การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่

Entrepreneurship and New Venture Creation

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจคุณลักษณะ และทักษะที่จําเป็นสําหรับผู้ประกอบการ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ร่วมทุนที่เกิดขึ้นในธุรกิจใหม่ และประเมินโอกาสในการประกอบการ เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้กระบวนการของการสร้างกิจการได้ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและอธิบายจริยธรรมของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี
ยังไม่มีการปรับปรุง
ศึกษาเกี่ยวกับ คุณลักษณะของผู้ประกอบการ ทักษะที่จําเป็นสําหรับผู้ประกอบการ การพัฒนาและประเมินโอกาสในการประกอบการ บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ร่วมทุนที่เกิดขึ้นในธุรกิจใหม่ แผนการพัฒนาสําหรับธุรกิจใหม่ กระบวนการของการสร้างกิจการประเด็นที่สําคัญอื่นในการจัดการของผู้ประกอบการ จริยธรรมของการเป็นผู้ประกอบการ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในคาบแรกของการจัดการเรียนการสอน
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
นักศึกษาต้องมีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมอาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
1.2.1  เน้นให้นักศึกษามีความรับผิดชอบโดยในการเน้นการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.2 เน้นกิจกรรมในห้องเรียนและมอบหมายงานให้นักศึกษา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในฐานะการเป็นผู้ประกอบการที่ดี ให้มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการลอกผลงานของผู้อื่น
1.3.1 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมและงานที่ได้รับมอบหมายทั้งในรูปแบบงานกลุ่มและงานส่วนตัว
1.3.2 ปริมาณการกระทําทุจริตในการสอบและความซื่อสัตย์สุจริตในการทํางานที่ได้รับ มอบหมาย
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจคุณลักษณะ และทักษะที่จําเป็นสําหรับผู้ประกอบการ
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาและประเมินโอกาสในการทำธุรกิจ
2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบของผู้ร่วมทุนที่เกิดขึ้นในธุรกิจใหม่ และกระบวนการของการสร้างกิจการประเด็นที่สําคัญอื่นในการจัดการของผู้ประกอบการ
2.1.4 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับแผนการพัฒนาสําหรับธุรกิจใหม่ได้
2.1.5 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมของการเป็นผู้ประกอบการ
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้          
      รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิดโดย ฝึกการคิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ด้านความรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  จัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการ เช่น ทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และหน่วยงานต่างๆ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในการพัฒนาธุรกิจ  จัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experimental Instruction) การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ข้อเท็จจริง โดยเชื่อมโยงความอยากรู้ อยากเห็น อยากเรียน รู้ของผู้เรียนจากประสบการณ์เดิม สู่การค้นคว้า แสวงหาความรู้ใหม่ หรือแนวคิด ทฤษฎีใหม่ การเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวม และสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจในอนาคตได้
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   แผนธุรกิจ
2.3.3   รายงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ด้านความรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  จัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการ เช่น ทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และหน่วยงานต่างๆ และนำความรู้ช่วยเหลือชุมชนได้
3.1.4 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับแผนการพัฒนาสําหรับธุรกิจใหม่ได้
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
 
3.2.1 มอบหมาย Case Study ให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์แนวทางการประกอบธุรกิจ
3.2.2  การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อออกแบบธุรกิจStart up และจัดทำเขียนแผนธุรกิจ
3.2.3 1 PAGE SUMMARY NOTES โดยการสรุปเนื้อหาแต่ละสัปดาห์ในกระดาษ A4 จำนวน 1 แผ่นทุกคาบเรียน
3.3.1   ประเมินจากวิเคราะห์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่เหมาะสม
3.3.2   ประเมินจากการทดสอบภาคปฏิบัติรายบุคคลท้ายภาคเรียน
3.3.3   ประเมินจากการจัดทำแผนธุรกิจ และความเป็นไปได้ของธุรกิจที่จัดทำ
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1   การลงมือทำปฏิบัติการรายกลุ่ม
4.2.2   มอบหมายงานกลุ่มในการแก้ไขโจทย์ปัญหาจากสถานประกอบการ
4.3.1  ปฏิบัติการรายกลุ่มประเมินจากสมุดบันทึกผลปฏิบัติการ รวมถึง พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2   ประเมินจากการบรรลุผลการแก้ไขโจทย์ปัญหา (การนำเสนอผลงาน)
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลในขณะจัดการเรียนการสอนด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่น การค้นคว้าหาข้อมูลสถิติแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น
5.2.2   ในการสอนภาคทฤษฎีให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเอกสาร การแบ่งงานที่เหมาะสม การจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ
5.2.3  ฝึกการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการค้นหาหรือวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค(Analyzing consumer Behavior)
5.3.1 งานที่มอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูล
5.3.2  การนำเสนองานในรูปแบบต่างๆ
    การเป็นผู้ประกอบการที่ดี ต้องเป็นนักแสวงหาโอกาส  คือจะต้องเป็นผู้มองเห็นโอกาสและหาช่องทางทางการค้าได้ตลอดเวลา  แม้จะตกอยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ต้องเป็นนักเสี่ยง  ต้องกล้าได้กล้าเสีย  พร้อมที่จะดำเนินการทันทีเมื่อมองเห็นโอกาส เป็นคนมีความคิดริเริ่ม  หรือสร้างสรรค์  ในการผลิตสินค้าหรือบริการใหม่  ออกสู่ตลาดที่มีสภาพการแข่งขันสูง ต้องเป็นคนที่ใฝ่รู้อยู่เสมอ  เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาทำให้สามารถปรับตัวได้เสมอ เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  ทำให้ธุรกิจมีทิศทางที่ชัดเจนไม่เดินทางออกนอกลู่นอกทาง  สามารถมุ่งไปสู่อนาคตด้วยเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน ต้องมีเครือข่ายดี  เพื่อที่จะทำให้ได้ประโยชน์ทั้งด้านข้อมูล  และการได้รับความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ  ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะคุณสมบัติและทักษะที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ ดังข้อต่อไปนี้
6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.1.3 มีความจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
6.2.1   นักศึกษาได้ลงมือฝึกทักษะปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทฤษฎีในทุกคาบเรียน
6.2.2   ฝึกให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ ผู้ประกอบการต้นแบบ
6.2.3   นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ธุรกิจใหม่ และวางแผนได้ด้วยตนเอง
6.3.1   ประเมินประสิทธิภาพในทักษะปฏิบัติ ความถูกต้องและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ โดยมีการทดสอบภาคปฏิบัติรายบุคคลท้ายภาคการศึกษา
6.3.2   ประเมินจากการนำเสนอกระบวนการได้มาซึ่งการแก้ไขโจทย์ปัญหา
6.3.3  ประเมินจากความเป็นไปได้ของการจัดทำแผนธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านความรู้ (ทดสอบภาคทฤษฎี) - ทดสอบย่อยท้ายคาบเรียนที่มีบรรยายทุกคาบ - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 และสัปดาห์ที่17 55
2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/ การส่งงานตามที่มอบหมาย ทุกสัปดาห์ 5
3 ด้านทักษะทางปัญญา แผนธุรกิจ สัปดาห์ที่ 16 20
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รายงาน สัปดาห์ที่ 1 - 16 5
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ งานกลุ่ม (Case Study) สัปดาห์ที่ 4-5 5
6 ด้านทักษะพิสัย ทักษะการปฏิบัติ สัปดาห์ที่ 1-16 10
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล.ม.ป.ป. การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.352 หน้า.
ALEXANDER OSTERWALDER และคณะผู้แปล : วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา. 2559. วิธีคิดผลิตภัณฑ์อย่างนักสร้างโมเดลธุรกิจ (VAL UE PROPOSITION DESIGN). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 281 หน้า
ดร. กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์,วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. 2554. วิธีเขียนแผนการตลาด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท, บจก. 180 หน้า.   
วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง, วรมน ดำรงศิลป์สกุล. 2558. Startup Ideas ไม่เริ่มคิดใหม่ ก็เดินได้ไกลเท่าเดิม. สำนักพิมพ์ มติชน : 304 หน้า
      การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อทบทวนผลการเรียนรู้หลังคาบเรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาเป็นรายบุคคลโดยนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
 2.1   การสังเกตการสอนของผู้ร่วมทีมสอน โดยประยุกต์ใช้แบบฟอร์มการนิเทศผู้สอนอย่างน้อย 2 ครั้งต่อรายวิชาในภาคการศึกษานั้นๆ
 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา และการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.2   การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ