ศิลปะทดลองเพื่อสื่อศิลปะ

Experimental Art for Media Art

1. ศึกษาและฝึกปฏิบัติหลักการการค้นคว้าทดลองทางทัศนศิลป์ จากงานศิลปิน
2. ฝึกปฏิบัติการโดยใช้แนวคิด กระบวนการทดลอง การใช้วัสดุและวิธีการต่างๆในการสร้างสรรค์ผลงาน
3. สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้การผสมผสานทางสื่อศิลปะ การเน้นความสอดคล้องกันทางรูปแบบ เนื้อหา และเทคนิคที่แสดงออก การติดตั้งผลงานในรูปแบบที่สอดคล้องและเหมาะสมกับแนวความคิด นำเสนอผลงานผ่านเอกสารประกอบการสร้างสรรค์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติหลักการการค้นคว้าทดลองทางทัศนศิลป์ จากงานศิลปิน ฝึกปฏิบัติการโดยใช้แนวคิด กระบวนการทดลอง การใช้วัสดุและวิธีการต่างๆในการสร้างสรรค์ผลงาน สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้การผสมผสานทางสื่อศิลปะ การเน้นความสอดคล้องกันทางรูปแบบ เนื้อหา และเทคนิคที่แสดงออก การติดตั้งผลงานในรูปแบบที่สอดคล้องและเหมาะสมกับแนวความคิด นำเสนอผลงานผ่านเอกสารประกอบการสร้างสรรค์
1 ชั่วโมง
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของผู้อื่นและเพื่อนในชั้นเรียน   มีความซื่อสัตย์ในการเรียนและการสร้างสรรค์ผลงาน โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลหาข้อสรุปเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างผลงานที่เกี่ยวกับสื่อศิลปะสมัยใหม่ที่สำคัญทั้งในไทยและต่างประเทศ แนะนำให้ศึกษาและพัฒนานำเอาข้อดีของผลงานเพื่อนำมาปรับปรุงในผลงานให้ดีขึ้น ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตน นำผลงานของผู้อื่นมาศึกษาปรับปรุงต้องอ้างอิงถึงทุกครั้ง
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และลงมือปฏิบัติงานตามที่กำหนดตรงเวลา
1.3.2   ตั้งใจในการศึกษาและฝึกปฏิบัติด้วยความสนใจ
1.3.3   ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการและมีทักษะในการสร้างสรรค์งานศิลปะทดลองเพื่อสื่อศิลปะ ฝึกปฏิบัติการโดยใช้แนวคิด กระบวนการทดลอง การใช้วัสดุและวิธีการต่างๆในการสร้างสรรค์ผลงาน สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้การผสมผสานทางสื่อศิลปะ การเน้นความสอดคล้องกันทางรูปแบบ เนื้อหา และเทคนิคที่แสดงออก การติดตั้งผลงานในรูปแบบที่สอดคล้องและเหมาะสมกับแนวความคิด
บรรยายบรรยายพร้อมยกตัวอย่างผลงานและนำเสนอก่อนการปฏิบัติงาน   ลงมือฝึกปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนด
ตรวจให้คะแนนผลงานปฏิบัติในแต่ละหัวข้อที่กำหนด
สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผนในการสร้างผลงาน และเข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะสมัยใหม่
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
ประเมินผลตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานร่วมกัน
4.1.3  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   อภิปรายอย่างมีส่วนร่วม
4.2.2   การนำผลงานไปจัดนิทรรศการ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย
4.2.3   กำหนดส่งงานตามหัวข้อที่กำหนด
4.3.1  นักศึกษาร่วมอภิปรายในชั่วโมงบรรยายทฤษฎี
4.3.2  ตรวจผลงานปฏิบัติ พร้อมการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและวิพากษ์ผลงานอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
5.1.1   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง 
5.1.2   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.3   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.4   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   อภิปราย ซักถามระหว่างบรรยายเพื่อเน้นความเข้าใจ
5.2.2   ศึกษานอกเวลาค้นคว้ารายงาน สืบค้นแหล่งข้อมูลจากหนังสือและอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานองค์ประกอบศิลป์
5.3.1   ประเมินจากผลงาน และงานที่เสร็จสมบูรณ์
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานและวิธีการนำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BFAVA155 ศิลปะทดลองเพื่อสื่อศิลปะ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-17 การเข้าฟังบรรยายทฤษฎี การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน 1-17 20 คะแนน
2 2-17 ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะทดลองเพื่อสื่อศิลปะ - Pixel Art x Experimental Art - Vector Art x Experimental Art - Processing x Experimental Art 6-11-17 70 คะแนน
3 1-17 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-17 10 คะแนน
Manovich, Lev. (2002). The languge of new Media. Cambridge : MIT Press.
McLuhan, M. (1965). Understanding Media: The Extensions of Man. United States : McGraw-Hill Companies.
REAS, C., FRY, B. and MAEDA, J. (dir). (2014). Processing : a programming handbook for visual designers and artists. Cambridge : MIT Press.
www.wiring.org www.processing.org www.troikatronix.com www.madmapper.com
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดทุกครั้ง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยผลงานสร้างสรรค์เพื่อประกอบการเรียนรู้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ