เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

Necessary Information Technology in Daily Life

1.1.  มีความรู้เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  ระบบสารสนเทศ
1.2.  มีความรู้  และสามารถใช้อินเตอร์เน็ตและการสืบค้นข้อมูล
1.3.  สามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน  เช่น  การสื่อสารในสังคมสารสนเทศ  และสังคมออนไลน์และประยุกต์ใช้คลังความรู้
1.4.  มีความรู้  ความเข้าใจ  ถึงกฎหมาย  จรรยาบรรณและความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1  เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของรายวิชา  
2.2  เพื่อให้จัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
 
ศึกษาความหมาย  ความสำคัญ  องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ  เครือข่ายอินเตอร์เนต  สื่อสังคมออนไลน์ (Social Network)  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  กฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  การละเมิดลิขสิทธิ์  ทรัพสินทางปัญญา  ภัยคุกคามความปลอดภัยในการใช้อินเตอร์เนต  การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เนต  การใช้บริการโปรแกรมทางอินเตอร์เน็ต  เทคโนโลยีสื่อประสมและการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเบื้องต้นที่จำเป็นในปัจจุบัน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล  หรือรายกลุ่มตามความต้องการประมาณ  1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  (เฉพาะรายที่ต้องการ)  การให้คำแนะนำมีหลายวิธี  เช่นพูดคุยโดยตรง  แนะนำผ่านโทรศัพท์หรือ  ทาง e-mail  ทาง line  หรือทาง facebook  โดยนักศึกษาสามารถนัดล่วงหน้าได้ผ่านช่องทางดังที่กล่าวมา  นอกจากนี้นักศึกษาสามารถขอคำแนะนำทางวิชาการเมื่อพบอาจารย์ที่ห้องทำงาน
1  มีความซื่อสัตย์สุจริต
2  มีระเบียบวินัย
3  มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
4  เคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น
5  มีจิตสาธารณะ
1  สอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื่อหา  โดยปลูกฝังเกี่ยวกับ
    1.1  การไม่ทุจริตในการสอบ  การไม่ลอกการบ้านหรืองานผู้อื่น
    1.2  การทำงานด้วยความซื่อสัตย์ต่อข้อมูลที่ได้จากการทดลองทางวิทยาศาตร์
    1.3  การซื่อสัตย์ต่อการเขียน  การพูด  การนำเสนอข้อมูลที่เป้นจริง  ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
2  การตรงเวลาในการเข้าเรียน  การมีวินัยในการเรียน  การทำกิจกรรม  และการรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3  การสอนให้พตระหนักถึงการนำข้อความ  ข้อมูล  รุปภาพ  ตารางหรืออื่นๆจากแหล่งตความรู้ต่างๆ  มากระทำรายงานนั้น  ต้องมีการอ้างอิง  และไม่นำผลงานของคนอื่น  มาใช้เพื่อเป็นผลงานของตนเอง  สอนให้ร้จักบทบาทหน้าที่ในการเรียนแบะการปฏิบัติที่ดีในอนาคต
4  ให้คำแนะนำเรื่องการเคารพสิทธิของผุ้อื่น  การเคารพในสิทธิของผู้อื่น  โดยสอนให้ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนเื่อเพื่อนมองเห็นต่างจากเรา  และต้องรู้จักวิเคาระหื  แก้ปัญหา  และการทำงานร่วมกัน
5  การรู้จักแบ่งปันความรู้กับเพื่อนนักสึกษาด้วยกัน  การช่วยเหลืองานและส่วนรวม  
1  ไม่มีการทุจริตในการสอบ  ไม่มีการลอกการบ้านหรืองานกลุ่มอื่น  ตรวจรายงาน  ชิ้นงานที่ได้รับมอบหมาย
2   เข้าชั้นเรียนตรงเวลา  แจ้งเมื่อเข้าชั้นเรียนไม่ได้  และส่งงานตามกำหนดเวลา  สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน
3  สังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับนักศึกษาในขณะที่เรียน  การทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆ  และอาจารย์
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะทางด้านการหาข้อมูล  วิเคราะห์และสรุปผล  โดยใช้กระบวนการทางด้านวิทยาศาสร์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการนำทักษะไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อไป
ใช้เทคนิคการสอน  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับบริบทของบทเรียนและจุดประสงค์การเรียนรู้  
เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  จึงใช้วิธีการวัดผล ประเมินผลที่หลากหลาย  และประเมินตามสภาพจริง  โดยรูปแบบการประเมินจะขึ้นอยุ่กับวิธีการสอน  จุดประสงคืการเรียนรู้  ประเมินจากผลงาน  การนำเสนองานของนักเรียน  การทำกิจกรรมต่างๆตามที่ได้รับมอบหมาย  กาสอบ
พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา  คิดอย่างมีเหตุผล  รู้จักการวิเคราะห์  วางแผนการทำงานอย่างมีระบบ  สามารถทำงานเป้นกลุ่ม  การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น  ทักษะการนำเสนองาน  ทักาะการสื่อสาร  โดยผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์  พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เสริมสร้างการแสงหาความรู้  การใฝ่รู้  การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  การวิเคราะห์ปัญหาหรือแก้ปัญหาเมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆ
การมอบหมายให้นักศึกษาฝึกทักษะ  เช่น  การสร้างชิ้นงาน   การบ้าน  งานกลุ่ม   งานค้นคว้าที่ได้รับมอบหมาย  การนำเสนอผลงาน  การอภิปรายกลุ่ม  การแก้ปัญหา  การทำกิจกรรมต่างๆตามเนื้อหาสาระของบเรียน
วัดผลจากการประเมินชิ้นงาน  ประเมินผลงาน  การนำเสนองาน  ผลของการทำกิจกรรม  และประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย  รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันโดยผ่านการทำงานกลุ่ม  การรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานรายบุคคล  และงานกลุ่ม  การแก้ปัญหา  การสื่อสารกับผู้อื่น  การรู้จักหน้าที่ของตน  การยอมรับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น  และการเคารพสิทธิของผู้อื่น
จัดกิจกรรมกลุ่มให้แก้ปัญหาร่วมกัน  การอภิปรายกลุ่ม   มอบหมายงานกลุ่ม  และการนำเสนองาน  ฝึกการแสดงเหตุผล  ฝึกการให้เหตุผล   การสื่อสาร  และการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ประเมินจากการนำเสนองาน  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได่้รับมอบหมาย  สังเกตพฤติกรรมการทำงาน
พัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  อินเตอร์เนตในการสืบค้นข้อมูล  การจัดการข้อมูล  ความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติเพื่อทำการวิเคราะห์และการจัดกระทำข้อมูล  ทักษะการสื่อสาร  การนำเสนองาน  และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
มอบหมายงานในนักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  และงานกลุ่มที่ต้องนำเสนองานเพื่อฝึกทักษะการสื่อสาร  และทักษะการใช้คอมพิสเตอร์เพื่อสืบค้นข้อมูล  การนำเสนองานในรูปแบบต่างๆ  มอบหมายให้ผลิตผลงาน หรือชิ้นงาน 
ประเมินผลจากชิ้นงาน  ประเมินจากการนำเสนอผลงาน  และประเมินจากการสังเกต/พฤติกรรมระหว่างเรียนหรือทำกิจกรรมในห้องเรียน  การอภิปรายกลุ่มย่อย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้าานทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 GEBSC102 เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 5 ด้านตามหมวดที่ 4 กิจกรรมกลุ่มในห้องเรียน/งานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60
2 5 ด้านตามหมวดที่ 4 สอบกลางภาค 9 20
3 5 ด้านตามหมวดที่ 4 สอบปลายภาค 17 20
1. ศรีไพร  ศักดิ์รุ่งพงศากุล. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
2.  วิโรจน์  ชัยมูลและสุพรรษา  ยวงทอง. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2552.
3.  ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศและการจัดการ. กรุงเทพฯ : บริษัท เคทีพี จำกัด, 2553.
เอกสารประกอบการสอนในลักษณะ power point และเอกสารประกอบในลักษณะใบความรู้  ใบกิจกรรม
-
การประเมินโดยศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนในแบบประเมินการเรียนการสอน
ผลการเรียนของผุ้เรียน  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผลงานที่ผุ้เรียนได้ทำส่ง  การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ปรับปรุงการสอนโดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสอน  จากผลการเรียนของผู้เรียน  จากผลงานและการดำเนินงานที่ผ่านมา  ปัญหาอุปสรรค  และข้อเสนอแนะจากผู้เรียน 
จัดให้มีกระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตราฐานผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  เช่น  ทวนจากคะแนนสอบ  หรืองานที่ได้รับมอบหมาย 
มีการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมิน  มาวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพของรายวิชาให้ดียิ่งขึ้น  ปรับปรุงวิะีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการวัดผล