การแปรรูปอาหาร 1

Food Processing 1

รู้และเข้าใจศึกษาคุณลักษณะทั่วไปของวัตถุดิบ การจัดการและการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตในอุตสาหกรรม การแปรรูปอาหารโดยวิธีการควบคุมปริมาณความชื้น การใช้เกลือ การใช้น้ำตาลและการคำนวณปริมาณน้ำตาลที่ต้องใช้ด้วยวิธี Pearson ’s square การหมักดอง การรมควัน การควบคุมอุณหภูมิ และการใช้วัตถุเจือปนในอาหาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการแปรรูปอาหาร
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ในวงการอุตสาหกรรมอาหารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

 
ศึกษาคุณลักษณะทั่วไปของวัตถุดิบ การจัดการและการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตในอุตสาหกรรม การแปรรูปอาหารโดยวิธีการควบคุมปริมาณความชื้น การใช้เกลือ การใช้น้ำตาลและการคำนวณปริมาณน้ำตาลที่ต้องใช้ด้วยวิธี Pearson ’s square การหมักดอง การรมควัน การควบคุมอุณหภูมิ และการใช้วัตถุเจือปนในอาหาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการแปรรูปอาหาร
Study of raw materials characteristic ; preparation and management of raw materials for industrial production : food processing methods such as moisture controlling, salting by Pearson square method, fermentation, smoking, temperature, controlling, food additive using; changes in food product during processing.
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล ทุกวันพุธเวลา 15.00 – 17.00 ในตารางเรียนมีการกำหนดให้เป็นการทำกิจกรรมของนักศึกษาและมีการจัดให้นักศึกษาเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผูสอนได้ในห้องพักอาจารย์ และนักศึกษาสามารถส่งข้อสงสัยได้ทาง e-mail และทาง face book
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
š1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ š1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
˜1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
š1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม š1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผิอื่น
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1 สอบข้อเขียนความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารวิธีต่างๆ เช่น การควบคุมปริมาณความชื้น การใช้เกลือ การใช้น้ำตาล การหมักดอง การรมควัน การควบคุมอุณหภูมิ วัตถุเจือปนในอาหาร การเตรียมวัตถุดิบเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
2 ประเมินวิธีการปฏิบัติที่ดีก่อนและหลังการในภาคปฏิบัติ และการควบคุมระหว่างกระบวนการผลิตในภาคปฏิบัติ
3 การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน ไม่ทุจริตในการสอบ การตรงต่อเวลาในการส่งรายงาน และการเข้าชั้นเรียนโดยนักศึกษาที่เข้าห้องเรียนสายเกิน 15 นาที จะถูกตัดคะแนนครั้งละ 1 คะแนน
4 ประเมินการแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของสาขาวิชา สวมเสื้อปฏิบัติการทุกครั้ง นักศึกษาที่ไม่สวมเสื้อปฏิบัติการจะถูกตัดคะแนน ครั้งละ 1 คะแนน
2. ด้านความรู้ที่ต้องการได้รับ
(Knowledge)
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
š2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่นๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
š2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
š2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การฝึกปฏิบัติการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตร 1 โดยเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริงบรรยายเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปในการแปรรูปอาหาร การเตรียมวัตถุดิบเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร การแปรรูปอาหารวิธีต่างๆ เช่น การควบคุมปริมาณความชื้น การใช้เกลือ การใช้น้ำตาล การหมักดอง การรมควัน การควบคุมอุณหภูมิ วัตถุเจือปนในอาหารมอบหมายงานให้มีการค้นคว้าความรู้ใหม่หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตร 1
1 สังเกตความสนใจและซักถามระหว่างการบรรยาย
2 สอบข้อเขียนเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปในการแปรรูปอาหาร การเตรียมวัตถุดิบเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร การแปรรูปอาหารวิธีต่างๆ เช่น การควบคุมปริมาณความชื้น การใช้เกลือ การใช้น้ำตาล การหมักดอง การรมควัน การควบคุมอุณหภูมิ วัตถุเจือปนในอาหาร
3 ประเมินผลการนำเสนอความรู้ใหม่หรืองานวิจัยทางแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตร เช่น การตอบข้อซักถามความเข้าใจและการประยุกต์ความเข้าใจกับวิชาอื่นๆ
4 ทำงานกลุ่ม และการเขียนรายงานปฏิบัติการ
3.ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills)
š3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่นๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
š3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์
š3.3 สามารถใช้ทักษะความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัยและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
š3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
1 มีปฏิบัติการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตรควบคู่กับหัวข้อภาคบรรยาย
2 อธิบายวิธีการฝึกเป็นลำดับขั้นตอน แบ่งกลุ่มนักศึกษา แนะนำเทคนิคระหว่างการฝึกปฏิบัติ คอยกำชับนักศึกษาให้ติดตามการควบคุมบางขั้นตอนการผลิตที่สำคัญ และวิจารณ์คุณภาพผลิตภัณฑ์ร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
3. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำปฏิบัติการ และเขียนรายงานของปฏิบัติการนั้นๆ โดยสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อนำมาเขียนวิจารณ์ผลการทดลอง ซึ่งรายงานมีเนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อปฏิบัติการ หลักการหรือทฤษฎี วัตถุประสงค์ อุปกรณ์ วิธีการทดลอง (ตามที่ปฏิบัติจริง) ผลการทดลอง วิจารณ์และสรุปผลการทดลอง เอกสารอ้างอิง
4. มอบหมายงานให้มีการค้นคว้าความรู้ใหม่หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตร
1 การสอบย่อย การเขียนรายงานปฏิบัติการ และสอบปลายภาค
2 ประเมินทักษะและการแก้ไขปัญหาระหว่างปฏิบัติ และคุณภาพผลิตภัณฑ์สุดท้าย
3 ประเมินผลการนำเสนอความรู้ใหม่หรืองานวิจัยทางการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตร เช่น การตอบข้อซักถามความเข้าใจและการประยุกต์ความเข้าใจกับวิชาอื่นๆ
4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
(Interpersonal Skills and Responsibility)
˜4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเอง และรับผิดชอบในงานกลุ่ม
š4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
š4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งตนเองและทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
1.มอบหมายงานทั้งงานรายบุคคล 2.อธิบายข้อปฏิบัติในการเข้าชั้นเรียนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ 3. แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ กำหนดหัวหน้ากลุ่มหมุนเวียนภายในกลุ่มทุกสัปดาห์อธิบายบทบาทและหน้าที่ของผู้นำและผู้ตามภายในกลุ่ม 4 มอบหมายให้นักศึกษาจัดกลุ่มตามลำดับ เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
1. ทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด
2. ตรวจสอบการความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา การแต่งกายที่เหมาะสม และการทำความสะอาดหลังการปฏิบัติ 3. สังเกตและประเมินการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม 4. ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา โดยนักศึกษาจะต้องส่งรายงานปฏิบัติการภายใน 1 สัปดาห์ถัดไปก่อนเวลา 16.00 น.
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)
˜5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
š5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้นๆ จากแหล่งของมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
š5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
š5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆได้อย่างเหมาะสม
˜5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
š5.7 สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
1 บรรยายวิธีการคำนวณสูตรการผลิต ร้อยละของอัตราการผลิตและคำนวณต้นทุนการผลิต
2 มอบหมายงานค้นคว้างานวิจัยใหม่ๆ ทางการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตรที่มีการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ และมีการนำเสนอในชั้นเรียน  
1 ทดสอบการคำนวณสูตรการผลิต ร้อยละของอัตราการผลิตและต้นทุนการผลิต 2 ประเมินผลการนำเสนอความรู้ใหม่หรืองานวิจัยทางการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตร เช่น การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอ
6. ทักษะพิสัย
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ˜6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1 อธิบายวิธีการปฏิบัติ และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ 2 อธิบายวิธีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสม และข้อควรระวังใช้การใช้เครื่องมือ 3 สาธิตและแนะนำทักษะการปฏิบัติ กำชับการควบคุมระหว่างกระบวนการปฏิบัติ และมีการ
1 ประเมินความสำเร็จของงาน ตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม 2 ประเมินการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อย่างเหมาะสม 3 สอบภาคปฏิบัติและประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ที่ต้องการได้รับ (Knowledge) 3.ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา (Interpersonal Skills and Responsibility 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) 6. ทักษะพิสัย ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต 1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผิอื่น 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่นๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ 2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่นๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ 3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถใช้ทักษะความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัยและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเอง และรับผิดชอบในงานกลุ่ม 4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ 4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งตนเองและทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง 5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้นๆ จากแหล่งของมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ 5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด 5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆได้อย่างเหมาะสม 5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 5.7 สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1 BSCFT002 การแปรรูปอาหาร 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วย 1 และ2 หน่วย 3 และ4 หน่วย 5 และ6 หน่วย 7 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค ทดสอบย่อย สอบปลายภาค 4 9 12 17 14 % 14 % 18 % 14 %
2 การนำเสนองานวิจัยและรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งรายงานบทปฏิบัติการ 15 ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 12 % 4 % 12 %
กล้าณรงค์ ศรีรอด. 2520. เกลือ:คุณสมบัติและการใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร. กรุงเทพฯ, ภาควิชา เทคโนโลยีชีวภาพ หมาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร.2539. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการ อาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 504 หน้า. วิไล รังสาดทอง. 2552. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น. 500 หน้า. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. 2539. เอกสารการสอนชุดวิชาการ ถนอมและการแปรรูปอาหาร หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ. 307 หน้า. ไพบูลย์ ธรรมรัตน์วาสิก. 2529. กรรมวิธีการแปรรูปอาหาร. สงชลา. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Fellows, P.J. 1990. Food Processing Technology. Ellis Horwood. New York.
วารสารอาหาร, Journal of Food Science, Journal of Food Technology, Journal of Meat Science เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มี
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 2.4 การสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ ทางการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตรในชั้นเรียน 3.2 การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน 3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน 3.4 การบรรยายความรู้ความก้าวหน้าทางการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตรจากวิทยากรภายนอกตามโอกาส
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ภาควิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอน และกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าภาควิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็น และสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป