กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
Law for Accounting Profession
1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ได้แก่ พระราชบัญญัติการบัญชี พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี กฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำมาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีไปประยุกต์ได้อย่างเหมาะสม
1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำมาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีไปประยุกต์ได้อย่างเหมาะสม
2.1 เพิ่มกิจกรรมในห้องเรียนโดยการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ฝึกทักษะการนำเสนอและการประยุกต์ทฤษฎีที่เรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา
2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และแสดงความคิดเห็นต่อวิธีการสอนของอาจารย์เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงรายวิชา โดยผ่านทางเวปไซด์ของมหาวิทยาลัย
2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และแสดงความคิดเห็นต่อวิธีการสอนของอาจารย์เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงรายวิชา โดยผ่านทางเวปไซด์ของมหาวิทยาลัย
ศึกษากฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายเกี่ยวกับการจัดองค์กรธุรกิจด้านนิติบุคคล พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลและการออกหลักทรัพย์การเสนอขายหลักทรัพย์ การกำกับควบคุม และกฎหมายที่เกี่ยวกับการบัญชี เช่น พระราชบัญญัติการบัญชี พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี เป็นต้น
3.1 อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่าน Facebook ได้ตลอดเวลา
3.2 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
3.2 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน
การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาการทำงานทันตามกำหนด
ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
ความรู้ ที่ต้องได้รับ
1)
มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2)
มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากกรณีศึกษา
3)
สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ
การประเมินจากการสอบข้อเขียน
1
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
2
สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
1
ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
2
จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3
สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1)
ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา ที่ได้รับมอบหมาย
2)
ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญา
3)
ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1)
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
2)
มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
3)
มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
1)
มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2)
มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3)
ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
1)
ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2)
ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 2,3,5 | ทดสอบกลางภาคเรียน , ทดสอบปลายภาคเรียน | 9, 18 | 30% , 30% |
2 | 2,3,4,5 | งานที่มอบหมายในระหว่างเรียน , งานกลุ่ม | ทุกสัปดาห์ , สัปดาห์ที่ 17 | 10% , 20% |
3 | 1 , 2 , 3 , 4 ,5 | การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง | ทุกสัปดาห์ | 10% |
วิภาส ทองสุทธิ์.รวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 เข้าถึงจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : www.dbd.go.th
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 เข้าถึงจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : www.dbd.go.th กฎหมายแรงงานและประกันสังคม เข้าถึงจากเว็บไซต์ประกันสังคม :www.sso.go.th พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535
พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนฯ พ.ศ.2499
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุน เข้าถึงจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : www.boi.go.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์