแทรกไว้ในชั่วโมงเรียน     2) ฝึกและกระตุ้นให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม เป็นผู้นำกลุ่ม และเป็นสมาชิกกลุ่มที่ดี      3) ฝึกและกระตุ้นให้นักศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ งานออกแบบ     4) ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการอภิปรายเชิงวิชาการ และความคิดเห็นต่างๆ   
1) พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา     2) การมีส่วนร่วมในการอภิปราย หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร  
1) มีความรู้ ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมประเภทต่างๆ  ในบริบทท้องถิ่นของตนเอง     2) มีความรู้ ความเข้าใจ หลักการออกแบบเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน      3) สามารถบูรณาการความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและการออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง  
1) บรรยาย อภิปราย ในชั้นเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา         2) กระตุ้นให้นักศึกษาได้ค้นคว้าเอกสาร ตำรา สื่อออนไลน์ต่างๆ เพิ่มเติม  
1) สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการหรือทฤษฏี และความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์         2) วิธีการปฏิบัติงานตามกระบวนการอย่างถูกต้อง 3) ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของผลงาน และการนำเสนอความคิด
1) การคิดหาเหตุผลอย่างมีระบบ แบบแผน เข้าใจที่มาของแนวคิด แรงบันดาลใจ และการปฏิบัติงานถูกต้องตามกระบวนการ     2) รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา เพื่อนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น  
1)   บรรยาย และการให้นักศึกษาปฏิบัติโครงงานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา     2)  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา     3) การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับการออกแบบอย่างยั่งยืน  
1) สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการออกแบบอย่างยั่งยืน     2) ประเมินจากการปฏิบัติงาน หรือโจทย์จากโครงงาน     3) สังเกตจากพฤติกรรมการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา  
1)  การมีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี     2) การมีความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ     3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม     4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ของตนเองมาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม  
1) มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล     2) การนำเสนอรายงาน และอภิปรายร่วมกัน  
1) ประเมินผลจากรายงานที่นำเสนอ และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม     2) ประเมินผลจากคุณภาพของงานที่มอบหมาย     3) พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มและการช่วยเหลือกัน  
1) สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม     2) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม     3) สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
1) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็ปไซด์ โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ     2) นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  
1) ประเมินผลจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี     2) ประเมินผลจากมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย  
1) มีทักษะด้านการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการออกแบบอย่างยั่งยืน และใช้เครื่องมือปฏิบัติงานสองและสามมิติ     2) มีทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นพื้นฐานสำคัญ     3) มีทักษะด้านแนวคิดทางการออกแบบ ด้านความงาม หรือด้านประโยชน์ใช้สอย  
1) มอบหมายงานให้ปฏิบัติงาน     2) ให้นักศึกษาเสนอและวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่งานออกแบบอย่างยั่งยืน  
1) ประเมินผลจากแนวคิดการออกแบบ งานสร้างสรรค์     2) ประเมินผลจากผลงานการออกแบบและงานสร้างสรรค์     3) ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอภิปราย
 
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 MAAAC103 ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการออกแบบอย่างยั่งยืน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม -การเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา -มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
2 ความรู้ -สอบกลางภาค -สอบปลายภาค -วิธีการปฏิบัติงานตามกระบวนการอย่างถูกต้อง ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของผลงาน และการนำเสนอความคิด 9 และ 7 ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10 ร้อยละ 10 ร้อยละ 5
3 ทักษะทางปัญญา - สอบกลางภาคและปลายภาค - ประเมินจากการปฏิบัติงาน หรือโจทย์จากโครงงาน สังเกตจากพฤติกรรมการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา สัปดาห์ที่ 17 ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1) ประเมินผลจากรายงานที่นำเสนอ และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 2) ประเมินผลจากคุณภาพของงานที่มอบหมาย 3) พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มและการช่วยเหลือกัน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 5
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1) ประเมินผลจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 2) ประเมินผลจากมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 5
6 ทักษะพิสัย 1) ประเมินผลจากแนวคิดการออกแบบ 2) ประเมินผลจากผลงานการออกแบบ ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 45
กฤษณะพล  วัฒนวันยู. การออกแบบอย่างยั่งยืน.กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2546. กรมศิลปากร. ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1 , กรุงเทพฯ :  มปท, 2542. กรมส่งเสริมการเกษตร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : (เอกสารออนไลน์), 2557. สุวิทย์  วงศ์รุจิราวาณิชย์. Sustainable Design ดีไซน์ .เปลี่ยนโลก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ,                    2554. เอกวิทย์  ณ ถลาง. ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภาค วิธีคิดและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย.นนทบุรี :          โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2540.  
ไม่มี
เอกสารวิชาการ หนังสือ และเว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
1.1    การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2    แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา   
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้  
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน โดยการสัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม  
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์