สัมมนาการจัดการ

Seminar in Management

1. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสัมมนาและการจัดสัมมนา
2. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบ บทบาทหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนา
3. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน และการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนา
4. เพื่อบูรณาการทฤษฎี ความรู้ ประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาร่วมกับการจัดสัมมนา
เพื่อให้นักศึกษาสามารถบูรณาการวิชาการความรู้ กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และฝึกทักษะในการจัดสัมมนาวิชาการ
ศึกษาและสัมมนาปัญหาสำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เน้นทางด้านการจัดการ ของกลุ่มวิชาชีพ โดยบูรณาการทฤษฎี ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้ ศึกษามา เพื่อเสริมสร้างให้นักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจ ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพและปัญหาต่าง ๆ ของการจัดการในธุรกิจ ใช้กรณีศึกษาหรือ สถานการณ์จริง อภิปรายเพื่อหาแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการฝึกปฏิบัติทักษะการจัดสัมมนาวิชาการ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาตามเวลาที่กำหนดไว้หน้าห้องพัก เป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
3. กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์การและทรัพยากรมนุษย์
3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผน
4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
1. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
3. การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2. ผลการฝึกปฏิบัติ
3. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา และมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
2. สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3. สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
4. มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
1. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
2. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
3. จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
1. ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
2. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
3. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1. ความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์ และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
2. มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
3. มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อี่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4. มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
1. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
3. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
1. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2. พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
3. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
4. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจเชิงธุรกิจ
2. สามารถสื่อสารภาษาไทย และภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
4. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5. สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
6. ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงาน และทราบข้อจำกัดของเทคโนโลยี
7. ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
1. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
2. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
4. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2.  พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
3. ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 12011405 สัมมนาการจัดการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 2.1.2 2.1.3 2.1.4 การดำเนินการจัดสัมมนาวิชาการ 15, 16 50%
2 1.1.1 1.1.2 1.1.3 3.1.1 3.1.2 3.1.3 5.1.1 5.1.2 5.1.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน และการนำเสนอ การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1.1 1.1.3 การเข้าชั้นเรียน จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 20%
การจัดสัมมนา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษกานดา สุภาพจน์
จิตต์นิภา ศรีไสย์. 2549. ภาษาไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ วิศาลเวชกิจ. การประชุมสัมมนา. ในสัมมนาธุรกิจศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.
พิศเพลิน สงวนพงศ์. 2548. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เทียนวัฒนา.
เศรษฐพงศ์ อัปมะเย. การจับจีบผ้าติดโต๊ะ หน่วยที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : บริษัทวาดศิลป์
จำกัด, 2552.
มุกดา ใจซื่อ. พื้นฐานการจัดดอกไม้ หน่วยที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์
แม่บ้าน จำกัด, 2558.
การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน หรือ ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน หรือ  แบบประเมินผู้สอน ซึ่งนักศึกษาจะต้องเป็นผู้ประเมิน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา
2.1 เทคนิควิธีการสอน / กิจกรรมการเรียนรู้ หรือ
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา ซึ่งได้มาจาก การให้คะแนน รายงาน/โครงการ หรือ
2.3 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา โดยให้นักศึกษาตอบแบบประเมิน
“การประเมินการสอนโดยนักศึกษาในรายวิชา”
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมแนวทางวิธีการสอนด้วยตนเอง ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนตามผลการเรียนรู้ให้ดีขึ้น เหมาะสมกับผู้เรียนมากขึ้น หรือ จัดกิจกรรมในการระดมสมอง และในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอนกับผู้สอนร่วม หรือ
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การสอนในรายวิชา จะมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามที่คาดหวังในรายวิชา ซึ่งได้กำหนดไว้ในหลังสูตร ดังนี้
4.1 กำหนดคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา ประกอบด้วย 1) อาจารย์ในสาขาวิชาที่ไม่ใช่ผู้สอน 2) ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ
4.2 กำหนดวิธีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา เช่น การประเมินข้อสอบกลางภาค/ปลายภาค หรือ การประเมินโครงงาน / รายงาน / กิจกรรม หรือวิธีการให้คะแนน ในรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชา เมื่อครบรอบการปรับปรุงหลักสูตร (ทุก 5 ปี) หรือปรับปรุง ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงวิธีการสอน / กิจกรรม / โครงงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามที่คาดหวังในหลักสูตร และสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม