ปฏิบัติการสำนักงานจำลอง

Office Simulation Operation

1. มีความรู้และเข้าใจในการปฏิบัติงานหน้าที่ต่าง ๆ ภายในสำนักงาน
2. ประยุกต์ใช้ความรู้และมีพฤติกรรมในการปฏิบัติ งานอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพ
เศรษฐกิจ และสถานการณ์ปัจจุบัน
 เนื่องจากเป็นรายวิชาชีพที่มุงสร้างบัณฑิตให้มี ประสบการณ์และพัฒนาทักษะในการปฏิบัติ งานภายในสำนักงานมี ความรอบรู้ มีความสามารถ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
ฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ ภายในสำนักงาน  สถานประกอบการทางธุรกิจ  หรือหน่วยงานราชการ ที่ผู้ฝึกปฏิบัติงานสามารถจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานสำนักงานที่มีความเหมาะสม  ทันสมัยใกล้เคียงกับสภาพเศรษฐกิจ  และสถานการณ์ปัจจุบัน  นักศึกษาที่สอบผ่านวิชานี้จะเป็นผู้ได้รับการพัฒนาทักษะในระดับที่สามารถออกไปประกอบอาชีพในสำนักงานได้จริง ตลอดจนเป็นผู้ได้รับการพัฒนาทางด้านบุคลิกภาพ คุณธรรม จริยธรรม  และเจตคติที่เหมาะสมกับอาชีพงานในสำนักงาน
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต  ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม
1.1.2 มีความกตัญญู  ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
 1.1.3 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.4 มีจิตสำนักและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง  ความดี  และความชั่ว   
1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าฝึกปฏิบัติงานให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบ
1.2.2 กำหนดการทำรายงานโดยเน้นการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
1.2.3 กำหนดระเบียบลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยและสถานประกอบการ
1.2.4 มีกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องความเสียสละเพื่อส่วนรวมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
นักศึกษาสามขาการจัดการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม  มาตรฐานการเรียนรู้ครอบคลุมถึง
           1.3.1 ประเมินจากเวลาการเข้าปฏิบัติงานของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
           1.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
           1.3.3 จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
           1.3.4 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านการบริหาร การดำเนินงาน  รวมทั้งการจัดองค์การและทรัพยากรมนุษย์
2.1.3 มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน  โดยอาศัยความรู้สำคัญเกี่ยวกับการจัดการสำนักงาน  หลักการจัดการสำนักงาน  การบริหารทรัพยากรมนุษย์  การควบคุมในสำนักงาน การบริหารงานในสำนักงานโดยอาศัยเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ  รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
2.3.1 ประเมินจากผลงานที่มอบหมายนักศึกษา
2.3.2 ประเมินจากผลการฝึกปฏิบัติงาน
2.3.3 ประเมินจากการสอบประมวลความรู้
3.1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม  กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ ๆ
3.1.2 สามารถสืบค้นจำแนกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลกระทบมาจากทางเลือกรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
3.2.1 การฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
3.2.2 จัดทำรายงาน
3.3.1 ประเมินจากการรายงาน
3.3.2 ประเมินโดยตั้งคำถามที่นักศึกษาต้องสามารถอธิบายแนวคิด  เสนอแนะวิธีแก้ปัญหา
4.1.1 สังเกตความสามารถในการประสานงาน  มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม  การประสานงาน  การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น  รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4 สังเกตความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
4.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
4.2.2 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
4.2.3 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
      4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมในการปฏิบัติงานจากสถานการณ์จริง
      4.3.2 ประเมินจากรายงานที่มอบหมาย
      4.3.3 มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์ สถานประกอบการ  และนักศึกษา
5.1.1  สังเกตการประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์ และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3  สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5  สังเกตการสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1.6  สังเกตการณ์นําเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดําเนินงาน
5.1.7  สังเกตการนําเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1 จัดให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง และนําเสนอรายงานและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 , 2.1 , 3.1 , 4.1 การประเมินจากอาจารย์นิเทศก์ ตลอดภาคการศึกษา 25%
2 1.1 , 2.1 , 3.1 , 4.2 การประเมินจากผู้ดูแลการฝึกปฏิบัติงาน ตลอดภาคการศึกษา 25%
3 1.1 , 2.1 , 3.1 , 3.2 , 5.1 , 5.3 รายงานการส่งงานตามที่มอบหมาย สัปดาห์ที่ 15 25%
4 2.1 , 3.3 , 4.3 , 5.1 สอบประมวลความรู้จากการฝึกปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 9 และ17 25%
1.ศิริวรรณ  เสรีรัตน์  และคณะ. 2556.การบริหารงานสำนักงานแบบใหม่  ฉบับปรับปรุงล่าสุด  ธีระฟิล์ม และไซเท็ก จำกัด : กรุงเทพมหานคร.
2.จีระ  ประทีปและคณะ.2556. การบริหารสำนักงาน พิมพ์ครั้งที่ 11 . สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช : กรุงเทพมหานคร.
3.นิศรา  จันทร์เจริญสุข. 2553. การจัดการสำนักงาน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่.
-
แหล่งเรียนรู้  เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด และห้องสมุดมหาวิทยาลัย
1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ประเมินจากผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง
และข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
      3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
      3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา โดยทวนสอบ จากคะแนนข้อสอบ  หรืองานที่มอบหมาย  และรวมถึงการให้คะแนนระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดย ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์  ตามข้อ 4