มนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ

Human Relations in Business

1.อธิบายเกี่ยวกับแนวความคิดของพฤติกรรมและความต้องการของมนุษย์
2.เข้าใจเทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
3.เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การ
4.เลือกใช้วิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลและหน่วยงานภายในองค์การได้อย่างเหมาะสม
5.เข้าใจวิธีการประสานงานและเทคนิคการจูงใจให้คนทำงาน
6.เลือกวิธีการบริหารความขัดแย้งในองค์การได้อย่างเหมาะสม
7.ประยุกต์ใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ
1.เพื่อความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อประกอบการเรียน
2.เพื่อความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการใช้เครื่องมือทางการจัดการสมัยใหม่ได้
3.เพื่อสามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงและเป็นประโยชน์ต่อองค์การ
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ การปรับปรุงตนเองให้มีลักษณะเอื้อต่อการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน การจูงใจ การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ การทำงานเป็นทีม กลุ่ม และภาวะผู้นำ ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจให้เหมาะกับยุคปัจจุบัน
ตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
1.มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
2.มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
3.มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
มีการจัดกิจกรรมในรายวิชา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น
-ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
-สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
-ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์การใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
3.มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
4.มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทำรายงานโครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
-การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
-รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
-ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
-ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
-ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
-ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
1.สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสาระสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
2.สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจทางเลือกเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
3.คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผลสามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
-การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
-การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
-ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
-ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา
1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
2.มีความสามารถในการแสดงความคิดนี้เริ่ม แสดงความคิดเห็นต่างและแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
3.มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
-จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
-จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
-มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
-การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
-การประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
-ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา -สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
1.สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสัน
2.สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
-มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
-ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
-การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
-ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
1.สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2.สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
3.สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
4.สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผล
5.สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
-จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
-จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
-ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษาจากการจำลองหรือสถานการณ์จริงและความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBACC113 มนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,2.2,2.9,3.4,3.5,4.7 -จัดกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา -การทำงานกลุ่ม -นำเสนอการแก้ไขปัญหา 1, 3, 5, 7, 8, 11, 13, 15, 16 25%
2 1.1,2.2,2.9 ใบงานที่ 1-9 ทุกสัปดาห์ 25%
3 1.1,4.7 -การเข้าชั้นเรียน -สรุปประเด็นและตอบข้อซักถาม ทุกสัปดาห์ 10%
4 2.2,2.9,3.4,3.5 สอบกลางภาค 9 20%
5 2.2,2.9,3.4,3.5 สอบปลายภาค 17 20%
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
สมพร สุทัศนีย์ (2548). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตติกรณ์ จงวิศาล (2554). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กิจจา บานชื่น (2556). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วีระพรรณ จันทร์เหลือง (2550). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ชัยนันท์ นันทพันธ์ (2552). ปัญหาการสื่อสารในสังคมและองค์กร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด
-สนทนากลุ่มระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน  เพื่อระดมความคิด  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเนื้อหา  ปัญหา  และการสรุปประเด็นความคิด
-ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการนำเสนอ  การทำงานกลุ่ม 
-ให้นักศึกษาร่วมกันประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน และประเมินอาจารย์ผู้สอน
-ผลการสอบ
-การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
-ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินผู้สอน
-ปรับปรุงเนื้อหา และตัวอย่างให้ทันสมัยอยู่เสมอ
-ให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามานำเสนอ
-มีการตรวจแบบฝึกหัด  ตรวจทดสอบย่อย  ตรวจข้อสอบ  และร่วมกันอภิปรายข้อสรุปของการวิเคราะห์
-มีการวัดความรู้นักศึกษา  และแจ้งผลให้ทราบเป็นระยะ
-ให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบการให้คะแนน 
-การทวนสอบการให้คะแนน  จากการสุ่มตรวจโดยอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน
-ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
-เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ท่านอื่นๆ