การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการวิจัยการตลาด

Food Product Development and Marketing Research

อธิบายความสำคัญและเป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหารได้ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในอุตสาหกรรมอาหาร สามารถวิเคราะห์การตลาดของผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคในระดับท้องถิ่นและอุตสาหกรรมได้ ตลอดจนการวางแผนการตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต
ยังไม่มีการปรับปรุงเนื่องจากเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษา 2562
    ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญและเป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร การวิจัยการตลาด พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค การพัฒนาแนวคิดและการคัดเลือกแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบและข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์และการวางแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่
-   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในคาบแรกของการจัดการเรียนการสอน
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมอาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ               ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
1.2.1 เน้นให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนตรงเวลา และแต่งกายให้ตรงตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ฯ
1.2.2 เน้นให้นักศึกษามีความรับผิดชอบโดยในการเน้นการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.3 เน้นกิจกรรมในห้องเรียนและมอบหมายงานให้นักศึกษา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการโดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการลอกผลงานของผู้อื่น และมีการอ้างอิงที่มาที่สามารถตรวจสอบได้
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย
1.3.2 ประเมินจากการทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย และกิจกรรมในห้องเรียน โดยมีการกระจายงานอย่างเหมาะสม และการทำงานเป็นทีม
1.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาได้รับว่ามีการอ้างอิงที่มาอย่างถูกต้อง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอาหาร
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ           ในเนื้อหาที่ศึกษาของสาขาวิชาเฉพาะด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้     
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้น Practice Based Learning และ Problem Based Learningโดยฝึกให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทางทฤษฎี เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการวิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาดในระดับอุตสาหกรรมอาหารอย่างแท้จริง
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   บันทึกผลปฏิบัติการในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด
2.3.3   รายงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาทำการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด โดยเน้นให้นักศึกษา คิดและวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยสามารถวางแผนในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองและกลุ่มอย่างมีระบบ
3.2.2  ฝึกให้นักศึกษาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ครอบคลุมตามกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
3.3.1   ประเมินจากการข้อมูลที่ได้มีการสืบค้น ผลการแก้ไขโจทย์ปัญหา และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรมอาหารที่ตอบโจทย์ปัญหา (การนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ และรายงาน)
3.3.2   ประเมินจากการปฏิบัติและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระหว่างภาคเรียน
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1   การลงมือทำปฏิบัติการรายกลุ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่มให้ชัดเจนและเข้าถึง
 
4.2.2   มอบหมายงานกลุ่มในการแก้ไขโจทย์ปัญหาจากสถานประกอบการหรือจากกรณีศึกษาที่มาจากงานวิจัย หรือข้อมูลในอุตสาหกรรมอาหาร
4.2.3      มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มในการปฏิบัติการ เพื่อให้ทำงานกับบุคคลที่หลากหลายมากขึ้น
4.3.1  ประเมินจากการลงมือปฏิบัติการในงานที่ได้รับมอบหมาย รวมถึง พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2   ประเมินจากการบรรลุผลการแก้ไขโจทย์ปัญหา (การนำเสนอผลงาน)
4.3.3      ให้นักศึกษาประเมินความสัมพันธ์สมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
5.2.1 มีการนำเทคนิคการสืบค้น เพื่อทำรายงานและหาแหล่งข้อมูลในทางที่แม่นยำและถูกต้อง
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.3.1      ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2      ประเมินจากการสุ่มหาเอกสารอ้างอิงจากการที่ผู้เรียนทำรายงานมาส่งได้
5.3.3      ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารดังข้อต่อไปนี้
6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.1.3 มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
6.2.1   นักศึกษาได้ลงมือฝึกทักษะปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทฤษฎีในทุกคาบเรียน 
6.2.2   ฝึกให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ วางแผน เพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ได้รับจากสถานประกอบการหรือจากกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง
6.3.1   ประเมินจากแนวทางหรือแนวคิดที่นักศึกษาได้มีการถ่ายทอดผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ในส่วนด้านทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ
 6.3.2   ประเมินจากการนำเสนอกระบวนการได้มาซึ่งการแก้ไขโจทย์ปัญหา และจากการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3
1 ENGFI210 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการวิจัยการตลาด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านความรู้ - ทดสอบย่อย - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค ก่อน กลางภาค กลางภาค หลัง กลางภาค ปลายภาค 50%
2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/ การส่งงานตามที่มอบหมาย ก่อน กลางภาค/หลังกลางภาค 5%
3 ด้านทักษะทางปัญญา กิจกรรมกลุ่ม (การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่) ก่อน กลางภาค/หลัง กลางภาค 20%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รายงานแผนการทำธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ การนำเสนอผลงาน ก่อน กลางภาค/หลัง กลางภาค 10%
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ งานกลุ่ม (การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และเอกสารการนำเสนอ) ก่อนกลางภาค และหลังกลางภาค 10%
6 ด้านทักษะพิสัย ทักษะการปฏิบัติ ก่อน กลางภาค/หลัง กลางภาค 5%
คณาจารย์ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์.  2552.  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 3 คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; กรุงเทพมหานคร, 466 หน้า
วารุณี ตันติวงศ์วาณิช, นิภา นิรุตติกุล, สุนทรี เหล่าพัดจัน, พรพรหม พรหมเพศ, นิตยา งานแดน และ ผศ. จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. 2554.  หลักการตลาด ฉบับมาตรฐานและนิยามศัพท์การตลาด. เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า;กรุงเทพมหานคร, 344 หน้า
Smith, d. (2010). Exploring Innovation. 2nd Edition Mc Graw Hill. ISBN 13978-0-712123-5.
-
      การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อทบทวนผลการเรียนรู้หลังคาบเรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาเป็นรายบุคคลโดยนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
 2.1   การสังเกตการสอนของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือผู้สอนร่วม โดยประยุกต์ใช้แบบฟอร์มการนิเทศผู้สอนอย่างน้อย 2 ครั้งต่อรายวิชาในภาคการศึกษานั้นๆ
 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา และการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.2   การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ