เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อธุรกิจ

Social Network for Business

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในการสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อธุรกิจ 1.2 เพื่อเป็นแนวทางในการนำหลักการทางสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับธุรกิจ ทำให้เกิดการประยุกต์ใช้หลักเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อธุรกิจ 1.3 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ด้านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อธุรกิจ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีฐานความรู้ที่เป็นรูปธรรมในการศึกษาวิชาอื่น ๆ ในสาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ 2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ในวิชานี้เพื่อใช้ประกอบอาชีพได้
ความหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ลักษณะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทต่าง ๆ โครงสร้างและวิธีการทำงานของเครือข่ายสังคมออนไลน์ สื่อสมัยใหม่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ หลักการประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในเชิงธุรกิจ จริยธรรมในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ กฏหมายเกี่ยวข้องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีศึกษาในการนำเสนอเครือข่ายสังคมออนไลน์ไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์การทำธุรกิจผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ไม่สุจริต หรือจากมิจฉาชีพ การป้องกันตนเอง 1.2.2 อภิปรายกลุ่ม 1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการความสำคัญ องค์ประกอบของระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ ภาระหน้าที่ ของผู้เกี่ยวข้องในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ แหล่งที่มาของสารสนเทศ ประโยชน์ของระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์เชิงธุรกิจ ความเกี่ยวข้องของระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ในชีวิตประจำวัน และธุรกิจ  องค์ประกอบระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการระบบฐานความรู้ หลักการและขั้นตอนการพัฒนาระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ จรรยาบรรณ จริยธรรมของผู้เกี่ยวข้อง ผลกระทบของการใช้งานเทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์ ต่อบุคคลและสังคม การป้องกันอันตราย หรือภัยจากการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based 
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2 อภิปรายกลุ่ม 3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำเทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหมาะสม 3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์ 3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
ให้ทำโครงการร่วมกันเป็นกลุ่มโดยเน้นความรู้ที่เรียนในวิชากับปัญหาที่กำหนดแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ในระหว่างการสอน โดยผ่านการเล่าเรื่องต่าง ๆ พูดคุยกับนักศึกษาถึงความจำเป็นของรายวิชาที่เรียน ในระหว่างทำการสอน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง      
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข 5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.4 ทักษะการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์ 5.1.5 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 - 2.6, 3.2, 4.1 - 4.6, 5.3 - 5.4 การทำงานกลุ่มและนำเสนอ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 - 2.6, 3.2, 4.1 - 4.6, 5.3 - 5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษา อภิปรายและนำเสนอหน้าชั้นเรียน 12-15 20%
3 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาค 8 25%
4 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบปลายภาค 17 25%
5 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน  
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ