สังคมวิทยาเบื้องต้น

Introduction to Sociology

เข้าใจขอบเขตของวิชาสังคมวิทยา และทฤษฎีทางสังคมวิทยาเบื้องต้น เข้าใจการจัดระเบียบทางสังคม เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม เข้าใจสภาพของสังคมและนำไปพัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข เข้าใจและเห็นความสำคัญของประชากรและชุมชน
   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านสังคมวิทยา เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม  โดยการปรับปรุงด้านเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่ตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
ศึกษาความหมาย และขอบข่ายของสังคมวิทยาพื้นฐาน ทฤษฎีทางสังคมวิทยา การจัดระเบียบสังคม การขัดเกลาทางสังคม การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม บทบาทและหน้าที่ของสถาบันสังคมต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ความสำคัญของประชากรและสภาพชุมชนในแง่ของมนุษย์นิเวศวิทยา ตลอดจนปัญหาสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทาง e-mail  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำ              ทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์               (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้รู้จักสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเองในการเป็นสมาชิกในสังคมรูปแบบ  ต่าง ๆ อันจะดำรงเป้าหมายสูงสุดในการรักษาความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวมของสังคม และคงไว้ซึ่งเสรีภาพของปัจเจกชน การถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม การจัดระเบียบสังคมโดยมีกฎหมายเป็นเครื่องมือกำกับ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาสังคม และทราบแนวทางที่จะนำมาแก้ไขปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน
            ในภาพรวมจะทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการพัฒนาตนเองให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเกิดสันติและความสงบในสังคมโลก พร้อมกับการรู้จักเคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

มีวินัย  ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างรอบคอบและมีสติ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม  การจัดระเบียบสังคม  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม อภิปรายกลุ่มเรื่องปัญหาขัดแย้งทางสังคมและกลุ่มต่าง ๆ บทบาทสมมุติเรื่องปัญหาสังคม วิจารณ์สังคมไทย ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและกฎหมาย การถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการจัดระเบียบสังคม

1.2.6 ใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip, วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.1   การเข้าชั้นเรียน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.2   ส่งงานตามที่กำหนด
1.3.3   ประเมินจากคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.4   ประเมินผลจากการวิเคราะห์ข่าวสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของนักศึกษา
1.3.5   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยโปรแกรม Power point                      วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.6   ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสาร                     อ้างอิงอย่างน้อย 5 เล่ม
2.1.1   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.2   สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.3   มีความรู้เบื้องต้นในทางสังคมศาสตร์
2.1.4   ตระหนักและเห็นความสำคัญของสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนเอกลักษณ์และค่านิยม
ของสังคมไทย
2.1.5   มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
2.1.6   เข้าใจการจัดระเบียบทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และปัญหาสังคม
2.1.7   สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว และสถานการณ์เกี่ยวกับสังคมตามหัวข้อที่เรียน โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
2.3.1   กิจกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2.3.2   รูปเล่มรายงาน/การนำเสนองานในชั้นเรียน
2.3.3   การทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
 
                    การสอนวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้นช่วยให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์แบบโยนิโสนมสิการ ไม่ฟังอะไรแล้วตัดสินแต่ต้องหาข้อมูลและฟังแนวคิดของคนอื่น ๆ ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเอง  เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม  โดยเฉพาะในบริบทของสังคมไทยปัจจุบัน
3.2.1   การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
3.2.2   ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point
3.2.3   ให้นักศึกษาดู Clip , โฆษณา ฯลฯ แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์ในชั้นเรียน
3.2.4   เกมส์ / กิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
3.3.1   การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
3.3.2   รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน 
3.3.3   สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น
4.1.2   มีความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
4.1.4   สามารนำความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
- พัฒนาทักษะจิตสาธารณะทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
- พัฒนาทักษะคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ  ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
4.2.1   จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
4.2.2   กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุป
         เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 
4.2.4   กรณีศึกษา
           - สื่อจาก Clip โฆษณา และวีดีทัศน์
4.3.1  ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
4.3.2  ผู้สอนประเมินตามแบบการนำเสนอ
4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
4.3.4  การคิดวิเคราะห์จากกรณีศึกษา Clip โฆษณา และวีดีทัศน์
5.1.1   พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูล 
5.1.2   พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อ
           จาก Internet  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านการเพิ่มพูนความรู้
5.2.1   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดีทัศน์  และเทปเสียง
5.2.2   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
5.3.1   ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 13061003 สังคมวิทยาเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้จากเนื้อหารายวิชา การทดสอบย่อยครั้งที่ 1 7 10
2 ความรู้จากเนื้อหารายวิชา การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 16 10
3 ความรู้จากเนื้อหารายวิชา สอบกลางภาค 9 20
4 ความรู้จากเนื้อหารายวิชา สอบปลายภาค 17 30
5 ความรู้ เนื้อหา การวิเคราะห์ วิเคราะห์กรณีศึกษา/ค้นคว้า/การนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 10
6 ความรู้ การทำงานกลุ่ม การนำเสนอ การวิเคราะห์ แบ่งกลุ่มอภิปราย โดยใช้ Power point ตลอดภาคการศึกษา 10
7 การเข้าชั้นเรียน , จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน , จิตพิสัย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
ศิริรัตน์ แอดสกุล.  ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้น
-  เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้น และเว็บไซด์อื่น ๆ
- หนังสืออ่านประกอบ
ยุทธพงศ์ จันทรวรินทร์.  มนุษย์กับสังคม: และหลักประยุกต์.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2550
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา

นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินการนำเสนอ นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1   สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายรายกลุ่มใหญ่
2.2   สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3   ประเมินจากผลการนำเสนอ
2.4   ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
การปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ
3.1   แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย
3.2   ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
3.3   ทำวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนน
ของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
5.1   วิชาสังคมวิทยาเบื้องต้นต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 3 ปี
5.2   เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้
5.3   จัดดำเนินโครงการในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย
5.4   ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม